iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา

CT51 การพัฒนาการค้าและเศรษฐกิจในกลุ่มอนุภาคลุ่มน้ำโขง โดยการพัฒนาการขนส่งสินค้าข้ามแดน (Development of Trade in GMS by Increasing Cross Border Transportation)

 

ลิขสิทธิ์ สำนักโลจิสติกส์

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

ดร. พงษ์ธนา วณิชย์กอบจินดา 

1) บทนำ

ในปัจจุบันคงปฏิเสธไม่ได้ว่าการพัฒนาการขนส่งสินค้าผ่านแดน (Cross Border Transportation: CBT) นั้นเป็นหัวใจสำคัญการพัฒนาเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศซึ่งจะช่วยทำให้เกิดกระบวนการทางธุรกิจมากมายขึ้นมาจึงมีผลทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นและการค้าระหว่างประเทศที่มีการเจริญเติบโตขึ้นนั้น (Akrasanee 2006)[1]ไม่ว่าจะเป็นการค้าสินค้าเกษตรและการค้าสินค้าอุตสาหกรรม (Trade in agricultural and manufactured goods) ด้านการท่องเที่ยว  ซึ่งในการค้าของประเทศกำลังพัฒนา (Developing Countries’s Trade) ในขณะนี้ได้รับความสนใจจากประเทศที่พัฒนาแล้วเข้ามาลงทุนเนื่องจากความได้เปรียบทางด้าน ทรัพยากร ค่าแรงงานที่ถูก รวมถึง มาตรตาการทางภาษีที่จูงใจต่อการลงทุนใหม่ๆ การขยายฐานการผลิต (ทั้งทางด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม ดังที่ได้เห็นตัวอย่างในกลุ่มสหภาพยุโรป (The European Union: EU)

จากการพัฒนาดังกล่าวจะต้องอาศัยระบบการขนส่งข้ามแดน ประสิทธิภาพที่จะช่วยกระจายความเจริญ กระจายสินค้า และนำผู้คนทั้งนักธุรกิจ นักท่องเที่ยวไปยังจุดหมายปลายทางได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นการขนส่งข้ามแดนยังมีส่วนช่วยในการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ

ดังนั้นการพัฒนาการขนส่งผ่านแดนนั้นจะต้องมีการพัฒนา นั้นจะประสบความสำเร็จได้หรือไม่จะต้องมีปัจจัย 4 อย่าง คือ

1) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure)

2) การติดต่อเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารต่างๆ ด้าน IT Software ต่างๆ เเละ การอำนวยความสะดวก ณ. จุดผ่านแดน โดยต้องมีระบบมีการเชื่อมโยงด้านอิเล็กทรอนิกที่เป็นมาตรฐาน ทั้งทางด้านเอกสารต่างๆ เเละ การบริหารจัดการ  พิธีการทางศุลกากรต่างๆ

3) กฎเกณฑ์ระเบียบต่างๆหรือกฎหมายต่างๆ เข้ามารองรับ เช่น กฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

4) ต้องลดกำแพงหรือเครื่องกีดขวางต่างๆในความร่วมมือต่างๆในด่านการขนส่งต่างๆข้ามเขตแดน 

 

2) การขนส่งสินค้าผ่านแดนในกลุ่มอนุภาคลุ่มน้ำโขง (Greater Mekong Subregion: GMS)

GMS[2] เป็นความร่วมมือของ 6 ประเทศ คือ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และ มณฑลยูนนานประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนจีน (ดังแสดงในแผนภาพที่ 1) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวทางการค้า การลงทุนในด้านอุตสาหกรรมหนัก อุตสาหกรรมการเกษตร การท่องเที่ยวและบริการ สนับสนุนการจ้างงานและยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ให้ดีขึ้น ตลอดจนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ส่งเสริมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมและเพิ่มขีดความสามารถรวมทั้งโอกาสทางเศรษฐกิจในเวทีการค้าโลก โดยหนึ่งในกรอบความร่วมมือระหว่างกัน คือ กรอบความร่วมมือด้านการคมนาคมขนส่ง ซึ่งกลุ่มประเทศสมาชิกได้ทำความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS Cross-Border Transport Agreement) รวมถึงในส่วนอื่นของทวีปเอซีย (ดังแสดงในแผนภาพที่ 2) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและอํานวยความสะดวกในการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าทั้งเข้ามแดนและผ่านแดนระหว่างประเทศคู่ภาคีดำเนินไปได้โดยราบรื่นปราศจากอุปสรรค และเพื่อประสาน กฎระเบียบ ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการขนส่งข้ามพรมแดนของสินค้าและผู้โดยสาร อีกทั้งส่งเสริมการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ เพื่อลดปัญหาอุปสรรคในการขนส่งข้ามแดน (คน สิ่งของ และยานพาหนะ) (ADB 2005)

การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจ 3 แนวทาง ดังแสดงในแผนภาพที่ 1 ได้แก่

1) แนวเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor :NSEC) เชื่อม ไทย-พม่า/ลาว-จีน

2) แนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor :EWEC) เชื่อม พม่า-ไทย-ลาว-เวียดนาม

3) แนวตอนใต้ (Southern Economics Corridor : SEC)  เชื่อม ไทย-กัมพูชา-เวียดนามโดย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเกี่ยวข้องกับ EWEC และ SEC                         

แผนภาพที่ 1 แนวความร่วมมือทางเศรษฐกิจใน GMS

แผนภาพที่ 2 แผนภาพแสดงการคมนามคมขนส่งในภูมิภาคเอเชีย (UN ESCAPE, 2007)[3]

3) ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาการขนส่งผ่านแดน GMS

ณ ปัจจุบันการพัฒนาการขนส่งผ่านแดนใน GMS ได้มีการดำเนินการพัฒนาอย่างต่อเนื่องแต่อย่างไรก็ยังอุปสรรคอยู่บางประการยังไม่สามารถทำให้การขนส่งผ่านแดนมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร โดยอุปสรรคสำคัญ ๆ อาทิ (ADB, 2005)[4] เช่น

  1. ปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐาน

หลายประเทศในกลุ่ม GMS ยังมีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่มีมาตรฐานเพียงพอต่อการเชื่อมโยงระหว่างประเทศ  โดยเฉพาะระบบถนนที่ยังจำเป็นต้องเร่งก่อสร้างเพิ่มเติมอีกมาก เนื่องจากถนนส่วนใหญ่ยังไม่ได้มาตรฐานโดยเฉพาะในด้าน คุณภาพของพื้นผิวถนน ( ดังแสดงในแผนภาพที่ 3) ความสามารถในการรับน้ำหนัก ตัวถนน สถานีบริการน้ำมัน หรือแม้กระทั่ง ป้ายบอกทางหรือหลักกิโลเมตร ที่ยังไม่เป็นมาตรฐานสากล) และการไม่มีระบบในการจัดระเบียบการวางแผนค้าขายบริเวณริมถนนซึ่งอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ (ดังแสดงในแผนภาพที่ 4)

และ ระบบโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภคอาคารสำนักงานบริเวณด่าน ดังแสดงตัวอย่างเปรียบเทียบระหว่าง การผ่านแดนระหว่างลาว-เวียดนาม[5] (ดังแผนภาพที่ 5.1) ซึ่งในระบบการโครงสร้างพื้นฐานควรจะต้องมีระบบและโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัยสะดวกรวดเร็วและลดปัญหาการเกิดความล่าช้าดังเช่น ระบบโครงสร้างพื้นฐานของการผ่านแดนระหว่างเขตการปกครองพิเศษฮ่องกง-เมืองเสินเจิ้น[6](ดังแผนภาพที่ 5.2) ของสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนจีน และ ด่านระหว่างชายแดนของเยอรมันและโปแลนด์ ณ บริเวณเมือง Frankfurt – Order ซึ่งจะนำมาเป็นกรณีศึกษาต่อไป (ดังแผนภาพที่ 5.3)

  1. ปัญหาด้านกฎระเบียบ

ข้อตกลง GMS CBTA ในทางปฏิบัติยังไม่สามารถบังคับใช้ได้อย่างเต็มที่ รวมทั้งยังมีกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคอยู่อีกมาก เช่น เอกสารการขนส่งสินค้าที่ยังไม่ใช้ภาษากลาง  ปัญหาการขาดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องของเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ  เวลาในการเปิดปิดด่าน รวมทั้งปัญหาด้านระบบการขับขี่เช่น พวงมาลัยซ้ายและขวา

แผนภาพที่ 3 สภาพถนนสายหลักในประเทศลาว

 

แผนภาพที่ 4 สภาพการค้าขายสินค้าบริเวณริมถนนสายหลักในประเทศลาว

แผนภาพที่ 5.1 แสดงจุด Cross Border ช่วงลาวและเวียดนาม (ADB,2005)

 

แผนภาพที่ 5.2 แสดงจุด Cross Border ระหว่าง เขตการปกครองพิเศษฮ่องกง-เมืองเสินเจิ้น (Arup, 2007)

 

แผนภาพที่ 5.3 แสดงจุด Cross Border ระหว่าง เยอรมันและโปแลนด์ ณ บริเวณเมือง Frankfurt – Order

4) การจัดการการขนส่งสินค้าผ่านแดนระหว่าง  กลุ่มสหภาพยุโรป (EU) และ กลุ่มนอกสหภาพยุโรป หรือ ยุโรปตะวันออก (Non-EU)

หากพิจารณาถึงระบบโครงสร้างพื้นฐานในกลุ่มประเทศทั้ง กลุ่ม EU และ Non-EU นั่นจัดได้ว่าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะในการด้านออกแบบถนนจัดได้ว่ามีมาตรฐานที่สูง อย่างไรก็ตามปัญหาส่วนใหญ่ที่พบนั้นได้แก่กระบวนการพิธีการตรวจสอบที่ด่านศุลกากร โดยที่การขนส่งสินค้าผ่านแดนระหว่าง กลุ่ม EU และ Non-EU จะขอยกตัวอย่างในส่วนทางด้านเมือง Frankfurt - Oder ซึ่งเป็นด่านพรมแดนหลักของการเดินทางและการขนส่งทางบกจากยุโรปตะวันออกระหว่างยุโรปตะวันตก โดยด่านนี้จะเป็นด่านที่ตั้งอยู่บริเวณชายแดนระหว่างประเทศเยอรมันและประเทศโปแลนด์ (ดังแสดงในแผนภาพที่ 6) ซึ่งจะมีการเดินทางขนส่งทางบกหนาแน่นมาก ดังนั้น ก่อนที่ประเทศโปแลนด์จะเข้ารวมกับสหภาพยุโรป การเดินทางและขนส่งผ่านด่านนี้ต้องเสียเวลาในการเข้าด่านพรมแดนนี้ ประมาณ 24 - 72 ชั่วโมง (Dascher, 2003)[7]

แผนภาพที่ 6 แผนภาพแสดง Frankfurt - Oder ซึ่งเป็นด่านพรมแดนหลักของการเดินทางและการขนส่งทางบกจากยุโรปตะวันออกระหว่างยุโรปตะวันตก

อย่างไรก็ตาม หลังจากวันที่ 1 พฤษภาคม 2004 สหภาพยุโรปได้ยอมรับในการขยายรวมประเทศที่ยื่นข้อเสนอขอเข้ารวมเป็นสหภาพยุโรปอีก 10 ประเทศ ซึ่งได้แก่ ประเทศไซปรัส สาธารณรัฐเช็ค เอสโทเนีย ฮังการี แลทเวีย ลิทูเนีย มอลตา สโลวัก สโลเวเนีย และโปแลนด์แล้ว มีผลทำให้กระบวนการตรวจสอบต่าง ๆ ณ บริเวณด่าน Frankfurt - Oder ได้เปลี่ยนไป โดยทำให้เวลาที่ต้องเสียอยู่ที่ด่านลดลงอย่างมาก เหลือเพียงประมาณ 10-15 นาทีเท่านั้น

อย่างไรก็ตามในการขนส่งผ่านแดนระหว่างประ สนธิสัญญา Istanbu lเป็นส่วนหนึ่ง CBT in EU[8] อนุสัญญา Istanbul หรือมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Convention on Temporary Admission เป็นอุสัญญาที่ว่าด้วยการนำเข้าชั่วคราว ซึ่งถือว่าเป็นนวัตกรรมของอนุสัญญาระหว่างประเทศที่มีความทันสมัยที่สุดและเหมาะสมกับสภาวะสถานการณ์ปัจจุบัน เนื่องมาจากเป็นอนุสัญญาที่ได้บูรณาการอนุสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าชั่วคราวหลายๆฉบับมารวมกันไว้เป็นฉบับเดียวกัน ได้แก่ 11. อนุสัญญาเพื่อการนำสินค้าไปเป็นตัวอย่างสินค้า(Commercial Sample ); 2 .   อนุสัญญาเพื่อนำสินค้าไปแสดงในต่างประเทศ (Exhibition ); 3. อนุสัญญาเพื่อนำสินค้าไปเป็นอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์(Scientific Equipment); 4. อนุสัญญาเพื่อนำสินค้าไปเป็นอุปกรณ์วิชาชีพ (Professional Equipment ) เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าเป็นภาคีและเป็นระเบียบแบบแผนเดียวกัน[9]

อนุสัญญา  Istanbul[10]  จะแบ่งเอกสารค้ำประกันออกเป็น 2  ชนิด CPT และ ATA Carnet[11]   CPD  Carnet  เป็นเอกสารใช้เป็นหลักฐานแทนใบขนส่งสินค้า  และเอกสารค้ำประกัน  ใช้สำหรับยานพาหนะที่นำเข้ามาชั่วคราวและ  ATA  Carnet  ซึ่งเป็นเอกสารที่ใช้เป็นหลักฐานแทนใบขนสินค้า  และเอกสารค้ำประกันสำหรับสินค้าตามที่กำหนดไว้ในภาคผนวกต่างๆ  ที่นำเข้ามาชั่วคราว   โดยหน่วยงานที่จะเข้ามาทำหน้าที่เป็นหน่วยงานค้ำประกันสากล  และเป็นผู้ออกสาร  ATA  Carnet  ได้แก่  สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย   ซึ่งจะต้องเป็นสมาชิกระบบการออกเอกสาร  และการค้ำประกันระหว่างประเทศของสำนักงานระหว่างประเทศของหอการค้านานาชาติ  (  International  Bureau  of  Chambers  of  Commerce  :  IBCC )  ด้วยในกรณีของ  CPD  Carnet  หน่วยงานที่จะทำหน้าที่เป็นองค์กรค้ำประกัน   จะมีทั้งหน่วยงานพันธมิตรการท่องเที่ยวสากล   (  Alliance  International  de  Tourisms  : AIT  )  และสมาพันธ์รถยนต์สากล  (  Federation  International  de 1  Automobile : FIA  )  ซึ่งหลักการนี้จะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยให้การขนส่งสินค้าผ่านแดนใน GMS สะดวกและรวดเร็วขึ้น

5 สรุป

เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบแนวทางของ GMS กับ EU    ซึ่งครอบคลุมถึงกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านที่เราจะร่วมทำการขนส่งทางถนนด้วยแล้วจะเกิดขึ้นได้ยากมาก เพราะนอกจากปัจจัยที่เป็นจุดอ่อน ที่องค์กรเศรษฐกิจการเมืองระดับภูมิภาค เช่น อาเซียน และ GMS ของเรายังไม่มีแนวคิดที่ไปไกลถึงการเสนอให้แต่ละประเทศสมาชิกยอมละทิ้งอำนาจอธิปไตยบางส่วนของตน เพื่อให้เกิดความสะดวกของการหมุนเวียนสินค้า บริการ และคนเพิ่มขึ้น แม้จะมีการตกลงกันเรื่อง FTA แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าภาษีของสินค้าทุกตัวจะไม่มี และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คงจะไม่มีประเทศไหนทำใจที่จะให้คนในประเทศอื่นผ่านด่านความมั่นคงของประเทศเข้ามาอยู่ในประเทศแบบเสรีง่าย ๆ เหมือนของประเทศในสหภาพยุโรป

หลักปฏิบัติต่าง ๆ ในยุโรปบางส่วนก็ได้มีการนำมาเป็นแง่คิดในการปรับปรุงการดำเนินการขนส่งทางถนนระหว่างประเทศของประเทศไทยได้ตามความเหมาะสม น่าจะเป็นวิธีการปฏิบัติที่เป็นตัวอย่างที่ดีและเป็นเป้าหมายที่เราควรจะมุ่งไปถึงในระบบได้เริ่มดำเนินการ เช่น แต่เดิมนั้นรถทุกคันที่จะเข้า – ออกระหว่างประเทศเยอรมัน    และประเทศโปแลนด์ต้องผ่านการตรวจ 2 ครั้งจากทั้ง 2 ประเทศทำให้เกิดการล่าช้า แต่ในปัจจุบันมีการตรวจร่วมกันของทั้ง 2 ฝ่าย โดยมีการใช้เอกสารเหมือนเดิม ได้แก่ ใบขับขี่ หนังสือเดินทาง ทะเบียนรถ เอกสารประกอบสินค้า (ถ้ามีการขนส่งสินค้า)

นอกจากนั้นยังรวมถึงการสร้างมาตรฐานให้องค์ความรู้การปฏิบัติงานโดยการนำระบบ Single Window และการนำระบบ Electronic ต่าง ๆ เข้ามาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการบวนการศุลกากร หากระบบการขนส่งผ่านแดนทั้งในด้านของโครงสร้างพื้นฐานและการจัดการระบบศุลกากรทำได้อย่างมีประสิทธิภาพจะส่งผลให้เกิดการจายตัวทั้งอุตสาหกรรม การค้า รวมทั้งการท่องเที่ยว ซึ่งจะทำให้ภูมิภาคเกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

 

[1] Akrasanee N., 2006) Cross Border Infrastructure to Maximise the Benefits of GMS Economic Integration [available online]: http://imf.org/external/np/seminars/eng/2006/mekong/na3.pdf

[2] Asian Development Bank (2005). Regional Cooperation Strategy and Program Update 2006–2008: The Greater Mekong Subregion–Beyond Borders [Available Online]: http://www.adb.org/Documents/CSPs/GMS-RCSPU-2005.pdf

[3] UN ESCAPE, 2007, [available online]: http://www.unescap.org/TTDW/common/TIS/AH/maps/ah_map_2007.jpg

[4] ADB, 2005, Facilitation of the cross-border transport of goods and people in the Greater Mekong Subregion (February 2005) [available online]: http://www.adb.org/GMS/cross-border-transport-agreement.pdf

[5] Asian Development Bank, 2005, [available online]: http://www.gmsbizforum.com/dmdocuments/Session%202%20GMS%20CBTA%20ADB%20Presentation.pdf

[6] Arup, 2007, Design and Construction Site Photo at Hong Kong SAR and Shenzhen Border.

[7] Dascher K., 2003, The cross-border region of Frankfurt (Oder) – Slubice: An Economics Perspective, Economics Department, Europa-Universitat Viadrina, Frankfurt (Order) Germany

[8] Istanbul Convention [available online]: http://www.wcoomd.org/learning_customshome_customselearninghome_detailshome_detailsistanbul.htm

[9] International Land Transport Promotion Center, Department of Land Transportation, Ministry of Transport 2008

[10] World Customs Organization: Organisation Mondiale Des Douanes, 2008, [available online] http://www.wcoomd.org/learning_customshome_customselearninghome_detailshome_detailsistanbul.htm

[11] HM Revenue & Custom, 2008 [available online] http://customs.hmrc.gov.uk/channelsPortalWebApp/channelsPortalWebApp.portal?_nfpb=true&_pageLabel=pageVAT_ShowContent&id=HMCE_CL_000202&propertyType=document

--------------------------------

สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง

สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง

CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล

 --------------------------------

ที่มา

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551

โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward