CT51 วิธีการจัดซื้อที่เป็นเลิศ กุญแจสู่ความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูป กรณีศึกษา โรงงงานพิซซ่าสำเร็จรูป นอร์เทินร์ฟู๊ด ประเทศอังกฤษ (Procurement Best Practice in the Food Industry: Frozen Pizza Company, Northern Food, UK)
ลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2551 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
ผู้เขียน ดร. พงษ์ธนา วณิชย์กอบจินดา
บทนำ (Introduction)
กลยุทธ์ของการสร้างความสามารถและเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดซื้อหาในลักษณะของ Sourcing & Supplier Cluster Development เป็นเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการสร้างความสามารถในการแข่งขันทางด้านราคาให้กับอุตสาหกรรมการผลิตต่าง โดยเฉพาะอย่างในอุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ของประเทศญี่ปุ่นที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว
ในบทความนี้จะบรรยายแนวทางปฏิบัติที่โรงงานผลิตพิซซ่า Northern Foods Plc ซึ่งเป็นผู้ผลิตอาหารแช่แข็งทั้งในรูปแบบ Banded และ Own-Label และส่งขายทั้งในสหราชอนาจักร และ ไอแลนด์ (UK & Ireland) ได้นำหลักการ Sourcing & Supplier Cluster Development ของอุตสาหกรรมประกอบรถยนต์มาประยุทต์ใช้เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน
ความสำคัญ และที่มาของปัญหาของ Northern Foods Plc
Northern Foods Plc เป็นหนึ่งในผู้นำด้านอุตสาหกรรมอาหารใน สหราชอนาจักร (UK) ซึ่งมีผลิตภัณฑ์หลังคืออาหารแช่แข็งสำเร็จรูปสำหรับการบริโภคในชีวิตประจำวัน เช่น Pizza และ Pastry เป็นต้น โดยมีตลาดหลักอยู่ใน UK & Ireland และผลิตทั้งในรูปแบบ Banded และ Own-Label
ในระยะเวลาสิบให้หลังอัตราความต้องการของประชาชนใน UK & Ireland ที่มีความต้องการในการบริโภคอาหารแช่แข่งสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นสูง ส่งผลให้ Northern Foods Plc ต้องเผชิญกับสภาวะมีคู่แข่งขันเพิ่มมากขึ้น จากการแข่งขันดังกล่าว Northern Foods Plc จึงได้มีการวิเคราะห์ถึงปัญหาที่เกิดและหาแนวทางในการแก้ไขเพื่อรักษาความเป็นผู้นำในตลาดของอาหารแช่แข็งสำเร็จรูป ซึ่งจากการวิเคราะห์ดังพบว่ามีสิ่งที่ Northern Foods Plc จะต้องเผชิญ 3 ประเด็นดังนี้
- ความเจริญเติบโตของการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็งสำเร็จรูปอย่างรวดเร็ว รวมถึงความต้องการที่หลากหลาย
- ผู้ประกอบการร้านค้าปลีกขนาดใหญ่เช่น Sainsbury, Tesco, ASDA, และ Mark & Spencer ต่างจ้างให้ผลิตสินค้าเป็น Brand ตนเอง
- การใช้กลยุทธ์ทางด้านราคาของผู้ค้าปลีกขนาดใหญ่เช่น ”Every Day Low Price” โดยเฉพาะ Sainsbury, Tesco และ ASDA ซึ่งจะส่งผลมาถึงการกดราคากับโรงงานผู้ผลิตสินค้า
จากการวิเคราะห์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ทั้งความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มขึ้นและหลายรวมถึงผู้ค้าปลีกขนาดใหญ่ยังต้องการรูปแบบผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็งสำเร็จรูปที่หลากหลายที่สร้างความแตกต่างและทางเลือกให้กับลูกค้าเพิ่มเพิ่มความสามารถในการแข่งขันระหว่างผู้ค้าปลีกเองได้ส่งผลให้ Northern Food Plc จะต้องมีความยากลำบากในการผลิตมากขึ้น โดยเฉพาะการสั่งซื้อและการจัดเก็บวัตถุดิบ โดยเฉพาะวัตถุอาหารซึ่งเป็นของเน่าเสียง่ายไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน ทำให้ไม่สามารถผลิตแบบ Mass Production ได้ดังในอดีต ซึ่งทำให้ต้องปรับกลยุทธ์มาใช้ระบบการผลิตแบบ Mass Customization และวางแผนการประสานในรูปของ Supply Chain ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง Northern Foods Plc ได้มองถึงหลักการสำคัญ 5 ประการดังนี้
- ความรวดเร็ว (Velocity)
- ความยืดหยุ่น (Flexibility)
- คุณภาพ (Quality)
- ต้นทุน (Cost)
- บริการ (Service)
Northern Foods Plc ได้พิจารณาเชิงลึกพบว่าอายุในการเก็บรักษาอาหารไม่ใช้ปัญหา แต่สิ่งที่สำคัญคือ ความต้องการสินค้าที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและปริมาณการสั่งซื้อที่ไม่แน่นอน เช่น ในการขาย Pizza สำเร็จรูปแช่แข็งเข้าไปใน Sainsbury, Tesco หรือ ASDA ไม่จำเป็นต้องขายเท่ากันทุกวัน และความต้องการของหน้าและรสชาติ Pizza ก็ไม่เหมือนกันทุกวันเช่นกัน ซึ่งประเด็นนี้ทำให้ Northern Foods Plc ต้องพิจารณาในการลดสินค้าคงคลังและเพิ่มการใช้ประโยชน์ทรัพยากรวัตถุดิบให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Minimise Inventory and Maximise Capacity Utilisation) จะนำมาซึ่งความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและด้วยราคาที่ถูก นั้นก็คือการจัดการวางกลยุทธ์การวางแผนการจัดซื้อทที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงความสามารถในตอบสนองใน Supply Chain อีกด้วย และเพิ่มประสิทธิภาพในด้านของ คุณภาพ ต้นทุน และการบริการ เป็นส่วนในการสร้างความแตกต่าง และตอบสนองความต้องการของลูกค้าเช่นกัน
กลยุทธ์การจัดซื้อวัตถุดิบของ Northern Food
จากการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของพฤติกรรมการบริโภคอาหารแช่แข็งสำเร็จรูป (Convenience Frozen Foods) Northern Foods Plc พบว่าปัญหาหลัก (ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น) ก็คือการมี ต้นทุนสินค้าคงคลังที่สูง มีไว้เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ส่งผลในเรื่องของพื้นที่ใช้สอยในโรงงานแทนที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการผลิตแต่กลับต้องนำมาเก็บสินค้า ปัญหาสินค้าและวัตถุดิบเสียหาย ทำให้เกิด Inbound Logistics ที่ขาดประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านต้นทุนโดยรวม และสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน ดังนั้น Northern จึงได้วางกลยุทธ์ในการแก้ไขปัญหาและตัวชี้วัดของระบบจัดซื้อ (ดังแสดงในตารางที่ 1) ดังนี้
- ใช้ระบบ Local Sourcing ใดก็สร้างที่สามารถตอบสนองความต้องการของ Northern Foods Plc
- สร้างความสัมพันธ์ระยะยาว
- สร้างระบบ Information Sharing & Technical Expertise
- ลดจำนวน Supplier ของวัตถุดิบหลักลง
ตารางที่ 1 KPIs ของการจัดซื้อ
ซึ่งกลยุทธ์ดังกล่าว Northern Foods Plc จึงมีการปรับปรุงประสิทธิภาพของ Inbound Logistics, inventory, manufacturing efficiency, และต้นทุนของวัตถุดิบ Northern Foods Plc ยังได้ใช้กลยุทธ์ในการ Collaboration กับ Supplier โดยทำความร่วมมือทั้งในด้าน การถ่ายทอด Technology, พัฒนาบุคลลากรให้มีความสามารถ, พัฒนาระบบ IT และให้การวางแผนทางการเงินอีกด้วย ในระบบการจัดการ Supplier นั้น Northern Foods Plc ยังได้วางแผนให้ Lead Supplier ทำหน้าที่บริหาร Secondary Supplier ด้วยตนเอง และมีระบบที่ Northern Foods Plc สามารถสอบกลับได้ (Traceability or Product Status Track) รวมถึง ระบบควบคุมคุณภาพ (Quality Control) ระบบการจัดการคุณภาพ (Quality Management) และ ระบบประกันคุณภาพ (Quality Assurance) ที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ เช่น ISO, HACCP หรือแม้กระทั้ง ฮาลาล
จากนโยบายหลักที่ต้องการปรับปรุงกระบวนการจัดซื้อเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน Northern Foods Plc ได้มอบหมายให้โรงงาน Green Isle ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ Northern Food Plc ไปลองปฏิบัติเป็น Pilot Project ซึ่ง Green Isle ได้นำไปทดลองกับการจัดซื้อเนยแข็ง และบรรจุภัณฑ์ ผลที่ได้รับโดยเปรียบเทียบแบบ Before & After ได้แสดง ดังตารางที่ 2 และ 3
ตารางที่ 2 การเปรียบประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นของการวางแผนระบบการจัดซื้อแนวใหม่ กรณีศึกษา เนยแข็ง
ตารางที่ 3 การเปรียบประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นของการวางแผนระบบการจัดซื้อแนวใหม่ กรณีศึกษา บรรจุภัณฑ์
สรุป
ในการที่จะต้องเผชิญกับการแข่งขันเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูปแช่แข็งเช่น Pizza ที่ผู้บริโภคมีความต้องการในการบริโภคที่แปรปรวนขึ้นอยู่ตามเทศกาล สภาพแวดล้อม หรือความต้องการส่วนบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รสชาติ Pizza ที่จะเป็นหน้า Pepperoni, Meat Lover, Seafood, Hawaiian ที่ผู้บริโภคมีต้องการในแต่ละวันที่ไม่เหมือนกัน ประกอบกับอาหารเป็นสินค้าที่มีการหมดอายุ ดังนั้นจึงไม่ควรจะมีการเก็บไว้เป็นเวลานาน ซึ่งหากพิจารณาต่อไปยังผู้ผลิตก็เป็นเรื่องที่ยากลำบากในการบริหารจัดการเช่นกัน โดยเฉพาะในการจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบ และการจัดการสินค้าคงคลังที่มีส่วนสำคัญทำให้ต้นทุนการผลิตโดยรวมสูงขึ้น และจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ให้ความสามารถในการแข่งขันลดลง
ดังนั้นการวางแผนเพื่อลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จะต้องพิจารณาในการลดสินค้าคงคลังและเพิ่มการใช้ประโยชน์ทรัพยากรวัตถุดิบให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Minimise Inventory and Maximise Capacity Utilisation) จะนำมาซึ่งความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและด้วยราคาที่ถูก และพัฒนาไปสู่การผลิตแบบ Mass Customisation Manufacturing ในอุตสาหกรรมอาหาร
เอกสารอ้างอิง
Gimenez, C. and Ventura, E. (2003), “Supply chain management as a competitive advantage in the Spanish grocery sector”, The International Journal of Logistics Management, Vol. 14 No. 1, pp. 77-88.
Gimenez, C., 2006, Logistics Integration Process in the Food Industry, International Journal of Physical Distribution & Logistics Management, Vol. 36, No. 3, pp. 231 – 249.
Kraljic, P. (1983), “Purchasing must become supply management”, Harvard Business Review, Vol. 61, pp. 109-17.
Masella, C. and Rangone, A. (2000), “A contingent approach to the design of vendor selection systems for different types of cooperative customer/supplier”, International Journal of Operations & Production Management, Vol. 20 No. 1, pp. 70-84.
Ryder, R. and Frearne, A., 2003, “Insight from Industry, Procurement Best Practice in Food Industry: Supplier Clustering as a Source of Strategic Competitive Advantage, Supply Chain Management: An International Journal, Vol. 8 No. 1, pp. 12-16.
Northern Foods Plc available at website [http://www.northernfoods.com/annualreport0708/business/performance.html#a]
--------------------------------
สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง
สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง
CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล
--------------------------------
ที่มา
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่