CT51 การจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ แนวทางแนวทางสู่ความสำเร็จของ E-Retail กรณีศึกษา TESCO, UK (Logistics Strategies: The Key to e-Retail Success: Case Study TESCO, UK)
ลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2551 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
ผู้เขียน ดร. พงษ์ธนา วณิชย์กอบจินดา
บทคัดย่อ
ปัจจุบันจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าครองชีพที่สูงขึ้นส่งผลโดยตรงทำให้ประชาชนจะต้องมีชั่วโมงการทำงานมากขึ้นและหนักขึ้น และส่งกระทบไปถึงผู้ค้าปลีกต่าง ๆ ประชาชนไม่มีเวลาในการเดินทางไปจับจ่ายตาม Supermarket ดังนั้นระบบ e-Retail ของ Supermarket จึงเป็นอีกทางเลือกในยุคปัจจุบัน สามารถทำให้จับจ่ายซื้อสินค้าผ่านทาง Internet (Online Buying) และมีบริการส่งฟรี (Free Delivery) อย่างไรก็ตามในการซื้อผ่านนั้นและจัดส่งฟรีนั้น Supermarket ต่าง ๆ ก็ไม่สามารถคิดราคาค่าขนส่งได้เนื่องจากเป็นบริการสำหรับลูกค้า และเป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขัน ดังนั้น Supermarket ต่าง ๆ จึงได้นำกลยุทธ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะการบริหารระบบโซ่อุปทานและการจัดการโลจิสติกส์ เข้ามาแก้ไขปัญหาและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขั้นทางด้านราคา ซึ่งแนวปฏิบัติต่าง ๆ เหล่านี้จะถูกนำเสนอรายละเอียดของบทความ
บทนำ
จากการสำรวจของ IMRG (Interactive Media in Retail Group) พบว่ามูลค่าการซื้อขายสินค้าใน Supermarket ผ่านระบบ Internet (Online Buying) ในปี 2007 มีมูลค่าถึง 46.6 ล้านปอนด์ โดยเพิ่มขึ้นถึง 16.4 ล้านปอนด์ จาก ปี 2006 ที่มีมูลค่า 30.2 ล้านปอนด์ (ดังแสดงในแผนภาพที่ 1) ในประเทศอังกฤษ TESCO นับว่าเป็นหนึ่งในผู้นำในการด้วยวิธีการซื้อซื้อสินค้าใน Supermarket ด้วยระบบ Online Buying และบริการส่งสินค้าจาก Supermarket ถึงบ้านด้วยสโลแกน ”You Shop. We Drop” และ สาเหตุของความสำเร็จนี้เนื่องจากผู้บริหาร TESCO นั้นได้เล็งเห็นถึงภาวการณ์เพิ่มขึ้นของค่าครองชีพ การเพิ่มขึ้นของต้นทุนในการดำเนินชีวิต รวมถึงภาวะเศรษฐกิจ และ พฤติกรรมการใช้ชีวิตของมนุษย์ และเทคโนโลยี เช่น พนักงานประจำมีชั่วโมงในการทำงานมากขึ้น ภาวะเศรษฐกิจซบเซา กำลังซื้อของประชาชนลดลง ราคาค่าน้ำมันแพงขึ้น และการแข่งขันที่รุนแรงในระหว่างผู้ค้าปลีกทีสำคัญ ๆ ซึ่งคู่แข่งที่สำคัญของ TESCO ได้แก่ Sainsbury, ASDA, Waitrose เป็นต้น
แผนภาพที่ 1 ดัชนีแสดงการเจริญเติบโตของ E-retail Sales Index ของประเทศอังกฤษ
จากการวิเคราะห์ของ Maltz et. al. (2004) ได้กล่าวว่า กลไกในการสร้างประสิทธิภาพในการระบบการขายแบบ e-retail ก็คือ การควบคุมคุณภาพของสินค้าโดยเฉพาะอาหารสด และการบริหารการขนส่งสินค้า ซึ่งการบริหารกิจกรรมเหล่านี้ก็คือ การบริหารจัดการโซ่อุปทาน และการจัดการโลจิสติกส์นั่นเอง ในบทความนี้จะทำการยกตัวอย่างกรณีศึกษาของระบบบริหารจัดการที่เป็นเลิศในการบริหารโซ่อุปทานและการจัดการโลจิสติกส์ของ TESCO ที่ทำให้เป็นหนึงในผู้นำในด้าน e-retail
การบริหารโซ่อุปทาน และการบริหารจัดการขนส่งสินค้า
ในระบบ Online Buying สิ่งที่สำคัญทีสุดก็คือการขนส่งสินค้า ซึ่งประเด็นที่สำคัญคือผู้ซื้อจะต้องได้สินค้าตรงตามเวลา และไม่คิดค่าบริการ (Free Delivery) ดังนั้นการวางแผนการจัดส่งสินนับความเป็นส่วนสำคัญในการส่งของของ TESCO ซึ่งหลักการที่สำคัญที่ TESCO ปฏิบัติก็คือ การวางแผนในด้านศูนย์การกระจายสินค้า และขอบเขตในการขนส่งโดย TESCO จะพิจารณาถึงกลุ่มที่อยู่อาศัยของลูกค้าและขนาดและความสามารถในการจ่ายสินค้าของ TESCO ในบริเวณนั้น ๆ ดังแสดงในแผนภาพที่ 2 อย่างไรก็ตามกลยุทธ์ในการวางแผนการขนส่งสินค้าที่เป็น Free Delivery เป็นแค่เพียงกลยุทธ์ที่สร้างความสะดวกสบายให้แก่ลูกค้าเท่านั้นซึ่งต้นทุนในการขนส่ง ก็จะยังแบกภาระไว้ที่ TESCO ซึ่งผู้บริหารได้วิเคราะห์และมองต่อไปว่าในการบริหารระบบ Online Buying ให้มีประสิทธิภาพในด้านต้นทุนนั้น TESCO จะต้องวางแผนในระดับของระบบโซ่อุปทาน ควบคู่กับการจัดการโลจิสติกส์โดยมีการวางแผนร่วมกับ ผู้ผลิต และผู้ขนส่งกระจายสินค้า และการควบคุมระบบสินค้าคงคลังด้วยระบบ IT เพื่อนำมาลดต้นทุนซึ่ง TESCO ได้นำหลักการดังต่อไปนี้มาประยุกต์ใช้เพื่อเชื่อโยงกับลูกค้า ซึ่งก็คือความสามารถตรวจสอบปริมาณสินค้าในสต็อก (Internet Search and Inventory Management) ซึ่งระบบนี้จะช่วยให้ลูกค้าสามารถตรวจสอบสินค้าที่มีอยู่ใน Stock ได้ โดยจะช่วยในด้านสั่งซื้อของลูกค้า และการสั่งสินค้าในกระบวนการโดยไล่ตั้งแต่ปลายน้ำจนถึงต้นน้ำ อย่างไรก็ตามผู้นำในด้านระบบนี้คือ Argos ดังแสดงในแผนภาพที่ 3
แผนภาพที่ 2 แนวทางการวางโครงข่ายการขนส่งสินค้า
แผนภาพที่ 3 ระบบการตรวจสอบ Stock ของ Argos ซึ่งถือว่าเป็นแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ
สรุป
จากแนวปฏิบัติดังจะทำให้การวางแผนการขนส่งทำได้ง่ายและลดการเก็บสินค้าปริมาณมาก ๆ เนื่องจากผู้ซื้อจะสามารถรู้ Stock ของสินค้า ณ ขณะนั้นว่ามีอยู่จำนวนเท่าไหร่ ซึ่งอาจจะต้องยังเหลือในการเก็บสินค้าที่เป็นอาหารสดบ้าง แต่ก็สามารถลดต้นทุน Inventory ลงได้ ซึ่งในการบริหาร Inventory และนำการวางแผนการจัดส่งมาช่วยในระบบ e-Retail ของ TESCO จะช่วยให้ TESCO มีความสามารถในการแข่งขันทางด้านราคาสินค้ากับคู่แข่งอื่น ๆ ที่สำคัญ และสามารถชดค่าใช้จ่ายที่ใช้ไปในการขนส่งที่เป็น Free Delivery
เอกสารอ้างอิง
- Chadwick, F.E., Dohety, N.F., and Anastasakis L., (2007), E-Strategy in UK retail grocery sector: a resource-based analysis, Managing Service Quality, Vol. 17, No. 6, pp. 702 – 727
- A., and Watson. A., (2005), Implementing e-value strategies in UK retailing, International Journal of Retail & Distribution Management, Vol. 33, No. 6, pp. 426 – 443
- IMRG Capgemini Index (Interactive Media in Retail Group) http://www.imrg.org
- Supply Chain Management Review: http://www.scmr.com/article/CA422109.html
- Telegraph, http://www.telegraph.co.uk/money/main.jhtml?xml=/money/2008/01/18/cnnet118.xml
--------------------------------
สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง
สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง
CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล
--------------------------------
ที่มา
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่