CT51 Process Control and Logistics Management for Mass Customization Manufacturing (MCM)
ลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2551 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
ผู้เขียน ดร. พงษ์ธนา วณิชย์กอบจินดา
บทคัดย่อ
ความต้องการที่หลากหลายของผลิตภัณฑ์ รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างโดดเด่นที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน ดังนั้นในการวางแผนการผลิตเผื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายเหล่านี้ผู้ผลิตจึงนำระบบกลยุทธ์การที่สามารถตอบสนองความต้องการที่หลากหลายและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วซึ่งระบบการผลิตนี้คือ Mass Customization Manufacturing (MCM) ในบทความฉบับนี้ผู้เขียนจะนำเอา กลยุทธ์ของระบบการควบคุมการผลิตที่สามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างคล่องตัว (Flexible process control) และระบบการจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management) ที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มประสิทธิภาพแบบ Mass Customization Manufacturing (MCM) เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์กร
1) บทนำ
การแข่งขันของอุตสาหกรรมนั้นมีการปรับเปลี่ยนไปตามความต้องการของผู้บริโภคมาขึ้นซึ่งเป็นความต้องการที่หลายหลาย เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงลักษณะตลาดนั้นเป็นลักษณะของ World Wide Market ไม่ใช่ Local Market ดังในอดีต จากการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและความต้องการที่หลายหลายมากขึ้นทำให้ระบบการผลิตที่เรียกว่า Mass Production Manufacturing (MCP) ที่ต้องผลิตครั้งละมาก ๆ ในรูปแบบเดียวกันไม่สามารถสร้างผลกำไรได้เท่าที่ควร ซึ่งผู้ผลิตจึงได้พยายามหากลยุทธ์ต่าง ๆ มาใช้เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ กลยุทธ์นี้เรียกว่า Mass Customization Manufacturing (MCM) เป็นกลยุทธ์การผลิตที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิต ผลิตสินค้าผลิตภัณฑ์ได้หลายหลาย และปรับเปลี่ยนได้ง่ายและรวดเร็ว สามารถตอบสนองตามความต้องการลูกค้าเฉพาะกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในปัจจุบันในหลายอุตสาหกรรมเช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ อาหาร สิ่งทอ สินค้าอุปโภคบริโภคได้นำกลยุทธ์นี้มาใช้เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง และตอบสนองความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่ม ในออกแบบระบบ MCM – Design for Mass Customization (DFMC) (ดังแสดงในแผนภาพที่ 1) จะต้องวางแผนเพื่อรองรับกับความหลากหลายและความต้องการเฉพาะกลุ่มให้มีประสิทธิภาพนั้น จะต้องคำนึงถึง ความสัมพันธ์ของความต้องการของลูกค้าทั้งในรูปแบบของผลิตภัณฑ์ ปริมาณความต้องการ ความสามารถในการผลิต ความสามารถในการจัดส่ง ความสามารถในการจัดหาวัตถุดิบ การสื่อสารส่งผ่านข้อมูล การขนส่งและกระจายสินค้านั่นก็คือจะต้องใช้ความสามารถในการบริหารกลยุทธ์ของระบบการควบคุมการผลิตที่สามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างคล่องตัว (Flexible process control) และระบบการจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management) นั่นเอง
แผนภาพที่ 1 ระบบของ Mass Customization Manufacturing
2) การควบคุมการผลิตสำหรับ Mass Customization Manufacturing (MCM)
การควบคุมกระบวนการ MCM นั้นจะต้องเป็นควบคุมและปรับกระบวนการผลิตได้อย่างรวดเร็ว สามารถผลิตจำนวนน้อยได้อย่างคุมค่าการลงทุน สร้างความหลากหลาย และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างทันที ในอดีตในการวางแผนกระบวนการจะใช้ระบบการส่งแผนข้อมูลทาง Spreadsheets, Grantt/PERT charts หรือ บันทึกต่าง ๆ ซึ่งทำให้การปรับเปลี่ยนแผนการผลิตทำได้ล่าช้า ในปัจจุบันในระบบ MCM ได้นำระบบการส่งข้อมูลโดยใช้ XML-based shop (Extensible Markup Language-base shop) integration exchange file format for MCM ซึ่งได้รับการพัฒนาโดย National Institute of Standards and Technology (NIST) มาใช้ในการปรับเปลี่ยนกระบวนการและเชื่อมโยงข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการผลิตซึ่ง Shop Data File นี้สามารถเชื่อมโยงระบบต่าง ๆ เช่น time-sheets, probability-distribution, unit of measurement, resource, calendar, bill of material, inventory, process plan work, purchase order, schedule maintenance เป็นต้นดังแสดงในแผนภาพที่ 2
แผนภาพที่ 2 กระบวนการผลิต กับการเชื่อมโยงระบบ XML-Based Shop
้ค้าปลีกภาพที่ ม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรเนื่องอุตสาหกรรมของเล่นเป็นอุตสาหกรรมที่มีความหลากหลาย
3) การจัดการโลโจติสก์สำหรับ Mass Customization Manufacturing (MCM)
ในระบบ MCM ที่สามารถทำการผลิตได้หลากหลาย ผลิตด้วยจำนวนน้อยได้ และตรงตามความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่ม จึงต้องมีการปรับปรุงระบบการผลิตโดยเปลี่ยนจาก Mass Production ที่เป็นลักษณะของ Push (ดังแสดงในแผนภาพที่ 3) ที่วางแผนจากการคาดการณ์ หรือพยากรณ์ความต้องการของลูกค้าโดยไม่ได้มองปริมาณความต้องการที่แท้จริงรวมถึงรูปลักษณ์ต่าง ๆ ให้มาเป็น Mass Customization ที่เป็นลักษณะของ Pull (ดังแสดงในแผนภาพที่ 4) ที่เน้นไปยังความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าเป็นหลักทั้งในด้านของปริมาณ และรูปลักษณ์ของการออกแบบ ดังตัวอย่างในอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ เช่น โตโยต้า เป็นต้น ดังนั้นจึงต้องมีการนำระบบการจัดการโลจิสติส์เข้ามาช่วยในการปรับปรุงประสิทธิภาพ นอกจากจะมีการปรับปรุงระบบการผลิตให้ ยังต้องนำวิธีปฏิบัติที่ดีของการจัดการโลจิสติกส์เข้ามาประยุกต์ใช้โดยเฉพาะการบริหารสินค้าคงคลัง และการขนส่งสินค้าทั้งในด้านของ Inbound และ Outbound ทั้งเพื่อวางแผนในด้าน Lead time ในการป้อนวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิต และการขนส่งสินค้าไปยังลูกทั้ง และยังเป็นการลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์อีกด้วย
แผนภาพที่ 3 การจัดการโลจิสติกส์สำหรับ Mass Production Manufacturing
แผนภาพที่ 4 การจัดการโลจิสติกส์สำหรับ Mass Customization Manufacturing
4) สรุป
จากความต้องการที่หลากหลาย ความต้องการเฉพาะกลุ่มทั้งยังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบันทำให้ผู้ผลิตสินค้าจะต้องมีการปรับตัวตามกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันเพิ่มตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า และเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน โดยเปลี่ยนวิธีจากการผลิตจาก Mass Production Manufacturing มาเป็น Mass Customization Manufacturing ที่สามารถสร้างความหลากหลายในการผลิตได้ และทั้งยังสามารถปรับเปลี่ยนระบบการผลิตได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งระบบนี้จะต้องอาศัยหลักการพื้นฐานที่สำคัญ 1) หลักการควบคุมการผลิตที่สามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างคล่องตัว (Flexible process control) และ 2) ระบบการจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management) โดยที่ มีการนำระบบ XML-based Shop มาช่วยในกระบวนการผลิต และส่วนการจัดการโลจิสติสก์นั้นได้นำมาช่วยตั้งแต่การวางแผน Inbound จนไปถึง Outbound Logistics รวมถึงการวางแผนลดกิจกรรม Non-Value Added ลด Lead Time ลง และสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า
เอกสารอ้างอิง
Alford, D., Sackett, P., and Nelder, G, 2000, “Mass Customization-An Automotive Perspective,” International Journal of Production Economics, 2000,65:99-110.
Bornney, M.C., Zhang, Z., Head, M.A. Tien, C.C. and Barson, R.J., 1999, ”Are Push and Pull System Really so Different?” International Journal of Production Economics, 59, 53 – 64.
Hart, C.W., and Taylor, J.R., 1996, ”Value Creation Through Mass Customization”, Working Paper, 1996
Kim, I., and Tang, C.S., 1997, “Lead Time and Response Time in a Pull Production Control System,” European Journal of Operational Research, 101, 474-485.
Marsh., P XML-Based System Rejuvenates Chain Store Guide’s Production Process : http://www.thomastech.co.uk/images/pdf/AIIM_Edoc_SeptOct03.pdf
Yucesan, E., and Groote, X.D., 2000, ”Lead Times, Order Release Mechanisms, and Customer Service,” European Journal of Operation Research, 120, 118 – 130.
--------------------------------
สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง
สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง
CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล
--------------------------------
ที่มา
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่