iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป

CT51 กระบวนการ By Products และ Logistics ทางด้านขนส่งอ้อยออกจากโรงงาน

ลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2551 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วันชัย รัตนวงษ์

ระบบ Supply Chain ของอ้อยและน้ำตาลในส่วนของการเก็บเกี่ยวและขนส่งอ้อยป้อนเข้าสู่โรงงานและกระบวนการผลิตอ้อยเป็นน้ำตาลเป็นอุตสาหกรรมการผลิตแบบต่อเนื่อง (Continuous Processes) นอกจากที่จะได้น้ำตาลออกมาล้วยังมีผลผลิตพลอยได้ (By Products) อีกเป็นจำนวนมาก เช่น โมลาส (Molasses) ไฟฟ้าชีวมวล ปุ๋ยชีวภาพ พาร์ติเคิลบอร์ด เป็นต้น นอกจากนั้นสิ่งที่ต้องพิจารณาต่อไปคือ Logistics ทางด้านขนส่งน้ำตาลทรายออกจากโรงงานจนถึงผู้บริโภค

น้ำตาลที่ได้จากกระบวนการผลิตถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์หลักของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล ส่วนที่เหลือสามารถนำไปใช้ภายในโรงงานน้ำตาล หรือนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์อื่นได้อีก เรียกว่า ผลผลิตพลอยได้ (By-Products) ดังรูปที่ 1 ตัวอย่างของการนำไปใช้ประโยชน์อื่นๆ ได้แก่

รูปที่ 1 ผลผลิตพลอยได้ (By Product) ของอ้อย

- น้ำจากอ้อย มีประมาณร้อยละ 50 ของน้ำหนักอ้อย ส่วนใหญ่นำไปใช้ในขั้นตอนต่างๆ ของกระบวนการผลิตน้ำตาล

-  กากตะกอนหม้อกรอง (Filter Mud) ประกอบด้วยน้ำ ไขมัน (Wax) และสารประกอบโปรตีน    ส่วนใหญ่จะนำไปใช้เป็นปุ๋ยใส่ในไร่อ้อย หรือนำไปทำเป็นปุ๋ยหมัก หรือนำไปตากแห้งและนำไปเป็นอาหารสัตว์

  • กากน้ำตาล(Molasses) เป็นผลิตผลพลอยได้ที่สำคัญและมีการซื้อขายกันในระหว่างประเทศปีละ 35-42 ล้านตัน โดยมีราคาประมาณเมตริกตันละ 1,000-2,500 บาท ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากกากน้ำตาลสามารถนำไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์อื่นได้อีกมากมาย เช่น เอทธิลอัลกอฮอล์ (Ethyl Alcohol หรือ Ethanol) ผงชูรส (Monosodium Glutamate) ยีสต์ที่เป็นอาหารสัตว์และอาหารมนุษย์ เป็นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์บางชนิดยังสามารถนำไปผลิตเป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ เช่น เอทธิลอัลกอฮอลนำไปผลิตเป็นเอทธีลีน (Ethylene)   อาเซตาอัลดีไฮด์ (Acetaldehyde) กรดอาเซติก (Acetic Acid) อาซีโตน (Acetone)        
  • โมลาส เป็นของเหลวเหนียวข้น สีน้ำตาลเข้ม เป็นผลผลิตสุดท้ายที่ได้จากกระบวนการผลิตน้ำตาล ส่วนประกอบของโมลาสจะผันแปรไม่แน่นอน ขึ้นกับพันธุ์อ้อยและกรรมวิธีการผลิตน้ำตาล โมลาสส่วนใหญ่จะประกอบด้วยน้ำตาลซูโครสและน้ำ การบริโภคโมลาสในประเทศส่วนใหญ่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตแอลกอฮอล์สำหรับการผลิตสุรา และการผลิตเอทานอลเพื่อใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตแก๊สโซฮอล์ นอกจากนี้ยังใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตผงชูรส อุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์ อุตสาหกรรมการผลิตยีสต์ ตลอดจนการนำโมลาสไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมรายย่อยต่างๆ เช่น "เอ็ม โมลาส" เป็นการนำโมลาสไปใช้หมักทำปุ๋ยน้ำ ใช้ทำน้ำสกัดชีวภาพ ใช้เพาะเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์เพื่อใช้ในฟาร์มกุ้ง ตลอดจนใช้ในการบำบัดน้ำทิ้ง เป็นต้น โรงงานน้ำตาลผลิตโมลาสได้ประมาณร้อยละ 5 - 4.7 จากปริมาณอ้อยที่เข้าหีบทั้งหมด และโมลาสที่ผลิตได้มีคุณภาพความหวานในช่วง 50 - 54% TSAI โดยจำหน่ายให้กับตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ นอกจากนี้ผลจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นส่งผลให้มีการนำกากน้ำตาลไปใช้ประโยชน์ในด้านการผลิตเอทานอลเพื่อใช้ผสมกับน้ำมันเบนซิน ซึ่งเป็นพลังงานทางเลือก ไม่ว่าจะเป็น E20, E85 หรือ E100 ในอนาคต ซึ่งจากปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ภาครัฐมีแนวคิดที่จะห้ามการส่งออกกากน้ำตาลเพื่อสงวนไว้ใช้ในประเทศ ดังรูปที่ 2 ภายหลังจากที่ผู้ผลิตเอทานอลเรียกร้องขอปรับราคาเอทานอลที่จำหน่ายให้กับโรงกลั่นน้ำมันให้สอดคล้องกับราคากากน้ำตาลที่ปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ประเด็นดังกล่าวทางฝ่ายโรงงานน้ำตาลมีความเห็นว่าหากควบคุมการส่งออกจะทำให้ราคากากน้ำตาลปรับตัวลดลงและส่งผลกระทบต่อรายได้ของระบบอ้อยและน้ำตาลทรายซึ่งยังมีภาระหนี้เงินกู้ระหว่างกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายกับสถาบันการเงินถึงประมาณ 18,000 ล้านบาท

ที่มา: โรงงานน้ำตาลมิตรผล

รูปที่ 2 การจัดเก็บโมลาสที่มีประสิทธิภาพ

- ผลิตไฟฟ้าชีวมวล (Biomass Power) โรงงานน้ำตาลทั้งหมดมีการใช้กากอ้อยในการผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ในกระบวนการผลิตน้ำตาล และโรงงานส่วนใหญ่มีเหลือเพียงพอกับกระบวนการผลิตน้ำตาล และส่วนที่เหลือขายให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตในโครงการ “ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP)” กากอ้อยหรือชานอ้อยเป็นชีวมวลที่ได้จากโรงงานน้ำตาล โดยอ้อย 1 ตัน เมื่อนำมาผ่านกระบวนการแปรรูปจะได้น้ำตาลทรายประมาณ 100 - 121 กิโลกรัม และจะใช้พลังงานไฟฟ้าในกระบวนการประมาณ 25 - 30 กิโลวัตต์-ชั่วโมง ใช้ไอน้ำ 0.4 ตัน ในกระบวนการแปรรูปจะมีกากหรือชานอ้อยเป็นวัสดุเหลือจากกระบวนการประมาณ 290 กิโลกรัม ดังรูปที่ 3 ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ประมาณ 100 กิโลวัตต์-ชั่วโมง

(บทความจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน, http://www.eppo.go.th/admin/history/renewable.html)

ที่มา : โรงงานน้ำตาลมิตรผล

รูปที่ 3 การผลิตไฟฟ้าชีวมวลจากกากอ้อย

Logistics ทางด้านขนส่งสู่ผู้บริโภค

ส่วนใหญ่โรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาล จะมีกลุ่มของลูกค้า 3 ประเภทหลัก คือ

  1. กลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งลูกค้ากลุ่มนี้จะสั่งซื้อน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์เป็นหลัก เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์ของตนเองต่อไป อุตสาหกรรมกลุ่มนี้จะมีทั้งของภาครัฐและเอกชน การสั่งซื้อจะต้องมีการทำสัญญาและชำระเงินไว้ล่วงหน้าก่อนแล้ว เพื่อเป็นการวางแผนการผลิตของโรงงานและการจัดสรรปริมาณน้ำตาลได้อย่างถูกต้อง โควต้าน้ำตาลที่ใช้จำหน่ายให้กับลูกค้ากลุ่มนี้จะเป็น น้ำตาลโควต้า ก. ราคาที่จำหน่ายจะเป็นราคาขายส่ง
  2. กลุ่มพ่อค้าคนกลาง จะเป็นกลุ่มของลูกค้าที่มารับซื้อเพื่อไปจำหน่ายต่อให้กับลูกค้าของตนเองต่อไป น้ำตาลที่ซื้อจะเป็นน้ำตาลทรายขาว ลูกค้ากลุ่มนี้ส่วนมากจะเป็นลูกค้ารายย่อยที่มีการติดต่อซื้อขายกันมานานทำให้สามารถรักษาโควต้าน้ำตาลของตัวเองได้จนถึงปัจจุบัน ถึงแม้จะมีการสั่งซื้อปริมาณไม่มากนัก ราคาที่จำหน่ายจะเป็นราคาขายส่ง
  3. กลุ่มตัวแทนจัดจำหน่าย (Distributor) จะเป็นบริษัทที่ได้ทำสัญญาการเป็นตัวแทนการจัดจำหน่ายให้กับบริษัท โดยมีหน้าที่หลักในการหาและติดต่อประสานงานกับลูกค้าที่อยู่ในต่างประเทศ การจัดจำหน่ายจะแบ่งตามโควต้าดังนี้

โควตา ข. เป็นน้ำตาลทรายดิบ ที่ผลิตเพื่อการส่งออกผ่านบริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด เพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ

โควตา ค. เป็นน้ำตาลทรายดิบ น้ำตาลทรายขาว หรือน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ เพื่อส่งออกไปต่างประเทศ   ราคาที่ใช้จำหน่ายในส่วนนี้จะใช้ราคาอ้างอิงจากตลาดโลกและบวกส่วนเพิ่มของค่าดำเนินการ (Premium)

ลูกค้าต้องทำการติดต่อโดยตกลงกันในเรื่องปริมาณการซื้อขายและการชำระเงิน แล้วจึงจัดสรรโควต้าน้ำตาลทรายให้กับลูกค้าแต่ละรายให้ถูกต้องตามโควต้าที่ตนเองมีอยู่ เมื่อมีการตกลงซื้อขายแล้วจะต้องมีการทำสัญญาและชำระเงินสดล่วงหน้า

บริษัทจะเป็นตัวกลางในการติดต่อประสานงานกับลูกค้าในการเข้าไปรับน้ำตาลทรายที่โรงงานตามโควต้าของลูกค้าแต่ละราย โควต้าน้ำตาลทรายเหล่านี้จะถูกควบคุมโดยคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล ทำให้ในการขนย้ายน้ำตาลทรายแต่ละครั้งจะต้องมีการขออนุญาตและมีใบอนุญาตขนย้ายน้ำตาล (ก.น.2) ประกอบทุกครั้งในการเข้าไปรับน้ำตาลทรายที่โรงงาน

ลูกค้าในประเทศที่ซื้อเพื่อไปใช้ในอุตสาหกรรมจะนำรถบรรทุกสิบล้อ รถบรรทุกสิบแปดล้อ หรือจะเป็นรถที่ออกแบบสำหรับการขนน้ำตาลทรายโดยเฉพาะ เข้ามารับน้ำตาลทรายที่โรงงาน โดยอาศัยสายพานลำเลียงภายในคลังสินค้า ส่งมาที่รถบรรทุก ดังรูปที่ 4 

รูปที่ 4 สายพานลำเลียงภายในคลังสินค้าส่งมาที่รถบรรทุก

ในส่วนการส่งออกน้ำตาลไปต่างประเทศ ส่วนใหญ่เป็นน้ำตาลทรายดิบจะใช้การขนส่งหลายรูปแบบ (Multi-modal) โดยตัวแทนจำหน่ายจะส่งรถบรรทุกเข้ามารับน้ำตาลทรายที่โรงงาน การบรรจุน้ำตาลทรายที่จัดส่งจะมีลักษณะเป็น Bulk รถบรรทุกเหล่านี้จะไปที่ท่าเรือกรุงเทพฯ (คลองเตย) หรือ ICD (Inland Container Depot) ลาดกระบัง เพื่อส่งไปที่ท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งจัดสรรพื้นที่สำหรับตู้ขนสินค้าน้ำตาลทรายโดยเฉพาะให้อยู่ในพื้นที่ A4 ของท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อที่จะสะดวกในการควบคุมดูแล 

--------------------------------

สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง

สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง

CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล

 --------------------------------

ที่มา

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551

โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward