iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป

CT51 การบริหารการขนส่งสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Transportation Management)

ลิขสิทธิ์ สำนักโลจิสติกส์

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

ดร. พงษ์ธนา วณิชย์กอบจินดา

1 บทนำ

ถึงแม้ว่า การบริหารด้วยระบบโลจิสติกส์ (Logistics) เป็นกระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการจัดเก็บ การขนส่งสินค้าจากผู้ผลิตถึงผู้บริโภค และช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้แก่ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมทั้งในแง่ การลดต้นทุนการผลิต การสร้างมูลค่าเพิ่ม  อย่างไรก็ตาม การขนส่งสินค้านับเป็นตัวการสำคัญในการทำลายมลภาวะและสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะการจากการที่ใช้น้ำมันของยานพหนะที่เพิ่มขึ้นทุกปี จะเห็นได้ว่าปริมาณการบริโภคพลังงานโดยเฉพาะน้ำมันซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในการการขนส่ง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งยังเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกที่มาไปสู่ปัญหาโลกร้อน ในปัจจุบันในหลายประเทศ โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปได้ทำการตั้งมาตรการต่างๆ เพื่อลดปริมาณ CO2 การสร้างออกกฎหมาย สร้างมาตาฐานในการจัดการสิ่งแวดล้อมกับระบบโลจิสติกส์ และระบบสนับสนุน มาใช้ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การพัฒนาเครื่องยนต์ที่ปล่อย CO2 สำหรับรถบรรทุก อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าเครื่องยนต์จะมีประสิทธิภาพ แต่หากไม่มีการบริหารการขนส่งที่ดี มีการขนส่งไม่เต็มเทียว ก็จะทำให้มีการเที่ยวการขนส่งเพิ่มมากขึ้น ต้องใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดการปล่อย CO2 มากขึ้นแล้วยังจะทำให้เพิ่มต้นทุนในด้านการขนส่งอีกด้วย ดังนั้นหากผู้ประกอบการขนส่งบริหารงานขนส่งด้วยการใส่ใจในสิ่งแวดล้อมจะสามารถทำให้ประหยัดต้นทุน การขนส่งมีประสิทธิภาพ และสร้างความสามารถในการแข่งขันทั้งยังรักษาสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย ซึ่งเทคนิคในการบริหารงานขนส่งเพื่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงผลกระทบ และกรณีศึกษาในต่างประเทศ จะแสดงในส่วนต่อไป

2 การขนส่งสินค้า กับ การปลดปล่อย ก๊าซคาบอนได้ออกไซด์ (CO2)

ปัจจุบันสาเหตุหลักของแหล่งการปล่อยก๊าซ CO2 คงปฏิเสธไม่ได้ว่าแหล่งสำคัญนั้นมาจากการบริโภควัตถุดิบเพื่อกำเนิดพลังงาน โดยเฉพาะจากวัตถุดิบที่เรียกว่า น้ำมัน จากจากการศึกษาและเก็บสถิติของหน่วยงาน Green Car Congress พบว่าในปริมาณของวัตถุดิบที่นำมาผลิตเป็นพลังงานนั้นเป็นน้ำมันอยู่ที่ 40%[1] ของวัตถุดิบที่นำมาผลิตเป็นพลังงานไม่ว่าจะเป็น นิวเคลียร์ ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน และพลังงานจากน้ำ ดังแสดงในแผนภาพที่ 1

แผนภาพที่ 1 แสดงสถิตการบริโภคพลังงานชนิดต่างจาก 1982 - 2007

เมื่อมาพิจารณาสัดส่วนปริมาณ CO2 ของที่ปล่อยมาจากการเผาผลาญน้ำมันพบว่า ในภาคการขนส่งนั้นมีสัดส่วนการปล่อย CO2 ถึง 33% จากภาคอุตสาหกรรม การค้าธุรกิจ และจากที่อยู่อาศัย ที่สัดส่วน 29%, 17% และ 21% ตามลำดับ ดังแสดงในแผนภาพที่ 2[2] จากการสำรวจ European Environmental Agency (2006)[3] พบว่าในยุโรปซึ่งเป็นทวีปที่มีการขนส่งและกระจาสินค้าทางถนนเป็นจำนวนมากนั้นพบว่า ส่วนใหญ่นั้นมาจากการขนส่งทางถนนซึ่งแสดงในแผนภาพที่ 3

แผนภาพที่ 2 สัดส่วนการปลดปล่อย CO2 จากการใช้น้ำมันในภาคส่วนต่าง ๆ

แผนภาพที่ 3 สัดส่วนของรูปแบบการขนส่งสินค้าในสหภาพยุโรป

จากสถิติดังกล่าวจะเห็นได้การขนส่งสินค้าส่วนใหญ่นั้นได้ทำการขนส่งในรูปแบบการขนส่งทางถนนเป็นหลัก เป็นรูปแบบที่มีการบริโภคพลังงานเป็นสัดส่วนที่สูงซึ่งนำไปสู่ต้นทุนด้านพลังงานที่สูงอีกด้วย และยังปลดปล่อย CO2 ออกมาเป็นจำนวนมาก ดังนั้นหากต้องการที่จะลดมลภาวะปกป้องสิ่งแวดล้อม และ ลดต้นทุนด้านพลัง ผู้ให้บริการขนส่งจะต้องมีการวางแผนการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ

3 เทคนิคการวางแผนการขนส่งเพื่อการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ด้วยระบบการขนส่งแบบ Milk Run

แนวความคิด Milk Run[4] ในการประหยัดพลังงาน การประหยัดต้นทุน และการเพิ่มบริการ ได้มีการใช้อย่างแพร่หลายในหลายอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ จากเดิมแต่ละผู้ผลิตชิ้นส่วนจะทำหน้าที่ขนส่งชิ้นส่วนมายังโรงงานประกอบรถยนต์ โดยตรงด้วยตนเองซึ่งก่อเกิดปัญหาด้านการจัดการชิ้นส่วนเนื่องจากผู้ผลิตชิ้นส่วนมีจำนวนมาก การจัดส่งชิ้นส่วนจัดส่งด้วยความถี่ต่ำ ดังนั้นการส่งชิ้นส่วนแต่ละครั้งจึงต้องส่งด้วย ปริมาณมาก ส่งผลให้เกิดปัญหาการสต็อกชิ้นส่วนสูงตามไปด้วย ดังนั้นผู้ผลิตรถยนต์จึงทำการเลือกผู้ผลิตที่ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน จากนั้นจะใช้รถในการตระเวนรับชิ้นส่วนมาจากผู้ผลิตดังกล่าว ดังแผนภาพที่ 4

แผนภาพที่ 4 การขนส่งแบบ Milk Run

ดังนั้นเมื่อนำระบบ Milk Run เข้ามาช่วยพบว่าโรงานประกอบรถยนต์ในเบื้องต้นโรงงานประกอบรถยนต์สามารถลดพื้นที่ในการจัดเก็บชิ้นส่วนต่าง ๆ ลงได้โดยเพิ่มความถี่ของการจัดส่งสินค้า ซึ่งพื้นที่จัดเก็บสินค้า (Warehouse) ที่สามารถลดลงไปนั้น จะทำให้สามารถลดต้นทุนของ Inventory ลงได้ ทั้งยังสามารถนำเป็นพื้นที่ผลิตรถยนต์ซึ่งด้วยเหตุนี้จะทำให้โรงงานประกอบรถยนต์สามารถเพิ่มผลผลิตขึ้น[5]

ประเด็นสำคัญในด้านการขนส่งเพื่อลดสิ่งแวดล้อม การบริหารการขนส่งแบบ Milk Run เพิ่มความสามารถในการบรรทุก ซึ่งก็คือ การบรรทุกเต็มเที่ยวมีประสิทธิภาพ เนื่องจาก ระบบ Direct Transportation ทำให้ ผู้ผลิตชิ้นส่วนที่มีปริมาณการจัดส่งน้อยถึงปานกลางไม่สามารถทำให้ค่าการบรรทุกอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ต้นทุนในการขายมีค่าสูงขึ้น และส่งผลกระทบต่อเนื่องมาถึงราคาในการซื้อของ แต่ระบบ Milk Run สามารถแก้ปัญหาลักษณะนี้ได้โดยมีการแบ่งพื้นที่บนรถระหว่างผู้ผลิตต่างๆ ทำให้ต้นทุนทางด้านการจัดส่งลดลง[6]

ในด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม และการลดการปล่อย CO2 ระบบ Milk Run จะช่วยเพิ่มความสามารถในการบรรทุกเต็มเที่ยวเพิ่มขึ้น และจำนวนของรถที่มาส่งชิ้นส่วนให้น้อยลงซึ่งจะส่งผลโดยตรง CO2 ถูกปล่อยน้อยลงซึ่งจะเป็นการลดมลพิษ ลดการปลดปล่อย CO2 ที่เป็นตัวการทำให้เกิดโลกร้อนลงได้[7]

[1] Green Car Congress: Global Energy Consumption, 2008 available online at [www.greencarcongress.com]

[2] Anderson, C., 2007, Global Warming Climate Change and the Transportation Solution.

[3] European Environmental Agency, 2006

[4] Sbihi, A., and Eglese, R.W., 2007, The Relationship between Vehicle Routing & Scheduling and Green Logistics – A Literature Survey, Department of Management Science, Lancaster University, UK

[5]China Economic: Shanghai GM sales soaring through logistics upgrading, 2007, available online at [http://en.ce.cn/Insight/200707/27/t20070727_12331920.shtml]

[6] Logistics innovation for Toyota’s world car strategy, 2007, available online at [https://www.inderscience.com/filter.php?aid=6307]

[7] Mazda: Mazda enhance green distribution system between Hiroshima and the Tokai district, 2007, available online at [http://www.mazda.com/publicity/release/2007/200707/070702.html]

--------------------------------

สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง

สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง

CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล

 --------------------------------

ที่มา

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551

โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward