iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป

CT51 กรอบการวางแผนบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน: กุญแจสู่ความสำเร็จของการบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์สำหรับการขนส่ง (Infrastructure Management Framework (IMF): Key Success in Transportation Logistics System Management)

ลิขสิทธิ์ สำนักโลจิสติกส์

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

โดย ดร. พงษ์ธนา วณิชย์กอบจินดา

1 บทนำ

จากความต้องการในการที่จะพัฒนาประเทศไทยให้เป็นกลางการคมนาคมและขนส่งในกลุ่มอนุภาคลุ่มน้ำโขง (Greater Mekong Subreigon) ซึ่งประกอบด้วย และการเป็นประตู (Gateway) ในการขนส่งสินค้าระหว่างตะวันออก (ได้แก่ Asia Far East, USA-West Coast,  ประเทศต่าง ๆ ในคาบสมุทร แปซิฟิก เป็นต้น) และตะวันตก (กลุ่มทวีปยุโรป, BIMSTEC, ตะวันออกลาง อัพริกา เป็นต้น) ดังนั้นการแข่งในด้านของศักยภาพและประสิทธิภาพรวมถึงการบูรณากรของระบบโครงสร้างพื้นฐานและระบบสนับสนุนรวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกที่ช่วยในการขนส่ง (Infrastructure and Supporting System: ISS)[1] ดังแสดงในแผนภาพที่ 1

แผนภาพที่ 1 การวางแผนและบูรณาการระบบโครงสร้างพื้นฐานและระบบสนับสนุน

อย่างไรก็ตามในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานซึ่งต้องใช้งบประมาณเงินทุนมหาศาล จึงต้องมีการวางแผนที่ดีทั้งในการวางแผนและบริหารงานการก่อสร้าง (Construction Planning & Management) การวางแผนการเงินของโครงการ (Financial Management) การวางแผนสำหรับการบำรุงรักษาหลังจากการก่อสร้าง (Maintenance Planning) การวางแผนในการพัฒนาต่อเนื่อง (Project Development) การเชื่องโยงกับโครงการอื่น ๆ (Project System Integration) ได้แก การวางแผนในการทำขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ การวางแผนในการบริหารโครงสร้างพื้นฐานและทรัพย์สิน (Infrastructure & Asset Management) เพื่อให้สามารถใช้โครงสร้างในมีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติในอนาคต

ดังนั้นก่อนที่จะมีการสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ จะต้องมีการวางกรอบและแนวทางของโครงสร้างให้ดีและมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะต้องมีการนำ กรอบการบริหารจัดการบริหารโครงสร้างพื้นฐาน (Framework for Infrastructure Management) เข้ามาประยุกต์ใช้ซึ่งจะกล่าวในเนื้อหาต่อไป

2 ปัญหาสำคัญในการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน

ในการบริหารจัดการระบบโครงสร้างพื้นฐานนั้นความยากง่ายและปัญหาส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับข้อมูลพื้นฐานภูมิหลังต่าง ๆ ซึ่งแสดงดังหัวข้อต่อไปนี้

2.1 การเสื่อมสภาพตามอายุของโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเกิดจากเหตุดังนี้

- เกิดจากอายุ (Aging) ระดับการใช้งาน (Level of Service)

- การเสื่อมสภาพจากธรรมชาติ

- การออกแบบที่ไม่ได้คุณภาพ

2.2 ขาดการวางแผนการบำรุงรักษาที่ถูกต้อง

2.3 ขาดแคลนงบประมาณการบำรุงรักษา งบประมาณในการบำรุงรักษานั้นถือว่ามีความสำคัญไม่แพ้ งบประมาณที่ใช้ในการก่อสร้างซึ่งโดยมากงบประมาณการบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานจะวางงบประมาณโดยใช้เงินประกันสัญญา แต่หลังจากนั้นในการซ่อมแซมและบำรุงจะต้องมีการของบประมาณใหม่และการของบประมาณใหม่ในการบำรุงรักษาจะต้องใช้เวลามากถึง 1 – 2 ปี หรือบางครั้งอาจจะมากกว่านั้น ซึ่ง ณ เวลาที่จะได้บำรุงรักษาจริง ๆ สภาพโครงสร้างพื้นฐานก็ได้มีการชำรุดมากกกว่าในขณะที่รายงาน และส่งผลให้ไม่สามารถใช้ระบบโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.4 ขาดการรายงานสภาพของโครงสร้างพื้นฐานที่แท้จริง และอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นผลให้สภาพความเสียหายของโครงสร้างพื้นฐานเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว

2.5 ขาดการวางแผนในการบูรณาการโครงสร้างพื้นฐานอย่างมีระบบ ทั้งในด้านการก่อสร้างและการบูรณาการและการเชื่อมโยงระบบเข้าด้วย รวมถึงการประสานงานระหว่างผู้ดูแลรับผิดชอบระบบโครงสร้างพื้นฐานนั้น ๆ ด้วย

แผนภาพที่ 2 สภาพเส้นทางรถไฟของประเทศไทย

จากแผนภาพที่ 2 จะเห็นได้ว่าสภาพของทางรถไฟสายหลักของประเทศที่ใช้ทั้งการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารมีสภาพทรุดโทรม ดังแสดงใน แผนภาพที่ 2-1 การปล่อยให้โครงสร้างทางรถไฟชำรุดดังแสดงในตัวอย่างที่ 2-2 ซึ่งชำรุดเสียหาย ผลจากการปล่อยให้ชำรุดเสียหายจะทำให้ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมสูงบางครั้งเกือบเทียบเท่ากับการสร้างใหม่ และยากที่จะการบริหารจัดการ หรือไม่สามารถบริหารจัดการ ซึ่งก็คือการคิดโครงสร้างพื้นฐานที่เหลืออยู่เป็นซากและรองบประมาณที่จะก่อสร้างใหม่

3 หลักการวิเคราะห์ระบบโครงสร้างพื้นฐาน

จากปัญหาดังที่กล่าวมาในหัวข้อที่ 2 การที่โครงสร้างพื้นฐานขาดการบริหารจัดจะส่งผลกระทบต่ออายุการใช้งานของโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้การใช้งานมีอายุลดลง ก็หมายถึงว่ารัฐจะต้องนำเงินมาเพื่อสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานนั้น ๆ ใหม่แทนที่ของเดิน แทนที่จะนำงบประมาณไปสร้างหรือลงทุนในโครงสร้างพื้นส่วนต่อขยาบหรือโครงสร้างพื้นฐานสนับสนุนเพื่อให้ระบบมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นในระบบบริหารโครงสร้างพื้นฐานจะต้องมีกรอบแนวทางในการวางโครงการ ระยะเวลาการใช้งาน ระยะเวลาการบำรุงรักษาที่ถูกต้อง         Stark and Nicholls[2] (1972) กรอบในการวิเคราะห์วางแผนการจัดการโครงสร้างพื้นฐานนั้นจะต้องคำนึงถึงหลักการในการแก้ไขปัญหาที่เป็นระบบมีกรอบการวิเคราะห์ซึ่งจะต้องคำนึงถึงปัจจัยในด้าน เทคนิคทางวิศวกรรม เศรษฐศาสตร์ สังคม การเมือง นอกจากนั้นยังจะต้องมีการคาดการณ์ถึงสถานการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดกับโครงสร้างพื้นฐาน และการแก้ไขปัญหา กระบวนการดังกล่าวสามารถแสดงได้ดังแผนภาพที่ 3

แผนภาพที่ 3 กรอบแนวคิดการวางแผนบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน

4 การบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน

การบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้โครงสร้างพื้นฐานใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ มีระดับการใช้บริการที่ดี ปลอดภัย ภายใต้มาตรฐานที่ยอมรับ ในงบประมาณที่จำกัด และทำให้โครงสร้างพื้นฐานมีอายุการใช้งานได้ตามการออกแบบตามหลักการของวิศวกรรทโยธา ดังแสดงในตารางที่ 1

อย่างไรก็ตามในการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานนั้นเป็นไปไม่ได้ที่จะมองโครงสร้างพื้นฐานในระบบเดียว เพราะในความเป็นระบบโครงสร้างพื้นฐานจะถูกเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย และแบ่งตามระดับความสำคัญ รวมถึงขอบเขตในการดูแลและเป็นเจ้าของเช่น สนามบิน ท่าเรือ ถนน โดยเฉพาะถนน ที่ได้ถูกแบ่งความรับผิดอยู่ในหลาย ๆ หน่วยงาน ทั้งภาครัฐ และเอกชน (สัมปทาน) หรือ การแบ่งเป็นระดับนานาชาติ ระดับชาติ จนถึงระดับหน่วยงาน ดังแสดงในแผนภาพที่ 4

ตารางที่ 1 อายุการใช้งานโครงสร้างพื้นฐานตามมาตรฐานวิศวกรรมโยธา

Infrastructure Facility and Components

Expected Service Life (Year)

Airport

·       Building, Structure,

Up to 150 years

·       Runway, Taxiways, Aprons

Up to 50 years

Bridge

·       Decks

Up to 50 years

·       Substructure and Superstructure

Up to 125 years

Tunnel

·       For Road Traffic, Water

Up to 200 years

แผนภาพที่ 4 ขอบเขตอำนาจหน้าที่ในการการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน

นอกจากการให้ความสำคัญในการจัดสภาพความคงทนแข็งแรงหรือความสมบูรณ์ของโครงสร้างพื้นฐานแล้ว การจัดการการใช้โครงสร้างพื้นฐานก็ยังมีส่วนสำคัญที่จะทำให้โครงสร้างพื้นฐานมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งกระบวนการบริหารจัดการนี้ได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1) การให้บริการ; และ ส่วนที่ของ 2) การสนับสนุนการให้บริการ ดังแสดงในแผนภาพที่ 5 จากแผนภาพ จะเห็นได้นอกเหนือจากการจัดการให้โครงสร้างพื้นฐานใช้ได้เต็มประสิทธิภาพในเรื่องของปริมาณการใช้โครงสร้างพื้นฐานแล้ว ยังจะต้องมีฝ่ายสนับสนุนที่ต้องให้ความสำคัญในการของการแก้ไปปัญหา การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทั้งในด้านปริมาณใช้ที่เพิ่มขึ้นและลดลง หรือแม้กระทั่งการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากสภาพแวดล้อมทางการเมือง  ดังแสดงไว้ในแผนภาพที่ 1 ในตอนต้น

แผนภาพที่ 5 ระดับการปฏิบัติในการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน

ที่สำคัญสำหรับประเทศไทยที่กำลังให้ความสำคัญในการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานสนับสนุนการพัฒนาโลจิสติสก์เพื่อเป็น Hub of Asia การบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานนั้นยิ่งมีความสำคัญเป็นอย่างมากโดยเฉพาะการวางแผนการขนส่งและกระจายสินค้าใน GMS และการเป็น Gateway เพื่อเชื่อการขนส่งและขนถ่ายสินค้าระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิก และอินเดียเพื่อส่งสิงค้าไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก ดังนั้นนอกจากจะต้องมีการบริหารโครงสร้างพื้นฐานให้มีประสิทธิภาพแล้วจะต้องมีการวางแผนบูรณาการระบบโครงพื้นฐานต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เช่น สนามบิน ท่าเรือ ระบบขนส่งทางราง การขนส่งผ่านแดน โดยเฉพาะการทำ Multimodal Transportation เช่น และทำให้ การขนส่งสินค้ามีความคล่องตัว ซึ่งการจะทำให้การบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะอย่างยิ่งการบูรณาการระบบโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญเข้าด้วยกันดังความต้องในการขนส่งสินค้าใน GMS จะต้องมีการวางแผนการจัดกลุ่มเพื่อให้ง่ายในการจัดการทั้งในด้าน เจ้าของ ผู้บริหาร และ ผู้ใช้โครงสร้างพื้นฐานดังแสดงในแผนภาพที่ 6 จึงจะมีประสิทธิภาพสูงสุดและเพิ่มความสามารถในการแขงขันด้านโลจิสติกส์การขนส่งสินค้าของประเทศไทย

แผนภาพที่ 6 การบริหารจัดการโครงสร้างพื้นของเครือข่ายการขนส่งสินค้า

[1] Glen D’Este, 1996, An event-based approach to modeling intermodal freight system, International Journal of Physical Distribution & Logistics Management, Vol. 26(6), pp. 4 – 15.

[2] Stark, M.L., and Nicholls, R.L., 1972, Mathematical Foundation for Design: Civil Engineering System, McGraw-Hill, New York, 1972

--------------------------------

สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง

สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง

CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล

 --------------------------------

ที่มา

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551

โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward