iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา

CT51 การพัฒนาการ Outsourcing สู่การสร้างความร่วมมือระดับ Global: แนวทางใหม่สำหรับการสร้างความสามารถในการแข่งขันในอุตสาหกรรม (From Outsourcing to Global Collaboration: New Ways to Build Competitiveness)

ลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2551 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

ผู้เขียน ดร. พงษ์ธนา วณิชย์กอบจินดา

บทนำ

ผู้ผลิตในหลาย ๆ ประเภทอุตสาหกรรม ได้มองว่าวัตถุประสงค์หลักของการ Outsource เป็นการลดต้นทุนในกระบวนการทั้งในด้านภาคธุรกิจทั้งในด้านอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ แต่ผู้ผลิตบางรายนั้นได้มองไปถึงโอกาสในการทำไร ทั้งในด้านของการออกแบบผลิตภัณฑ์ ความสามารถในการส่งสินค้าถึงผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว และช่องทางการตลาดใหม่ ซึ่งรูปแบบนี้ได้ถูกเรียกว่า Global Collaboration ซึ่งได้เป็นแนวทางใหม่ในการสร้างความสามารถในการแข่งขันในอุตสาหกรรม ซึ่งผลของการปรับเปลี่ยนจาก Traditional Outsourcing ไปเป็น Global Collaboration ได้แสดงดังแผนภาพที่ 1

แผนภาพที่ 1 ประโยชน์ที่ได้รับจากการเปลี่ยนแปลงจาก Traditional Outsourcing ไปเป็น Global Collaboration

ในบทความฉบับนี้ผู้จะนำเสนอแนวทางกลยุทธ์ในการเปลี่ยนจาก Traditional Outsourcing ไปเป็น Global Collaboration เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมไทย

การพัฒนากลยุทธ์ Global Collaboration

ในอดีตการทำการ Outsourcing หรือการทำ Global Collaboration อาจดูไม่ได้ต่างกันเนื่องจาก การพิจารณานั้นมีเพียงแค่การมองหาวัตถุดิบ ชิ้นส่วนสำหรับการประกอบขั้นสุดท้าย หรือ ผลิตภัณฑ์จากการจ้างเหมา ในที่ต่าง ๆ ของโลก ด้วยการพิจารณาที่ราคาที่ถูกกว่าเผื่อลดต้นทุนการผลิตในภาพรวมเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันทางด้านราคาเท่านั้น แต่ไม่ได้พิจารณาถึงส่วนต่าง ๆ หรือกิจกรรมอื่น ๆ หรือ ความเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการผลิต ดังแสดงในตัวอย่างในบทความที่ผ่านมาเรื่อง ”แนวทางการป้องกันเพื่อลดผลกระทบของความเสียหายเกิดในโซ่อุปทาน กรณีศึกษา Nokia” โดยที่ทั้ง Nokia และ Suppliers ของ Nokia ต่างพิจารณาทั้งการ Outsourcing เพื่อลดต้นทุนของตนเอง แต่มิได้พิจารณาถึงการ Collaborative ระหว่าง Nokia และ Suppliers เพื่อสื่อสารถึงปัญหาที่เกิดขึ้นเช่นหากเกิดการส่ง Parts ไม่ทันและทำให้เกิดการผลิตล่าช้าซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความเสียหายทั้งระบบ Supply Chain ดังนั้นในกลยุทธ์ในการพัฒนาการ Outsourcing เพื่อนำไปสู่ Global Collaboration ใน Supply Chain มีดังนี้ 1) Consider more than cost reduction; 2) Align global collaboration strategy with business strategy; 3) Strategies should be company-wide and multi-year; 4) Involve partners in the strategy process;

1. พิจารณาประโยชน์และโอกาสที่จะได้รับในการร่วมมือมากกว่าการลดต้นทุน (Consider more than cost reduction) Outsourcing นับว่าเป็นกลยุทธ์สำคัญในการลดต้นทุน แต่อย่างไรก็ตามในการวางกลยุทธ์สำหรับ Global Collaboration จะต้องพิจารณาประโยชน์ และโอกาสที่จะได้รับในการ Collaborative อาทิเช่น การสร้างมูลค่าเพิ่มในผลิตภัณฑ์โดยการร่วมมือค้นคว้าร่วมกัน การวิจัยตลาดความต้องการที่เพิ่มขึ้นและลดลงที่แท้จริง การพัฒนาที่ก่อให้เกิดทรัพย์สินทางปัญญารวมถึงการจดสิทธิบัตร การพัฒนาความรู้ในการการผลิต การหาช่องทางการตลาดใหม่ ๆ และการเข้าถึงกลุ่มลูกค้า

2. วางแนวกลยุทธ์ในการร่วมมือให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ทางธุรกิจ (Align global collaboration strategy with business strategy) ในงานวิจัยนี้ยังได้ให้ความสำคัญถึงการวางแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกันระหว่างองค์กรให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ทางธุรกิจขององค์กรในการทำ Global Sourcing Strategy รวมถึงการทำ Research and Development (R&D) เช่นการพัฒนาระบบการผลิตที่สนับสนุนผลิตภัณฑ์ หรือระบบ Handling ทำให้มีประสิทธิภาพในการผลิตดีขึ้น หรือแม้กระทั่งการร่วมกันพัฒนาในด้านทรัพย์สินทางปัญหาการจดสิทธิบัตรของผลิตภัณฑ์

3. กลยุทธ์ความร่วมมือควรเป็นระดับองค์กร และเป็นการร่วมมือในระยะยาว (Strategies should be company-wide and multi-year) ในการวางแผนความร่วมมือนี้ไม่ใช่เพียงแค่ระดับของโครงการหรือแค่หนึ่งชิ้นงานแต่ควรร่วมมือกันแผนระดับขององค์กร และเป็นการร่วมมือในระยะยาว เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของธุรกิจในอนาคตโดยมีการแสดงถึงวัตถุประสงค์ของกลยุทธ์ในการทำความร่วมมือในระดับองค์กร และระดับธุรกิจ ได้แก่

- จากเพียงแค่การ Outsourcing เปลี่ยนเป็นกระบวนการวางแผนทางธุรกิจ การจัดการทรัพย์สินทางปัญญา การทำสัญญาร่วมกันในการร่วมมือเพื่อผลประโยชน์และโอกาส

- ร่วมมือกันในการพัฒนาบุคลากรร่วมกัน หรือการวางแผนงานร่วมกัน

- การพัฒนากลยุทธ์การเป็น Partnership ซึ่งกันและกัน

เป็นต้น

องค์กรต่าง ๆ และผู้ผลิตที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่ล้วนแต่มีการวางแผนในลักษณะของ Global Collaboration มากกว่าการ Outsourcing ซึ่งสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน องค์กรที่ได้ใช้กลยุทธ์และเป็นที่รู้จักดีได้แก่ Toyota รวมถึงทีได้กล่าวมาในบทความก่อนหน้านี้ได้แก่ Nokia

4. ร่วมมือกับ Partners ในการวางแผน และตรวจสอบกระบวนการ (Involve partners in the strategy process and Monitoring) ควรมีการวางแผนกระบวนการผลิตร่วมกันรวมถึงการตรวจสอบเพื่อป้องกันการผิดพลาด เนื่องการความผิดพลาดที่เกิดขึ้นใน Supply Chain จะส่งผลกระทบต่อทั้ง Supplier & Manufacturer ทั้งก่อนหน้าและตามหลัง ดังนั้นในการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพควรมีการวางแผนในระบบการผลิตร่วมกัน และวางแผนการตรวจสอบสถานะของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ และมีการ Tracking สถานะผลิตภัณฑ์ได้อย่าง Real Time

สรุป

จากอดีตที่ผู้ผลิตต่าง ๆ ต่างมองว่าการ Outsourcing หรือแม้กระทั่งการทำ Global Sourcing จะเป็นการช่วยลดต้นทุนในการผลิตเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันลงได้ แต่อย่างไรก็ตามการ Outsourcing และ Global Sourcing ที่ไม่ได้มีการวางแผนร่วมกันอาจทำให้เกิดความเสี่ยงหรือความเสียในระบบ Supply Chain ของอุตสาหกรรมการผลิตนั้นๆ ด้วยสามารถสาเหตุเช่น วัตถุดิบไม่สามารถส่งถึงผู้ผลิตได้ตามกำหนดการนัดหมาย ปัญหาด้านคุณภาพ หรือแม้กระทั้งการเกิด Bottleneck ในระบบการผลิตเนื่องมากการคาดการณ์ปริมาณการผลิตผิดพลาดหรือการมีคำสั่งซื้อเข้ามากจนเกินความสามารถในการผลิต ณ ปัจจุบัน ซึ่งทำให้เกิดปัญหาในการผลิตในระบบการผลิตหรือโรงงานผลิตถัด ๆ ไป

ดังนั้นในปัจจุบันจึงผู้ผลิตจึงได้มีการทำสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กร (Collaboration) กับ Supplier หรือ Outsourcer โดยมีการร่วมมือกันวางแผนการผลิต การออกแบบระบบการผลิตที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ การวิจัยผลิตภัณฑ์ การร่วมมือพัฒนาด้านทรัพย์สินทางปัญญาและการจดสิทธิบัตร การวิจัยความต้องการของลูกค้า และการมองหาช่องทางการตลาดใหม่ วิธีนี้จะสามารถลดต้นทุนของทั้งกระบวนการผลิตและยังป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นซึ่งจะนำไปสู่ความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืนขององค์กรได้อีกด้วย

เอกสารอ้างอิง

Allee V., 2006, Collaboration, Innovation, and Value in Global Telecom, The Learning Organization, Vol. 13, No. 6, pp. 569 – 578.

MacCormack A, Forbath T, Brooks P, and Kalaher P, 2007, From Outsourcing to Global Collaboration: A New Way to Build Competitiveness, Harvard Business School Press, Boston, MA

--------------------------------

สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง

สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง

CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล

 --------------------------------

ที่มา

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551

โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward