CT51 การเพิ่มประสิทธิภาพระบบคำสั่งงานในระบบการผลิต แบบ Mass Customization (Efficient Order and Resource Management in Mass Customization)
ลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2551 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
ผู้เขียน ดร. พงษ์ธนา วณิชย์กอบจินดา
บทคัดย่อ
การผลิตแบบ Mass Customization Manufacturing (MCM) เป็นระบบการผลิตที่ต้องการความสามารถในปรับเปลี่ยนระบบการผลิตที่ง่าย และมีความยืดหยุ่นสูง ดังนั้นจึงต้องการระบบการวางแผน และการควบคุมการผลิตที่ดีจึงมีความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจัดการสั่งซื้อวัตถุดิบ และการบริหารวัตถุดิบที่หลากหลาย และซับซ้อน ซึ่ง Multi-agent systems เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังประสบปัญหาในด้านการ Informational Integration ซึ่งทำให้ระบบการจัดการสั่งซื้อวัตถุดิบ และการบริหารวัตถุดิบไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ดังนั้นในบทความฉบับนี้ผู้เขียนจึงขอนำเสนอแล้วปฏิบัติที่ดีในการนำ Multi-agent system มาประยุกต์ใช้กับการจัดการสั่งซื้อวัตถุดิบและการบริหารวัตถุดิบใน Mass Customization Manufacturing
1) บทนำ
Mass Customization Manufacturing (MCM) สามารถทำให้ผู้ผลิตสามารถปรับเปลี่ยนจากการผลิตแบบ Mass Production มาเป็นการผลิตแบบ Small Lot ปรับเปลี่ยนการผลิตสินค้าได้ง่ายและตอบสนองความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่ม และมีต้นทุนในการผลิตที่ถูกลง เหมือนกันผลิตกแบบ Mass Production หัวใจสำคัญของ MCM การทราบข้อมูลความต้องการที่แท้จริง เพื่อจะนำไปวางแผนการปรับเปลี่ยนการผลิต การจัดซื้อ และการวางแผนการขนส่งสินค้าเป็นต้น ซึ่งในการจะทำให้การผลิตแบบ MCM มีประสิทธิภาพ Blecker & Graf (2004) เสนอแนะถึงกุญแจสำคัญ 2 ประการ คือ
- การเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการสื่อสารส่งผ่านข้อมูล โดยใช้เทคโนโลยี Internet Technology for Shop Floor เช่น in networking dislocated assembly lines และ
- การพัฒนาระบบ Multi-Agent System (MAS) เช่น Production Planning Control (PPC)
Tim et. al (2001) ได้กล่าวว่ากลยุทธ์ทั้ง MAS และ Internet Technology เป็นกุญแจที่สำคัญในการทำให้ MCM ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่ Internet Technology จะทำหน้าที่เชื่อมโยงและส่งผ่านข้อมูลในระบบการผลิตที่ซับซ้อนได้อย่างถูกต้องและแม่นยำซึ่งระบบนี้ได้ถูกเรียกว่า Information Logistics ส่วนความซับซ้อนในแง่ของการผลิตก็จะลดลงโดยใช้ MAS
2) ระบบ Internet Based Production สำหรับ Multi-Agent System
ในความหมายของ Internet Technology นั้นได้อธิบายถึง กลุ่มของเทคโนโลยีที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ซึ่งคือ Package-oriented Transmissions on Heterogeneous Platforms ได้แก่ Particular Protocols, Programming Language, Hardware, และ Software ซึ่งในปัจจุบัน Technology Internet ได้ให้ความสำคัญไปที่การสื่อสารส่งผ่านข้อมูล ภายในหรือระหว่างองค์กร หรือ สำนักงาน มากกว่า แต่อย่างไรก็ตามในอนาคตระบบ Technology Internet ได้กำลังพัฒนาและนำไปใช้กับในระบบโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งเรียกว่า Field Area Network (FAN) ระบบนี้จะใช้ในการควบคุมระบบ Network ของ Automation Infrastructure และ Machine Control บน Shop Floor ระบบ FAN จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการผลิตซึ่งจะสามารถช่วยลดต้นทุนในการผลิตโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Transaction Cost ในกระบวนการผลิตที่ซับซ้อนโดยการส่งผ่านข้อมูลต่าง ๆ ด้วยความรวดเร็วและถูกต้อง ไปยัง MAS (Blecker and Graf 2003)
ในการเชื่อมระบบ Internet Technology และ MAS (หรือ เรียกกันอีกชื่อว่า Actor) (ดังแสดงในแผนภาพที่ 1) การเชื่อมโยงระบบในการผลิต ดังแสดงในแผนภาพที่ 1 จะต้องมีการพิจารณาถึง Operation System 3 ประเภทดังนี้
ประเภทที่ 1 Human Actors คือ ส่วนของ ผู้วางแผนงาน และผู้ปฏิบัติงาน
ประเภทที่ 2 Artificial Actor คือ Intelligent Computer System
ประเภทที่ 3 Organisation Actor คือ การ Integrate ทั้ง 2 ระบบเข้าด้วยกันโดยการนำเอาระบบ Manual + Artificial มา Integrate สำหรับการทำงานในระบบการผลิต
แผนภาพที่ 1 Actors ในระบบการผลิต
ค้าปลีกภาพที่ ม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรเนื่องอุตสาหกรรมของเล่นเป็นอุตสาหกรรมที่มีความหลากหลาย
3) ระบบคำสั่งงานใน Mass Customization Manufacturing
จากที่กล่าวมาในข้างต้นจะเห็นได้ว่า Internet Technology สามารถในการเชื่อมโยงระบบปฏิบัติการ Manual และ Intelligent System เข้าด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลให้ ระบบ Production Planning Control (PPC) ซึ่งก็คือ MAS ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย
แผนภาพที่ 2 Production Planning and Control in Mass Customization Manufacturing
แผนภาพที่ 2 จากการเชื่อมโยงระบบด้วย Internet Technology ที่มีประสิทธิภาพเข้าไปยังหน่วยการผลิตต่าง ๆ ทำให้ผู้ผลิต หรือ หน่วยต่าง ๆ รับรู้ความต้องการของลูกค้าทั้งในเชิงปริมาณ และคุณภาพ ซึ่งจะส่งผลโดยตรงให้การวางแผนเรื่องระบบการออกคำสั่งในระบบการผลิตสามารถวางแผนการจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความซับซ้อน ทั้งในด้านการจัดซื้อ การวางแผนสินค้าคงคลัง การวางแผนการขนส่งสินค้า รวมถึงการ Transaction ต่าง ๆ ในระบบการผลิต ซึ่งจะทำให้ลดต้นทุนในการผลิต รวมถึงเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้าในที่สุด
4) สรุป
การผลิตแบบ Mass Customization Manufacturing นับว่าเป็นระบบการผลิตที่จะสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตามการที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธินั้นจะต้องคำนึงถึงต้นทุนการผลิตที่ต่ำอีกด้วย ซึ่งระบบที่จะสามารถลดต้นทุนได้นั้นจะต้องเป็นระบบที่สามารถลดการสูญเสียที่เกิดขึ้นในระบบการผลิต วางแผนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถผลิตจำนวนน้อยได้ ปรับเปลี่ยนการผลิตได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นการวางแผนในการสั่งซื้อ การผลิต การจัดการสินค้าคงคลัง การวางแผนการขนส่ง ซึ่งก็คือต้นทุนโลจิสติกส์นั่นเอง ก็นับว่าเป็นประเด็นสำคัญ ประการหนึ่งดังนั้นเทคโนโลยีที่สำคัญดังกล่าวก็คือ การนำเอา Internet Technology มาประยุกต์ใช้กับการพัฒนา Mult-Agent System เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการส่งผ่านข้อมูลเพิ่มความแม่นยำในกระบวนการต่าง ๆ ดังที่กล่าวในข้างต้น อย่างไรก็ตามในปัจจุบันระบบดังกล่าวยังไม่สามารถตอบสนองการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตอย่างคล่องตัวดังนั้นในอนาคตควรจะมีการพัฒนาระบบ Software โดยการ Integrate ให้เหมาะสมกับความต้องการทั้งของผู้ผลิตและลูกค้าเพื่อสนองความความต้องการของทั้งสองฝ่ายเพื่อนำไปสู้ต้นทุนการผลิตที่สามารถแข่งขันได้
เอกสารอ้างอิง
Blecker, Th. and Graf, G. (2003): Multi Agent Systems in Internet based Production Environments – an enabling Infrastructure for Mass Customization, Conference Proceedings MCPC December 2003.
Blecker, Th. and Graf, G.: Efficient Order and Resource Coordination in Mass Customization, in: Proceedings of the 9th International Symposium on Manufacturing and Application (ISOMA) at the 6th Biannual World Automation Congress, Seville/Spain, June 28 - July 1, 2004, S. 1 - 6
Timm, I.J./Woelk, P.-O./Knirsch, P./Tönshoff, H.K./Herzog, O. (2001): Flexible Mass Customisation:Managing its Information Logistics Using Adaptive Cooperative Multi Agent Systems, in: Pawar, K.S.; Muffatto, M. (Ed.): Logistics and the Digital Economy. Proceedings of the 6th International Symposium on Logistics, 2001, pp. 227 - 232.
--------------------------------
สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง
สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง
CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล
--------------------------------
ที่มา
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่