iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ

CT51 ปัจจัยพื้นฐานในการตัดสินใจติดตั้งก๊าซ NGV เพื่อลดต้นท่ามกลางวิฤตการณ์น้ำมัน (Fundamental Decision Making for NGV Engine Installation during Fuel Crisis)

ลิขสิทธิ์ สำนักโลจิสติกส์

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

โดย ดร. พงษ์ธนา วณิชย์กอบจินดา

 

บทนำ

จากการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน พบว่าปัญหาด้านวิกฤตการณ์พลังงาน โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน  นับวันก็ยิ่งทวีความรุนแรงมาขึ้นโดย เฉพาะ อย่างยิ่งการปรับตัวของราคาน้ำมันดีเซลที่มีการปรับตัวถึง 10 บาท ต่อ ลิตร [1] ในช่วงครึ่งปีแรกของ ปี พ.ศ. 2551 ถึงแม้ว่าระคาน้ำมันดีเซลจะมีการปรับราคาลงในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา (กรกฎาคม – สิงหาคม 2551)[1] แต่จากปัจจัยราคาน้ำมันที่ผันผวนต่อเนื่อง จนไม่สามารถคาดการณ์ราคาน้ำมันได้ว่าจะตีบตัวขึ้นทะลุ 150 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลเมื่อไหร่ และในที่สุดผู้ให้บริการขนส่งสินค้าของประเทศไทยอาจมีแนวโน้มจะต้องซื้อน้ำมันในราคาถึง 50 บาท ต่อ ลิตร ดังแสดงในแผนภาพที่ 1 ดังนั้นการปรับตัวของราคาน้ำมันนี้ได้ส่งผลกระโดยตรงต่อภาคอุตสาหกรรมการขนส่งสินค้าที่เป็นเป็นหัวใจหลักของการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจทั้งในภาคการผลิตและภาคบริการทั้งในไทยและทั่วโลก แต่ขณะนี้กลับประสบปัญหาชะลอตัว

แผนภาพที่ 1 แนวโน้มการปรับตัวของราคาน้ำมันดีเซล

จากแผนภาพที่ 1 ได้สงสัญญานถึงแนวโน้มในการเพิ่มขึ้นของค่าน้ำมันดีเซลในอนาคต และจะเป็นวิกฤตการณ์ที่ส่งกระทบโดยตรงภาคธุรกิจของประเทศไทย โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจผู้ให้บริการขนส่งสินค้า ซึ่งต้องใช้น้ำมันเป็นวัตถุดิบหรือต้นทุนหลักในการประกอบการ ต้นทุนนำมันที่ใช้ในการขนส่งสินค้าอาจสูงถึงประมาณ 50% ของต้นทุนการประกอบการซึ่งขึ้นอยู่ความสามารถในการบริหารจัดการของผู้ประกอบการแต่ละราย (ดังแผนภาพที่ 2)

แผนภาพที่ 2 การประมาณการต้นทุนการประกอบการผู้ให้บริการขนส่งสินค้า

ดังนั้นการนำพลังงานทางเลือกประเภทอื่นที่มีต้นทุนถูกกว่าจึงเป็นอีกทางเลือกนึง ซึ่งในปัจจุบันผู้ประกอบการหลายรายได้หันมาติด NGV อย่างไรก็ตามในการติด NGV นั้นใช่ว่าจะคุ้มค่าและสามารถสร้างผลกำไรได้เสมอไป เนื่องจากในปัจจุบัน สถานบริการน้ำมัน NGV มันมีปริมาณน้อยกว่าความต้องการดังนั้นในการจะติด NGV ผู้ประกอบการควรคำนึงถึงปัจจัยพื้นฐาน ต่าง ๆ ดังนี้

2 การวิเคราะห์ปัจจัยในการติดตั้ง NGV 

ปัจจัยที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานจองเครื่องยนต์ NGV แต่ละประเภท

ในการติดตั้ง NGV กับรถบรรทุกหรือรถหัวลาก ผู้ประกอบการจะต้องทำการศึกษาลักษณะของเครื่องยนต์สำหรับ NGV มีกี่ประเภทและมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันอย่างไร รวมถึงการสอบถามกับบริษัทขนส่งที่เคยมีประสบการณ์การใช้ NGV ได้แบ่งประเภทเครื่องยนต์ NGV ไว้ 3 ประเภทคือ การใช้เครื่องยนต์ใหม่ที่ใช้ NGV อย่างเดียว NGV (Repowering) , การดัดแปลงเครื่องยนต์เดิมให้มาใช้ NGV อย่างเดียว (Dedicated Retrofit) , การดัดแปลงเครื่องยนต์ให้สามารถใช้เชื้อเพลิงร่วมได้ (Diesel Dual Fuel : DDF) การเปรียบเทียบของเครื่องยนต์แต่ละประเภทได้แสดงดังตารางที่ 1  

ตารางที่ 1 การเปรียบเทียบการเลือกใช้เครื่องยนต์ NGV แต่ละประเภท

 

รายละเอียด

ข้อเปรียบเทียบ NGV ทั้ง 3 ระบบ

(DDF) NGV+Diesal

  Modify NGV

NGV (Repowering)

1. การประหยัดเชื้อเพลิง

ประหยัด 10-15%

ประหยัด 40-50%

ประหยัด 60-70%

2. ระบบการจ่ายเชื้อเพลิง

ระบบดูดควบคุมด้วยกลไก

ระบบดูดควบคุมด้วยกลไก

ระบบหัวฉีด ด้วยไฟฟ้า

3. รูปแบการดัดแปลง

ไม่ต้องดัดแปลง

ดัดแปลงเครื่องยนต์เก่า

เปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่

4. อายุการใช้งาน

อายุการใช้งานน้อย

ดัดแปลงไม่มีอาจเครื่องเสีย

อายุการใช้งานนาน

5. ปัญหาจากการใช้งาน

เครื่องยนต์เสียหายเนื่องจากความร้อน

N/A

ไม่มี

6. การใช้เชื้อเพลิง

ใช้ได้ทั้งดีเซล และแก๊ส

ใช้แก๊ส 100 %

ใช้แก๊ส 100 %

7. ระบบการป้องกันรถยนต์

เครื่องยนต์เดินไม่เรียบ

เกิดความร้อนฝาสูบแตก

มี ECU ควบคุมทุกจุด

8. ค่าใช้จ่าย

150,000–300,000บาท

400,000-600,000 บาท

650,000- 1,300,000 บาท

9. การรับประกัน

ไม่มี

6 เดือน หรือ 50,000 Km.

1 ปี หรือ 100,000 Km.

 

ปัจจัยที่ 2 จำนวนสถานบริการน้ำมัน และ เส้นทางในการขนส่ง

ในการใช้ NGV สิ่งสำคัญที่สุดที่ผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึงจำนวนและตำแหน่งของสถานีบริการ NGV ซึ่งปัจจุบันเนื่องจากสถานีบริการ NGV นั้นยังมีจำนวนไม่มาก ทำให้เกิดปัญหาการแย่งกันเติม NGV ส่งผลในการทำให้เกิดการรอคอยการเติม NGV ที่ยาว ทำให้การบริหารรอบในการเดินรถไม่มีประสิทธิภาพ คือ ทำให้ รอบการเดินรถต่ำกว่าหมาย รายได้ของผู้ประกอบการลดลงบางครั้งหากเปรียบเทียบกับการใช้น้ำมันดีเซลที่หาสถานบริการน้ำมันได้ทั่วกับ สถานบริการ NGV แล้ว การใช้น้ำมันดีเซลอาจทำให้ผู้ประกอบการมีผลประกอบการทีดีกว่าการใช้ NGV นอกจากนั้นผู้ประกอบการจะต้องคิดคำนวณถึงอัตราการบริโภค NGV ว่า ในการเติม NGV เต็มถึง 1 ครั้ง รถบรรทุกคันดังกล่าวจะสามารถมาวิ่งได้ระยะทางกี่ กิโลเมตร เนื่องจากการที่จะใช้ NGV ให้มีประสิทธิภาพ ผู้ประกอบการควรจะต้องมีแผนการเดินรถดังนี้

1. การขนส่งสินค้าระยะทางสั้น จะต้องมีสถานบริการสนับสนุนอยู่พื้นที่ทำการขนส่งสินค้า หรือ สามารถกลับมาเติม NGV ที่เดิมได้

2. การขนส่งสินค้าระยะทางไกล หากเติม NGV จากต้นทาง เมื่อเดินทางถึงปลายทางแล้ว NGV หมดถังจะต้องสามารถหา NGV เติมแล้ววิ่งกลับมาที่เดิมได้

ดังนั้นผู้ประกอบการควรจะต้องมีการทำ Mapping ของสถานบริการ NGV ในเส้นทางที่จะทำการขนส่งสินค้าดังแสดงในแผนภาพที่ 2

แผนภาพที่ 2 การทำ Mapping ของสถานบริการ NGV เพื่อประกอบการตัดสินใจการเลือกใช้ NGV

 

ปัจจัยที่ 3 การคำนวณหาผลตอบแทนการลงทุน

การลงทุนติดตั้ง หรือ Modify เครื่องยนต์ NGV สิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึงถือการคาดการณ์ในด้านการเพิ่มขึ้นของราคาค่าน้ำมัน เมื่อเทียบกับการลงทุนติดตั้งเครื่องยนต์ NGV และรายได้หรือปริมาณในการขนส่งสินค้า เนื่องจากการลงทุนสำหรับการติดตั้งเครื่องยนต์ NGV หรือ Modify เครื่องยนต์จะต้องใช้เงินทุน ต่อ คัน ซึ่งอยู่ในระหว่าง 500,000 ถึง ประมาณ 1,300,000 บาท หากผู้ประกอบการมีรถบรรทุกหรือรถหัวลากอยู่หลายคัน ก็จะต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก ดังนั้นหากผู้ประกอบการทำการติดตั้งก็จะต้องตั้งเป้าในการคืนทุนโดยเร็ว ซึ่งหากไม่ได้คำนวณถึงอัตราการคืนทุนแล้วและปล่อยให้เนิ่นนานการติดตั้ง NGV จะไม่เพียงแต่เป็นการสร้างภาระของต้นทุนการขนส่งที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้เกิดการลดความความสามารถในการแข่งขันและเกิดหนี้สินขึ้นได้

ในบทความนี้ผู้เขียนจะขอยกตัวอย่าง อย่างง่ายในการคำนวณหาจุดคุ้มทุนของของการตัดสินใจติดตั้ง NGV โดยจะตัวอย่างของการติดตั้งเครื่องยนต์ NGV + Diesel  (ผู้เขียนไม่ได้นำอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ [หากจำเป็น] มาทำการคิดในตัวอย่างนี้) เป็นการขนส่งสินค้าในแต่ละเป็นการขนส่งเต็มเที่ยว อย่างไรก็ตามหากผู้ประกอบนำไปคำนวณก็สามารถทำได้โดยการลดทอนเป็น “ % “ หรือ โอกาสในการขนส่งสินค้าไม่เต็มเที่ยวเพื่อเป็นการประมาณในการหา Safe-Side หรือ คิดในกรณีของ “In Worst Case”  ในการคำนวณจะต้องนำค่าใช้จ่ายในการติดตั้งซึ่งถือว่า เป็น Fix Cost และมาหักออกด้วย รายได้กับผลกำไร ซึ่งต้องรวมค่าใช้จ่ายในบริษัทต่อรถบรรทุกหนึ่งคันด้วย ซึ่งในการคำนวณนี้ผู้ประกอบการสามารถคิดออกมาในรูปแบบของ กิโลเมตร ได้คือ หากรถบรรทุกที่ติด NGV แล้ว วิ่งไปทั้งหมด กี่ กิโลเมตร แล้วทุนคืน ดังแสดงในแผนภาพที่ 3

แผนภาพที่ 3 ตัวอย่างการหาจุดคุ้มทุนของการติดตั้งเครื่องยนต์ NGV

3 สรุป

ในการตัดสินใจติดตั้งเครื่องยนต์ NGV ผู้ประกอบการควรมีการตัดสินใจละเอียดถ้วน เนื่องจากการลงทุนติดตั้งเครื่องยนต์ NGV จะต้องใช้งบประมาณที่ค่อนข้างสูงดังนั้นในการติดผู้ประกอบควรจะต้องมีหลักการในการพิจารณาพื้นฐาน ดังที่กล่าวมาคือ พิจารณาประเภทของเครื่องยนต์ การพิจารณาถึงจำนวนของสถานบริการ NGV และเส้นทางในการขนส่งสินค้า สุดท้ายคือการพิจารณาถึงผลตอบแทนการลงทุน ซึ่งการพิจารณาถึงองค์ประกอบพื้นฐานเหล่านี้จะทำให้ผู้ประกอบเห็นถึงความเป็นไปได้ในการติดตั้งในแง่ของผลตอบแทนการลงทุนรวมถึงการเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน

[1] การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย 2551 available at : [http://www.pttplc.com/TH/nc_oi.aspx?], มิถุนายน  2551

--------------------------------

สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง

สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง

CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล

 --------------------------------

ที่มา

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551

โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward