iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา

CT51 การพัฒนาระบบศุลกากร และระบบ การค้าไร้เอกสาร: กรณีศึกษา ประเทศสิงคโปร์ (Development e-Custom & e-Trading System: Case Study Singapore)

ลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2551 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

ผู้เขียน ดร. พงษ์ธนา วณิชย์กอบจินดา

1 บทนำ

เนื่องจากระบบ Paperless เป็นระบบที่มีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในปัจจุบัน อีกทั้งยังเพิ่มประโยชน์ให้กับองค์กรหลายๆด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มความรวดเร็วในการส่งเอกสารการลดการต้นทุนของการใช้ทรัพยากรแรงงาน และการลดต้นทุนการประกอบการต่าง ๆ ที่จะต้องใช้คนในการเดินเอกสาร ดังนั้นการที่องค์กรหรือบริษัทต่างๆ จะเริ่มนิยมหันมาให้ความสนใจกับระบบ Paperless นี้เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวกันมากแล้วการและยังเป็นการช่วยลดการใช้กระดาษในการทำงานและในชีวิตประจำวัน  เพื่อความประหยัด สะดวก รวดเร็ว และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน  โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างอย่างคุ้มค่า อันจะนำไปสู่การสงวนรักษาทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานระบบการให้บริการผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่ต้องใช้เอกสารในส่วนที่ต้องใช้สำแดงกับเจ้าหน้าที่ในเบื้องต้น เช่น ใบขนสินค้าและบัญชีราคาสินค้า (Invoice) เป็นต้น เราควรมีการเปลี่ยนมาใช้ระบบ Paperless  เพื่อช่วยลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้น เนื่องจากการใช้ประมาณกระดาษที่เพิ่มมากขึ้น นอกจากการลดปริมาณการใช้กระดาษจะช่วยให้องค์กรมีต้นทุนที่ลดลงแล้ว ยังสามารถเพิ่มความสามารถในการแข่งของประเทศ สามารถเห็นได้จาก การพัฒนาด้าน ประเทศจีนที่มุ่งเน้นในการพัฒนาระบบ e-Customs, e-Port, และ e-Adminของประเทศจีน และ ความสำเร็จของประเทศสิงคโปร์ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาระบบ IT เพื่อให้เป็น Intelligent Island

2 ระบบศุลกากรไร้เอกสารคืออะไร

ระบบการให้บริการผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่ต้องใช้เอกสารในส่วนที่ต้องใช้สำแดงกับเจ้าหน้าที่ศุลกากรในเบื้องต้น เช่นใบขนสินค้าและบัญชีราคาสินค้า (Invoice) เป็นต้น และมีการนำเทคโนโลยี PKI (Public Key Infrastructure) และการลงDigital Signature (Digital Signature) มาใช้ แทนการลงลายมือชื่อในกระดาษ พร้อมทั่งมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานใหม่ (Process Redesign) เพื่อลดขั้นตอนการให้บริการด้วย ซึ่งจะสามารถทำให้ลดความซ้ำซ้อนในการบันทึกข้อมูล[1] นอกจากนั้น Mr. YounKyong Kang, Deputy Director, E-Business Policy Division, Ministry of Commerce, Industry & Energy, Republic of Korea ได้กล่าวในการประชุม APEC Initiative on Paperless Trade: Asia-Pacific Economic Cooperation ที่เมือง Geneva, Switzerland, 2006 ว่า ระบบ E-Custom (paperless) จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการบริการจัด และเพิ่มความสามารถในการแข่งขั้น ทั้งภาคธุรกิจ (ธนาคาร, บริษัทประกันภัย, ตัวแทนผู้ขนส่งสินค้า ฯ) และภาครัฐ (กรมศุลกากร กระทรวงพาณิชย์ ฯ) ดังนี้

  1. ลดค่าใช้จ่ายในสื่อสาร การส่งเอกสาร (Transportation & Communication Cost Reduction)
  2. ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ (Administration Cost Reduction)
  3. ลดความผิดพลาดของการส่งและจัดเก็บข้อมูล (Fewer Errors)
  4. เพิ่มประสิทธิภาพของระบบโซ่อุปทาน (Efficient Supply Chain)

อย่างไรก็ตามหัวใจในการทำระบบศุลกากรไร้เอกสารนั้นก็คือระบบความปลอดภัยในการส่งเอกสารและการลงนามเอกสาร ดังนั้นในการติดต่อกับศุลกากรด้วยระบบไร้เอกสารจะนั้นจะต้องประกอบด้วย องค์ประกอบที่สำคัญ 2 องค์ประกอบด้วยกัน คือ 1) Public Key Infrastructure (PKI) System; และ 2) Digital Signature

2.1) Public & Private Key Infrastructure (PKI)

Public Key Infrastructure (PKI) คือระบบป้องกันข้อมูลในการสื่อสารผ่านระบบ Paperlessโดยมีหลักการทำงานดังนี้

PKI จะใช้ กุญแจคู่ (Key pairs) ในการเข้ารหัสและถอดรหัสข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยกุญแจคู่นี้ประกอบด้วยกุญแจส่วนตัว (Private Key) และกุญแจสาธารณะ (Public key) กุญแจทั้งสองจะได้ มาพร้อมกับใบรับรองที่ CA ออกให้ การะบวนการในการส่งผ่านข้อมูลระหว่าง Public Key & Private Key โดยผ่านการรับรับรอง CA และในการส่งผ่านข้อมูลจะมีการส่งผ่านไปที่ Registration Authority (RA) ได้แสดงดังแผนภาพที่ 1

โดยการเข้ารหัสด้วยกุญแจหนึ่งจะต้องถอดรหัสด้วยอีกกุญแจหนึ่งเท่านั้น กุญแจส่วนตัว (Private key) จะเก็บไว้ที่เจ้าของใบรับรองและกุญแจสาธารณะ (Public key) นั้น CA จะแจกจ่ายให้กับผู้อื่นเพื่อจะได้นำไปใช้ติดต่อกับเจ้าของใบรับรอง ด้วยหลักการของ PKI และการรับรองการใช้กุญแจคู่จาก CA ทำให้การสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีความปลอดภัยและเชื่อถือได้ โดยที่ CA จะออกให้โดย Certification Authority เป็นองค์กรที่เป็นที่เชื่อถือได้ ที่ทำหน้าที่เป็นบุคคลที่สามดำเนินการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ ให้กับผู้ทำธุระ กรรมอิเล็กทรอนิกส์

แผนภาพที่ 1 แผนภูมิแสดงระบบป้องกันข้อมูล Paperless

2.2) Digital Signature

อย่างไรก็ตามในระบบ Paperless สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ระบบความปลอดภัยในการรับส่งเอกสาร และที่สำคัญที่สุดก็คือ การรับรองเอกสาร ดังนั้นการรักษาความปลอดภัยของการส่งข้อมูลในระบบ Paperless ซึ่ง SUN Microsystems[2] ได้อธิบายถึงปัจจัยพื้นฐานในการความเรื่องความปลอดภัยของระบบดังนี้ การอนุญาตให้บุคคลผู้มีสิทธ์ในการเข้าใช้ระบบ (User Authorisation) การควบคุมการเข้าถึง (Access Control) การรักษาความลับ (Confidentiality) ความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล (Integrity) และการป้องกันการปฏิเสธความรับผิด (Non - repudiation) นั้น จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการรักษาความปลอดภัย ซึ่งเทคโนโลยีที่นิยมในปัจจุบัน ได้แก่ การลงลายมือชื่อดิจิตอล (Digital Signature)

Digital Signature เป็นDigital Signature สำหรับการลงDigital Signatureกำกับข้อความที่ต้องการส่งผ่านระบบ Paperless ผู้ส่งข้อความจะใช้ Private key ของตนในการลง Digital Signature เป็นการรับรองว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งมานั้นเป็นข้อมูลที่ส่งโดยผู้ส่งที่อ้างไว้จริง และ ใช้Digital Signatureนี้ในการตรวจสอบข้อมูลว่ามีการปลอมแปลงในระหว่างขั้นตอนการส่งหรือไม่ เช่น การลงDigital Signatureกำกับ e-paper ซึ่งผู้ส่งจะใช้กุญแจส่วนตัว (Private key) ของตนทำการลงDigital Signatureกำกับe-paperฉบับนั้น และ ผู้รับจะสามารถตรวจสอบความถูกต้องของลายมือชื่อดังกล่าวโดยใช้Public Key ของผู้ส่ง ซึ่งลายมือชื่อของผู้ส่งจะถูกรับรองด้วยองค์กรออกใบรับรอง (Certification Authority: CA) โดยแสดงอยู่ในรูปของ "ใบรับรองดิจิตอล" (Digital Certification) ซึ่งทำให้มั่นใจได้ว่าe-paperเป็นของผู้ส่งที่อ้างไว้จริง โดยในการตรวจสอบนั้นผู้รับจะต้องใช้กุญแจสาธารณะ (Public key) ที่อยู่ในใบรับรองของผู้ส่งมาทำการตรวจสอบe-paperที่ส่งมาว่ามาจากผู้ส่งจริง และไม่มีการปลอมแปลงข้อมูลระหว่างขั้นตอนการส่ง ดังแสดงในแผนภาพที่ 2

แผนภาพที่ 2 การแสดงการตรวจสอบ Digital Signature ของการระบบ Paperless

3) กรณีศึกษา: ประโยชน์ การพัฒนาระบบ e-Custom (Paperless) ในประเทศสิงคโปร์

ประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศที่ให้ความสำคัญในการพัฒนาระบบ IT มาตั้งแต่ในช่วงปี 1980 ดังแสดงในแผนภาพที่ 3 จนในปัจจุบันประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีระบบ IT ชั้นนำของโลก4 อย่างไรก็ตามพื้นฐานของการพัฒนาในการจัดการโลจิสติกส์ของสิงคโปรที่รุดหน้าจนได้รับการจัดอันดับว่าเป็นประเทศที่มี ความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Performance Index: LPI) เป็นอันดับ 1 ของโลก จากการจัดอันดับของ World Bank[3] ในปี 2007

แผนภาพที่ 3 แนวทางการพัฒนาระบบ IT ของสิงคโปร์

Mr. Lee Yow Jinn[4] (2007) ได้สรุปประโยชน์ในการพัฒนาระบบ e-Custom (Paperless) และ e-Trading สำหรับการค้า การนำเข้า และส่งออก โดยมีการเชื่องโยงกับระบบที่เรียกว่า TradeNet ซึ่งจะมีการเชื่อมระบบ e-Custom เข้ากับหน่วยงานที่สำคัญ ๆ เช่น Port of  Singapore (PSA),  Custom & Excise Department (C&E), Civil Aviation Authority of Singapore (CAAS), และ Singapore Airline Terminal Service (SATS), Trader, Shipper Agent เป็นต้น  (ดังแสดงในแผนภาที่ 4)

แผนภาพที่ 4 การเชื่อมโยงระบบ ICT, Paperless & e-Custom ของประเทศสิงคโปร์

จากการพัฒนาและเชื่องโยงระบบดังกล่าวสามารถทำให้สิงคโปร์เพิ่มระดับความมารถในการบริหารจัดการ ประสิทธิภาพในการทำงาน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่ง  Mr. Lee Yow Jinn ได้เปรียบเทียบประโยชน์ที่ได้รับในการพัฒนาระหว่างการใช้ระบบปกติที่ ใช้ทรัพยากรบุคคลในการดำเนินการด้านเอกสาร กับการนำระบบ TradeNet มาใช้ดังแสดงในแผนภาพที่ 5

4) สรุป

e-Custom & e-Trading เป็นระบบ ที่จะเพิ่มความสะดวกรวดเร็ว เพิ่มความถูกต้อง ลดขั้นตอนและกระบวนการต่าง และ ลดค่าใช้จ่าย ต่าง ๆ ให้กับ องค์ของทั้งภาครัฐ และเอกชน นอกจากสามารถเพิ่มความความเร็วยังสามารถยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานโดย การเพิ่มอัตราการ Utilisation ทรัพยากร ทั้งภาครัฐ และเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับระบบการขนส่ง นำเข้า และส่งออกของสินค้า และประสิทธิภาพดังกล่าวนี้จะส่งผลให้เกิด การเพิ่มความสามารถความรวดเร็วและถูกต้องในการเชื่อมโยงติดต่อสื่อสารข้อมูลของประเทศ ซึ่งจะสามารถเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ”Greater Conectivity = Greater Competitiveness” ดังที่กล่าวไว้ในหนังสือ ”The World is Flat” โดย Thomas L. Friedman ดังที่ได้เห็นตัวอย่าง และนโยบายในการพัฒนาประเทศของประเทศสิงคโปร์

[1] http://lcbcustoms.net/index.php?p=faq&faq_id=7&area=1#8

[2] Sun Microsystem, Sun BluePrintsTM  Online, Public Key Infrastructure: Overview – August 2001; by Joel Weise – SunPSSM Global Security Practice

[3] http://info.worldbank.org/etools/tradesurvey/mode1b.asp

[4] Lee Yow Jinn, 2007, Overview of Holistic Trade Facilitation and Customers Modernization in Singapore, by International Trade Institute of Singapore (ITIS)

--------------------------------

สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง

สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง

CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล

 --------------------------------

ที่มา

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551

โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward