iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ

CT51 ปัจจัยในการผลักดันให้เศรษฐกิจเติบโตในยุคโลกาภิวัฒน์

ลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2551 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

ผู้เขียน ดร.นันทิ สุทธิการนฤนัย

 

บทคัดย่อ: บทความนี้นำเสนอการศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างถาวร โดยผู้เขียนได้ทำการศึกษาถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจากบทความและงานวิจัย รวมถึงแนวคิดด้านเศรษฐศาสตร์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่สำคัญ และรวบรวมข้อมูลจากประเทศต่าง ๆ จำนวน 53 ประเทศทั่วโลกในปี 2005 – 2006 และนำมาสร้างโมเดลทางคณิตศาสตร์ด้วยวิธี Ordinary Least Square (OLS) Regression Analysis เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ซึ่งผลสรุปพบว่าการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศใด ๆ ขึ้นกับปัจจัยหลัก 3 ประการคือ ความมั่นคงและน่าเชื่อถือของตลาดเงินของประเทศนั้น ๆ ความรู้และความสามารถของประชากรวัยทำงานของประเทศนั้น ๆ และการเข้าถึงเทคโนโลยีในการสื่อสารข้อมูลและข่าวสาร

บทความนี้นำเสนอการศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างถาวร ซึ่งผู้เขียน (Thomas F. Siems และ Adam S. Ratner) ได้ทำการศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากประเทศต่าง ๆ จำนวน 52 ประเทศทั่วโลกในปี 2005 – 2006 ซึ่งผลสรุปในเบื้องต้นพบว่าการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศใด ๆ ขึ้นกับปัจจัยหลัก 3 ประการคือ

  • ความมั่นคงและน่าเชื่อถือของตลาดเงินของประเทศนั้น ๆ
  • ความรู้และความสามารถของประชากรวัยทำงานของประเทศนั้น ๆ
  • การเข้าถึงเทคโนโลยีในการสื่อสารข้อมูลและข่าวสาร

ในเบื้องต้น ผู้เขียนได้ศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ โดยการศึกษาจากแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์ต่าง ๆ ดังเช่น Adam Smith, David Ricardo และ Paul Romer เป็นต้น

Adam Smith เป็นนักเศรษฐศาสตร์ยุคแรก ๆ ที่ได้กล่าวถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่เป็นตัวผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศใด ๆ เจริญเติบโต โดยระบุไว้ในบทความเรื่อง “An Inquiry into the Nature and Causes of the Wealth of Nations” ในปี ค.ศ.1776 ซึ่งกล่าวไว้ว่า “สังคมใด ๆ ประกอบด้วยมนุษย์ที่มีความสนใจเฉพาะตน และความสนใจเฉพาะตนที่แตกต่างกันนี้ จะส่งผลให้เกิดระบบเศรษฐกิจที่เสรีและมั่นคง” สำหรับ Smith แล้วแนวคิดแบบตลาดเสรี (free market) เปรียบเสมือนกลไกของมือที่มองไม่เห็น (invisible hand) หรือพลังตลาดหรือกลไกตลาดที่ปล่อยให้ตลาดมีการแข่งขันกันอย่างเสรี ปราศจากการแทรกแซงโดยรัฐ จะทำให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไปได้ หรือสามารถกล่าวได้ว่า ตลาดเสรีเป็นกลไกที่สามารถควบคุมตนเองได้ตามหลักเศรษฐศาสตร์ นอกจากนั้น Smith ยัง ให้ความสนใจกับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นอันมากในส่วนของการค้าระหว่างประเทศ เขาเปรียบการผลิตของแต่ละประเทศเหมือนกับการผลิตของโรงงานการที่แต่ละประเทศผลิตสินค้าทั้งที่มีความเชี่ยวชาญและไม่มีความเชี่ยวชาญ จะทำให้ผลผลิตรวมของโลกน้อยกว่ากรณีที่แตะละประเทศผลิตสินค้าเฉพาะชนิดที่มีความเชี่ยวชาญเพียงชนิดเดียว โดยการที่แต่ละประเทศจะสามารถสร้างความเชี่ยวชาญในการผลิตสินค้าบางชนิดขึ้นมาได้นั้น จะต้องมีการแบ่งงานกันทำในระดับระหว่างประเทศ (International division of labor) และเมื่อประเทศหนึ่งมีความเชี่ยวชาญในการผลิตสินค้าชนิดในชนิดหนึ่ง ประเทศนั้นก็จะมีความได้เปรียบในการผลิตสินค้าชนิดนั้นต่อประเทศอื่น ซึ่งความได้เปรียบตามมุมมอง ของ อดัม สมิธ เรียกว่า "หลักของความได้เปรียบโดยสมบูรณ์" กล่าวคือ  "ถ้าประเทศใดสามารถผลิตสินค้าชนิดหนึ่งได้เท่ากับประเทศอื่น โดยใช้จำนวนชั่วโมงแรงงานน้อยกว่าประเทศอื่น ถือว่า ประเทศนั้นมีความได้เปรียบโดยสมบูรณ์ (absolute advantage) ในการผลิตสินค้าชนิดนั้นต่อประเทศอื่นๆ ซึ่งภายใต้หลักของความได้เปรียบโดยสมบูรณ์นี้ อดัม สมิธ เสนอว่า ถ้าประเทศใดมีความได้เปรียบโดยสมบูรณ์เกิดขึ้นในสินค้าชนิดใดแล้ว ให้ผลิตเฉพาะสินค้าที่มีความได้เปรียบโดยสมบูรณ์นั้นเพื่อการส่งออก และให้นำเข้าสินค้าชนิดที่ไม่มีความได้เปรียบโดยสมบูรณ์มาตอบสนองความต้องการในประเทศ"

ในปี ค.ศ.1817 David Ricardo หนึ่งในนักเศรษฐศาสตร์แนวคลาสิค ได้เสนอแนวคิดว่า การได้เปรียบโดยสมบูรณ์ไม่ใช่เงื่อนไขที่จำเป็นต่อการได้รับประโยชน์จากการค้าระหว่างประเทศเสมอไป ถ้าการผลิตสินค้าบางชนิดมีต้นทุนที่แท้จริงโดยเปรียบเทียบต่ำกว่าหรือสูงกว่าสินค้าชนิดอื่นๆ ที่ผลิตในประเทศ ประเทศนั้น สามารถหาประโยชน์จากการค้าได้จากการเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตระหว่างสินค้า 2 ชนิด (ในรูปของสัดส่วนระหว่างต้นทุนที่แท้จริงซึ่งพิจารณาจากชั่วโมงที่แรงงานต้นใช้ในการผลิต) ได้ กรณีที่ประเทศใดประเทศหนึ่ง มีความได้เปรียบโดยสมบูรณ์ในการผลิตสินค้าทั้งสองชนิด ประเทศนั้นต้องพิจารณาว่ามีความได้เปรียบโดยสมบูรณ์ในสินค้าชนิดใดมากที่สุด (Great absolute advantage) ส่วนประเทศที่เสียเปรียบโดยสมบูรณ์ในการผลิตสินค้าทั้งสองชนิด ให้พิจารณาว่ามีความเสียเปรียบโดยสมบูรณ์ในสินค้าใดน้อยที่สุด (least absolute disadvantage) โดยให้ประเทศที่มีความได้เปรียบโดยสมบูรณ์มากที่สุด และนำเข้าสินค้าชนิดที่มีความได้เปรียบโดยสมบูรณ์น้อยกว่า ส่วนประเทศที่มีความเสียเปรียบโดยสมบูรณ์ทั้งสองชนิด ให้ส่งออกสินค้าชนิดที่มีความเสียเปรียบน้อยที่สุดและนำเข้าสินค้าชนิดที่มีความเสียเปรียบโดยสมบูรณ์มาก ซึ่งการทำการค้าตามหลักการเปรียบเทียบความได้เปรียบเสียเปรียบดังกล่าวนี้ เรียกว่า ''หลักของความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ”

นอกจากนั้นผู้เขียนยังได้ศึกษาแนวคิดจากบทความเรื่อง “Comparative Advantage in th 21st Century: Information Technology and the Professional Network” ที่ได้ตีพิมพ์และบรรยายใน the 2006 NABE Annual Meeting and Edmund A. Mennis Contributed Paper Competition ซึ่งกล่าวไว้ว่าการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจเกิดจากปัจจัยด้านความคิด (idea) การศึกษา (education) เทคโนโลยี (technology) การเงิน (finance) และนโยบายของรัฐทางด้านการค้าขายอย่างเสรี ซึ่งจากแนวคิดเหล่านี้เองผู้เขียนได้สร้างโมเดลทางคณิตศาสตร์ขึ้นมาเพื่อทดสอบว่าปัจจัยอะไรบ้างเป็นส่วนผลักดันให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ แสดงดังรูปที่ 1

รูปที่ 1 โมเดลแสดงถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

นอกจากนั้น ผู้เขียนยังพยายามค้นคว้าหางานวิจัยต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นเหตุผลในการสนับสนุนว่าปัจจัยดังกล่าวข้างต้นจะช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างไร ซึ่งผู้เขียนได้สรุปไว้เป็นประเด็นดังต่อไปนี้

  • ความคิด (Idea)

Paul Romer (1990) ได้ใช้โมเดลทางคณิตศาสตร์ในการหาว่าอะไรคือปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจเติบโต ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากโมเดลทางคณิตศาสตร์นั้นคือ ปัจจัยในการผลิต (Factors of Production) ซึ่งได้แก่ ที่ดิน แรงงาน และเงินทุน เป็นปัจจัยหลักในการผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ในงานวิจัยของ Paul Romer ยังปรากฎด้วยว่า แนวคิด (idea) ความรู้ (Knowledge) และการพัฒนาของเทคโนโลยี (Technological Change) ก็จัดเป็นปัจจัยที่สำคัญด้วยเช่นกัน

  • นโยบาย (Policy)

ผู้เขียนได้บรรยายไว้ว่าการที่จะกระตุ้นให้คนมีความคิดสร้างสรรค์ (Good Idea) ได้นั้น จะต้องมีการส่งเสริมให้แนวความคิดนั้น ๆ ถูกเผยแพร่ไป และผู้คิดค้นจะต้องได้รับผลตอบแทนในระดับหนึ่ง ดังนั้น ความคิดใหม่ ๆ หรือสิ่งประดิษฐ์คิดค้นใหม่ ๆ จึงควรได้รับการปกป้องสิทธิและผลงานในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

  • การลงทุน (Investment)

ความคิดที่ดี ต้องมีการสนับสนุนให้เกิดเป็นรูปธรรมได้ โดยการใช้เงินทุน (Capital) เป็นปัจจัยสนับสนุนหลัก ซึ่ง Rousseau and Sylla (2001) ได้ทำวิจัยในปี 1850 – 1997 โดยการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการเงิน (Financial Factor) และอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ จำนวน 17 ประเทศ พบว่า ประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจที่ซับซ้อนมีแนวโน้มที่จะมีการเปิดการค้ากับต่างประเทศมากกว่าประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ไม่ซับซ้อน หรือกล่าวอีกทางหนึ่งว่า เศรษฐกิจของประเทศใด ๆ ที่เติบโตและสามารถแข่งขันได้ในระบบโลกาภิวัฒน์ จะมีระบบเศรษฐกิจที่ทันสมัย

  • การศึกษา (Education)

การที่คนจะมีความคิด (idea) ที่ดีได้นั้น จะต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้ มีการศึกษา และประสบการณ์ในสิ่งที่ตนเองทำ ซึ่ง Cox และ Alm (2005) ได้แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนปีในโรงเรียนของประชากรกับ GPD ของประเทศต่าง ๆ พบว่ามีความสัมพันธ์แบบแปรผันตามกัน ในขณะที่ Black และ Lynch (2001) ได้แสดงให้เห็นว่าการเพิ่มการศึกษาให้แก่แรงงานเพียง 1 ปี จะทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานได้อีก 8 – 13%

  • เทคโนโลยี (Technology)

หลังปี 1990 จะพบว่าบริษัทส่วนใหญ่จะลงทุนด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ รวมถึงเทคโนโลยีการสื่อสาร และสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพจะมีความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness) มากกว่าบริษัทอื่น ๆ

ซึ่งผู้เขียนได้ใช้มาตรวัดดังแสดงในตารางที่ 1 แทนปัจจัยต่าง ๆ ในโมเดลการคำนวณ ซึ่งข้อมูลสำหรับมาตรวัดดังกล่าวได้มาจาก Institute of Management Development (IMD) ที่เก็บรวมรวมความสามารถในการแข่งขัน 4 ด้าน ได้แก่ economic performance, government efficiency, business efficiency และ infrastructure ของ 53 ประเทศทั่วโลก

ตารางที่ 1 มาตรวัดที่ใช้แทนปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

 

Factor

 

Encourage

 

Measurement

People

Education

Skilled Workforce

Ideas & Things

Innovations & Technology

Computers / 1000 People

Investment

Central Bank Policy,

Stock Markets and Overall Capital Liquidity

Investment Climate

วิธีการคำนวณของโมเดลดังรูปที่ 1 นั้นผู้เขียนได้ใช้วิธี Ordinary Least Square (OLS) Regression Analysis และทดสอบระดับความสำคัญหรือนัยสำคัญของตัวแปรและโมเดลต่าง ๆ ตารางที่ 2 แสดงถึงความสัมพันธ์ (Correlation) ของตัวแปรต่าง ๆ ที่ใช้ในโมเดล ตารางที่ 3 แสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระและตัวแปรตามที่ใช้ในโมเดลแต่ละโมเดล รูปที่ 2-4 แสดงผลลัพธ์ของการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของ Model I, II และ III และตารางที่ 4 แสดงถึงผลลัพท์ของการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของ Model I - V

ตารางที่ 2 ความสัมพันธ์ (Correlation) ของตัวแปรต่าง ๆ ที่ใช้ในโมเดล

ที่มา: Strengthening Globalization’s Invisible Hand: What Matters Most? By Thomas Seims

ตารางที่ 3 ความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระและตัวแปรตามที่ใช้ในโมเดลแต่ละโมเดล

Model

ตัวแปรตาม (Dependent Variable)

ตัวแปรอิสระ (Independent Variable)

I

GDP/Capita (PPP)

Investment Climate

II

GDP/Capita (PPP)

Computers per 1000 people

III

GDP/Capita (PPP)

Skilled Workforced

IV

GDP/Capita (PPP)

Investment Climate / Computers per 1000 people

V

GDP/Capita (PPP)

Investment Climate / Computers per 1000 people / Skilled Workforced


ที่มา: Strengthening Globalization’s Invisible Hand: What Matters Most? By Thomas Seims

รูปที่ 2 ผลลัพท์จาก Model ที่ I (GDP/Capita (PPP) & Investment Climate)

ที่มา: Strengthening Globalization’s Invisible Hand: What Matters Most? By Thomas Seims

รูปที่ 3 ผลลัพท์จาก Model ที่ II (GDP/Capita (PPP) & Computers per 1000 people)

ที่มา: Strengthening Globalization’s Invisible Hand: What Matters Most? By Thomas Seims

รูปที่ 4 ผลลัพท์จาก Model ที่ III (GDP/Capita (PPP) & Skilled Workforced)

ตารางที่ 4 ผลลัพท์ของการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของ Model I - V

ที่มา: Strengthening Globalization’s Invisible Hand: What Matters Most? By Thomas Seims

จากผลลัพท์ในรูปที่ 2-4 จะเห็นว่าประเทศ 52 ประเทศจะถูกแบ่งกลุ่มเป็น 4 กลุ่มประเทศหลัก ได้แก่ กลุ่มประเทศลาตินอเมริกา กลุ่มประเทศยุโรปตะวันตก สหรัฐอเมริกา แคนาดา นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย กลุ่มประเทศเอเซีย แอฟริกาใต้ และตะวันออกกลาง และกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก ซึ่งผลการคำนวณและความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ แยกตามกลุ่มประเทศต่าง ๆ ข้างต้นนั้นแสดงได้ดังตารางที่ 5 หรือในโมเดลที่ 9 – 12

ตารางที่ 5 ผลลัพท์ของการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ตามกลุ่มประเทศ หรือ Model 9-12

ที่มา: Strengthening Globalization’s Invisible Hand: What Matters Most? By Thomas Seims

ผลการคำนวณและการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของโมเดล 4 และ 5 มีค่าสัมประสิทธิของความสัมพันธ์สูงที่สุด แสดงว่า การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจจะเกิดจากบรรยากาศที่น่าลงทุนของประเทศต่าง ๆ ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี และทักษะความสามารถของประชากร ซึ่งคนโดยส่วนใหญ่มักสงสัยว่าบรรยากาศแบบใดที่จัดว่าเป็นบรรยากาศที่น่าลงทุน ผู้เขียนได้ใช้ปัจจัยเรื่อง กฎหมายข้อบังคับ (Rule of Law) และการปกป้องสิทธิ (Legal Protection) เป็นมาตรวัดถึงบรรยากาศที่น่าลงทุนดังกล่าว โดยสร้างสมการหรือโมเดลขึ้นมาพิสูจน์ความสัมพันธ์อีก 3 โมเดล ซึ่งผลลัพท์ของการคำนวณและความสัมพันธ์ของปัจจัยดังกล่าวแสดงดังตารางที่ 6 และรูปที่ 5 – 6

ตารางที่ 6 โมเดลและความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายข้อบังคับและการปกป้องสิทธิกับบรรยากาศการลงทุน

ที่มา: Strengthening Globalization’s Invisible Hand: What Matters Most? By Thomas Seims

ที่มา: Strengthening Globalization’s Invisible Hand: What Matters Most? By Thomas Seims

รูปที่ 5 ความสัมพันธ์ระหว่างกฏหมายข้อบังคับกับบรรยากาศในการลงทุน

ที่มา: Strengthening Globalization’s Invisible Hand: What Matters Most? By Thomas Seims

รูปที่ 6 ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการปกป้องสิทธิกับบรรยากาศในการลงทุน

ผลลัพท์ของโมเดลที่ 6 – 8 เป็นไปในทิศทางเดียวกับการศึกษาของ Roll และ Talbott (2001) ที่กล่าวไว้ว่า ประเทศใด ๆ จะพัฒนาได้เร็วจะต้องมีการปกป้องสิทธิอย่างเข้มงวด มีระบบตุลาการที่เข้มแข็ง มีระบบการต้านคอรัปชั่นที่ดีและมีการเปิดเสรีด้านสื่อสารมวลชน

กล่าวโดยสรุปจากการคำนวณด้วยโมเดลทั้งหมด 8 โมเดล จะกล่าวได้ว่าเศรษฐกิจของประเทศใด ๆ จะเจริญเติบโตได้ต้องเกิดจากการรวมกันของความคิดที่สร้างสรรค แรงงานที่เข้มแข็งและมีทักษะที่ดี และปัจจัยอื่น ๆ ที่รวมตัวกันในสัดส่วนที่เหมาะสมในสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมที่เหมาะสม

--------------------------------

สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง

สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง

CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล

 --------------------------------

ที่มา

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551

โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward