iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป

CT51 Supply Chain ต้นน้ำยางพาราในประเทศไทย

ลิขสิทธิ์ สำนักโลจิสติกส์

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วันชัย รัตนวงษ์

บทนำ

กระบวนการจากต้นน้ำ (Upstream) ของการผลิตยางพารา และเกษตรกรควรเตรียมตัวอย่างไรกับการแข่งขันอุตสาหกรรมยางในอนาคต ระบบ Logistics จะเข้ามามีบทบาทในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้หรือไม่ กระบวนการจากต้นน้ำ (Upstream) ของการผลิตยางพารา ปกติมี 5 ขั้นตอนหลักที่สำคัญ ดังนี้     

1. กระบวนการปลูกยางพารา 

2. การกรีดยาง 

3. การเก็บยาง 

4. การรักษาสภาพน้ำยาง

5. การหาปริมาณเนื้อยางแห้ง

ทุกขั้นตอนในกระบวนการต้นน้ำถือเป็นสิ่งที่สำคัญเพราะจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการผลิตยางแผ่น หรือยางแผ่นรมควัน

คำสำคัญ  ห่วงโซ่อุปทาน, ยางพารา

  1. กระบวนการปลูกยางพารา เริ่มตั้งแต่การเตรียมพื้นที่ปลูกยาง สภาพพื้นที่เดิมที่จะใช้สำหรับปลูกในแต่ละท้องที่แต่ละแห่งจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ในการเตรียมพื้นที่สำหรับปลูกจึงสามารถทำได้หลายวิธี ในกรณีที่เป็นสวนยางเก่าหรือมีไม้อื่นขึ้นอยู่ จะต้องโค่นล้มไม้เหล่านี้ออกเสียก่อนโดยตัดให้เหลือตอสูงจากพื้นดินประมาณ 50-60 เซนติเมตร จากนั้นจะต้องทำการฆ่าตอโดยใช้ยาฆ่าตอจะทำให้ตอตายและผุสลายเร็วขึ้น หรืออาจใช้รถแทรกเตอร์ไถต้นไม้ทั้งหมด วิธีนี้จะถอนรากถอนโคนออกได้หมด แต่มีข้อเสียบางประการคือการสูญเสียหน้าดินมาก หลังจากโค่นยางเก่าหรือต้นไม้อื่นลงหมดแล้ว ต้องเก็บไม้ใหญ่ออก จากนั้นเก็บเศษไม้ต่างๆ รวมกันไว้เป็นกองเรียงเป็นแนวตามพื้นที่ เพื่อเป็นแนวกันไฟ แต่ถ้าในกรณีที่เป็นพื้นที่ที่มีความลาดเทมาก เช่น ตามเขาหรือเนินจะต้องทำขั้นบันไดหรือต้านดินเพื่อสกัดกั้นไม่ให้น้ำฝนชะล้างเอาดินไหลตามน้ำไปหมด ขั้นบันไดอาจทำเฉพาะต้นหรือยาวเป็นแนวเดียวกัน การกำหนดระยะปลูกและการวางแนวปลูกจะต้องพิจารณาถึงสิ่งต่างๆ เช่น พันธุ์ยางที่ใช้ปลูก สภาพพื้นที่เป็นต้น สำหรับระยะปลูกในที่ราบ จากการทดลองค้นคว้าพบว่าต้นยางจะเจริญเติบโตได้ดีที่สุดต้องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 20 ตารางเมตรต่อ 1 ต้น สำหรับการแนะนำเจ้าของสวนในเรื่องระยะปลูกจึงต้องคำนึงถึงเรื่องพื้นที่ที่จะให้ต้นยางดังกล่าวเป็นหลัก ส่วนจะใช้ระยะเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับว่าจะปลูกพืชแซมระหว่างแถวยางหรือไม่ การใช้ระยะระหว่างแถวกว้าง วัชพืชจะมีพื้นที่ในการเจริญเติบโตมากเช่นเดียวกัน ถ้าใช้ระยะระหว่างแถวแคบเกินไปหรือมีระยะน้อยกว่า 2.5 เมตร ต้นยางจะเบียดเสียดกันแย่งธาตุอาหารกันและจะชะลูดขึ้นไป เจริญเติบโตทางด้านข้างน้อย ส่วนการขยายพันธุ์โดยวิธีการติดตาจะแบ่งออกเป็นการติดตาเขียว และการติดตาสีน้ำตาล แต่ส่วนใหญ่นิยมติดตาเขียวมากกว่า เพราะทำได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว มีเปอร์เซ็นต์การติดสูงมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการขยายพันธุ์วิธีดังกล่าวมีวิธีการดำเนินงาน 3 ขั้นตอนคือ การสร้างแปลงกล้ายาง การสร้างแปลงกิ่งตา และวิธีการติดตาเขียว
  2. การกรีดยาง การปฏิบัติเกี่ยวกับการกรีดยาง แบ่งตามช่วยระยะเวลาการกรีดและการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง จะแยกออกได้เป็น 4 ลักษณะคือ
  3. 1. การกรีดยางในระยะ 3 ปีแรก  
  4. 2. การกรีดยางหลังจาก 3 ปีไปแล้ว 
  5. 3. การกรีดเปลือกงอกใหม่  
  6. 4. การใช้สารเคมีเร่งน้ำยางกับเปลือกเดิมของยางบางพันธุ์

การกรีดยางในระยะ 3 ปีแรก สำหรับต้นติดตา ในระยะ 2-3 ปีแรกของการกรีดต้นยางยังอยู่ในระยะเจริญเติบโต การกรีดยางมากเกินไปจะทำให้ต้นยางชะงักการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตลดลง การกรีดยางในระยะนี้จึงควรพิจารณาใช้ระบบกรีดที่เหมาะสมดังนี้

- กรีดครึ่งต้นวันเว้นสองวัน ระบบนี้ใช้ได้กับยางทุกพันธุ์ที่เหมาะสม

- กรีดครึ่งต้นวันเว้นวัน ระบบนี้เหมาะสมกับยางทุกพันธุ์

- กรีดครึ่งต้นวันเว้นสองวันร่วมกับการใช้สารเคมีเร่งน้ำยางเข้มข้น 2.5 เปอร์เซ็นต์ ใช้กับยางพันธุ์ที่ให้ผลผลิตต่ำในระยะแรกของการกรีด เช่น พันธุ์ GT.1.,PR 107 และ Tier 1 โดยใช้สารเคมีทาใต้รอยกรีดที่ขุดเปลือกกว้าง 2.5 เซนติเมตร ใช้ปีละ 2-3 ครั้ง เมื่อผลผลิตเพิ่มสูงขึ้นพอสมควรก็หยุดการกรีดยางหลังจาก 3 ปีไปแล้ว สำหรับต้นติดตาในระยะนี้ต้นยางเจริญเติบโตดี ทนทานต่อการกรีดได้ดีกว่าระยะแรกระบบกรีดที่ใช้ควรเป็นดังนี้

- กรีดครึ่งต้นวันเว้นสองวัน เหมาะสำหรับยางบางพันธุ์ที่เป็นโรคเปลือกแห้งได้ง่าย

- กรีดครึ่งต้นวันเว้นวัน เหมาะสำหรับบางพันธุ์ และ กรีดชดเชยเฉพาะในท้องที่ที่มีวันกรีดน้อยกว่า 200 วัน เช่น จังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ ระนอง และนราธิวาส

- กรีดครึ่งต้นวันเว้นสองวันร่วมกับการใช้สารเคมี 2.5 เปอร์เซ็นต์ เหมาะสำหรับยางบางพันธุ์ที่ให้ผลผลิตต่ำและตอบสนองต่อสารเร่งได้ดี ควรใช้เพียงปีละ 2-3 ครั้ง

  1. การเก็บน้ำยาง เมื่อกรีดยางแล้ว น้ำยางจะไหลไปตามรอยที่ทำไว้ผ่านลิ้นรองน้ำยางและไหลลงถ้วยรองรับน้ำยางในที่สุดภายหลังจากกรีดยางไปแล้วประมาณ 3 ชั่วโมง ส่วนมากน้ำยางจะหยุดไหลจึงเริ่มเก็บน้ำยางได้ ซึ่งผู้เก็บน้ำยางโดยปกติจะเป็นคนเดียวกับคนกรีดยาง จะถือถังหูหิ้วหรือหาบปีบไปเก็บน้ำยาง เก็บน้ำยางในถ้วยแล้วเทลงไปในถังหรือปีบที่ถือ หลังเทน้ำยางจากถ้วยก็จะใช้ไม้ปาดน้ำยาง กวาดน้ำยางออกจากถ้วยให้หมด เพื่อไม่ให้ถ้วยสกปรก และป้องกันฝุ่นละอองตกลงไปในถ้วย น้ำยางที่เก็บได้จะถูกนำมารวบรวม แล้วลำเลียงส่งไปยังโรงงานทำยางแผ่นอีกต่อหนึ่ง สำหรับสวนขนาดใหญ่ แต่หากเป็นสวนขนาดเล็กก็จะหาบหรือหิ้วไปทำแผ่นที่บ้าน ปัจจุบันในบางท้องที่จะมีพ่อค้ามารับซื้อน้ำยางสดเลย ในกรณีที่เจ้าของสวนไม่ประสงค์จะทำยางแผ่นเองก็จะสามารถขายเป็นน้ำยางไปได้ โดยพ่อค้าดังกล่าวจะมีรถบรรทุกประกอบขึ้นเป็นถังสำหรับใส่น้ำยางออกไปรับซื้อถึงสวน ขั้นตอนการซื้อขายจะคิดจากน้ำหนักของน้ำยางสดทั้งหมด และหาความเข้มข้นของน้ำยางโดยจะมีเครื่องมือวัด แล้วหาค่าเฉลี่ยเป็นน้ำหนักยางแห้งตีราคาออกมาเป็นกิโลกรัม ซื้อขายในราคาเท่ากับราคายางชั้นสองของตลาดในแต่ละวัน  น้ำยางสดจากต้นยางพารามีลักษณะเป็นของเหลวสีขาวหรือสีครีมโดยมีอนุภาคยางแขวนลอยอยู่ในตัวกลางที่เป็นน้ำ อนุภาคยางมีรูปร่างกลมขนาด 0.05 – 5 ไมครอน  ความหนาแน่น 0.975 – 0.980 กรัมต่อมิลลิลิตร มีความเป็นกรด – ด่างประมาณ 6.5 – 7.0 โดยทั่วไปปริมาณเนื้อยางในน้ำยางธรรมชาติอาจแปรปรวนตั้งแต่ 25 – 45% แต่โดยเฉลี่ยมีส่วนประกอบดังนี้

ส่วนประกอบ

เฉลี่ยร้อยละ(โดยน้ำหนัก)

สารที่เป็นของแข็งทั้งหมด

36

เนื้อยางแห้ง

33

สารกลุ่มโปรตีนและไขมัน

1-1.2

สารกลุ่มคาร์โบไฮเดรท

1

เถ้า

1

น้ำ

64

ผิวของอนุภาคยางมีเยื่อหุ้ม (Membrane) ที่ประกอบด้วยไขมันและโปรตีน โดยแต่ละอนุภาคมีอนุมูลลบของโปรตีนอยู่รอบนอก ทำให้เกิดแรงผลักระหว่างอนุภาคยาง ซึ่งมีผลให้น้ำยางสามารถคงสภาพเป็นของเหลวได้  ดังนั้น เมื่อมีการทำลายเยื้อหุ้มอนุภาคหรือมีการสะเทินนอนุมูลลบ จะทำให้อนุภาคยางที่แขวนลอยอยู่ในตัวกลางเกิดการรวมตัวจับกันเป็นก้อน

  1. การรักษาสภาพน้ำยาง เมื่อได้น้ำยางสดจากต้นยาง หากไม่มีการรักษาสภาพน้ำยาง จุลินทรีย์ในอากาศจะปะปนในน้ำยางและใช้สารกลุ่มน้ำตาลเป็นอาหารทำให้เกิดความเป็นกรด นั่นคืออนุมูลบวกเกิดขึ้นและเกิดปฏิกิริยาสะเทินกับอนุมูลลบรอบผิวอนุภาคยาง ทำให้น้ำยางเสียสภาพก่อนจะนำไปแปรรูป ดังนั้นจึงต้องมีการรักษาสภาพน้ำยางโดยการเติมสารเคมี เช่น

                   สารละลายแอมโมเนีย                       ร้อยละ 0.05 ต่อน้ำหนักน้ำยาง

                   สารละลายโซเดียมซัลไฟท์                  ร้อยละ 0.02 – 0.05 ต่อน้ำหนักน้ำยาง

อุตสาหกรรมการแปรรูปน้ำยางสดเพื่อผลิตเป็นวัตถุดิบของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางสามารถแยกได้เป็น 2 ประเภท คือ การผลิตน้ำยางข้นและการผลิตยางแห้ง น้ำยางสดจากสวนมีปริมาณเนื้อยางเฉลี่ยประมาณร้อยละ 33 ทำให้การขนส่งและการซื้อขายไม่สะดวกนอกจากนั้นยังไม่เหมาะสมที่จะนำไปเข้ากระบวนการผลิตเพื่อทำผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพสม่ำเสมอได้  ดังนั้นจึงต้องทำให้อยู่ในรูปของน้ำยางข้นที่มีเนื้อยางอย่างน้อยร้อยละ  60

  1. การหาปริมาณเนื้อยางแห้ง การหาปริมาณเนื้อยางแห้งมีอยู่หลายวิธี แต่ละวิธีได้มีการประยุกต์ใช้เพื่อความเหมาะสมของกับสภาพของงานแต่ละงานให้รวดเร็ว ง่าย และประหยัด ค่าใช้จ่ายแต่ละวิธีอาจนำมาใช้กับจุดรวมน้ำยาง เพื่อที่จะจ่ายเงินให้กับผู้กรีดหรือผู้ขายในทันที ส่วนความแม่นยำและถูกต้องขึ้นกับวิธีการวัดของแต่ละแบบที่จะประยุกต์ใช้ ในที่นี้กล่าวถึงเฉพาะวิธีที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันมี 2 วิธี คือ

1) การหาปริมาณเนื้อยางแห้งโดยการวัดจากเมโทรแลค (ไม่แนะนำให้ใช้ในการซื้อขายเนื่องจากมีความคลาดเคลื่อนสูง) ใช้น้ำยาง 1 ส่วน ผสมน้ำ 2 ส่วน เทน้ำยางที่ผสมน้ำแล้วลงในกระบอกตวงจนน้ำยางล้นกระบอกตวง แล้วเป่าฟองบนผิวเหนือกระบอกตวงออก ค่อยๆ จุ่มเมโทรแลค ลงไปจนหยุดนิ่งแล้วอ่านค่า แล้วอ่านค่าซ้ำอีกครั้งหนึ่ง จึงใช้ค่าที่อ่านได้คูณด้วย 3 ผลที่อ่านได้เป็นปริมาณเนื้อยางแห้งกรัมต่อลิตร แสดงว่าในน้ำยาง 1 ลิตร จะมีปริมาณเนื้อยางแห้งเป็นกรัมต่อลิตรเนื้อยางแห้ง สามารถทราบปริมาณเนื้อยางแห้งในการขายน้ำยางสดในครั้งนั้นได้

2) การหาปริมาณเนื้อยางแห้งโดยการชั่ง ให้ชั่งน้ำหนักยาง 50 กรัม โดยเครื่องชั่งชนิดละเอียด เทน้ำยางที่ชั่งแล้วไปใส่ถ้วยอะลูมิเนียม และจับตัวด้วยกรดอะซิติค 2% เมื่อยางจับตัวดีแล้วนำไปรีดให้มีความหนาไม่เกิน 2 มิลลิเมตร ล้างให้สะอาดด้วยน้ำ 2-3 ครั้ง นำยางแผ่นตัวอย่างไปอบให้แห้งในตู้อบอุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส ประมาณ 16 ชั่วโมง ปล่อยให้เย็นในโถแก้วระบบสูญญากาศที่มีอากาศดูดความชื้นประมาณ 15 นาที นำตัวอย่างยางที่แห้งแล้วไปชั่งด้วยเครื่องชั่งชนิดละเอียดได้แล้วคูณด้วย 2 ผลลัพท์ที่ได้คือเนื้อยางแห้ง

กระบวนการต้นน้ำ (Upstream) ของการผลิตยางพารา ทั้ง 5 ขั้นตอนหลัก รัฐควรมีส่วนสนับสนุนหรือให้ความรู้กับเกษตรกรเพิ่มมากขึ้น เพื่อสร้าง value-added และลดค่าใช้จ่ายลงทำให้เกษตรกรมีโอกาสเพิ่มรายได้มากขึ้น

--------------------------------

สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง

สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง

CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล

 --------------------------------

ที่มา

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551

โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward