CT51 แนวปฏิบัติการจัดการโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมผลิตของเล่น (Supply Chain Management Practices in Toy Supply Chain)
ลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2551 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
ผู้เขียน ดร. พงษ์ธนา วณิชย์กอบจินดา
1. บทนำ
อุตสาหกรรมของเล่นนับว่าเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลก อุตสาหกรรมการผลิตของเล่นเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างความบันเทิง ความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็ก ๆ รวมไปถึง นักสร้างสรรค์ นักสะสม เป็นต้น อย่างไรก็ตามในอุตสาหกรรมนี้จะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงความต้องการของลูกค้าอยู่เสมอ รวมถึงความต้องกาลของสินค้าตามฤดูกาล ซึ่งเป็นสาเหตุให้คาดการณ์ความต้องของลูกค้าได้อย่างยากลำบาก นอกจากนั้นช่วงเวลาในการขายของเล่น และ Product Life Cycle ก็นั้นมีช่วงเวลาที่สามารถขายได้สั้น เหมือนกับอุตสาหกรรมเสื้อผ้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามความนิยม ในด้านต้นทุนอุตสาหกรรมของเล่น รวมถึงไม่มีการร่วมกันพยากรณ์ความต้องการร่วมกันระหว่างผู้ผลิตและผู้ค้าปลีก จึงส่งผลให้เป็นอุตสาหกรรมที่ต้นทุนด้าน Inventory สูงเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่น ๆ (Johnson, 2001a; Christopher et al., 2004) สูญเสียความสามารถในการแข่งขัน
ดังนั้นในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมการผลิตของเล่น Wong et al (2005) จึงได้นำเสนอวิธีการปรับปรุงและแก้ปัญหาเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันโดยการนำเอาการบริหาร Supply Chain และการจัดการ Logistics เข้ามาเพื่อวางแผน การจัดซื้อ วางแผนการผลิต การจัดส่ง ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงความต้องการของลูกค้าอย่างรวดเร็ว
2) ปัญหาในอุตสาหกรรมผลิตของเล่น
ปัจจุบันบริษัทของเล่นขนาดใหญ่ เช่น LEGO, Mattel, Inc (Barbie dolls), Hasbro, Inc. (Transformer) ได้มีการวางแผนเพิ่มประสิทธิภาพในด้านต้นทุนด้วยการนำเอาระบบการจัดการโลจิสติกส์เข้ามาช่วยในการวางแผนการกระจายสินค้า เช่นการวางแผนการตั้งศูนย์กระจายสินค้าไปตามภูมิภาค การออกแบบบรรจุภัณฑ์ในการขนส่งสินค้า หรือ การวางแผนในกระบวนการผลิต โดยการ Outsouring ในบางชิ้นส่วนเพื่อลดต้นทุนในการผลิต อย่างไรก็ตามในในเมื่อของเล่นมีความต้องการมากขึ้น และผู้ผลิตที่มีมากขึ้นเป็นเงาตามตัว อุตสาหกรรมนี้จะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงความต้องการของลูกค้าอยู่เสมอ รวมถึงความต้องกาลของสินค้าตามฤดูกาล ซึ่งเป็นสาเหตุให้คาดการณ์ความต้องของลูกค้าได้อย่างยากลำบาก นอกจากนั้นช่วงเวลาในการขายของเล่น และ Product Life Cycle ก็นั้นมีช่วงเวลาที่สามารถขายได้สั้น เหมือนกับอุตสาหกรรมเสื้อผ้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามความนิยม สาเหตุและผลกระทบสามารถสรุปได้ดังนี้
- ความต้องการตามฤดูกาล (Highly Concentrated Seasonality)
- ช่วงเวลาความต้องการสั้น (Short Product Life Cycle)
- การแข่งขันในตลาดสูงทั้งในด้านนวัตกรรมและราคา (Intense competition on innovation and pricing)
- ผู้ผลิตมีจำนวนมากแต่ความต้องการสินค้าที่ไม่แน่นอน (High Supply and Demand Uncertainty)
ด้วยเหตุของการเปลี่ยนแปลงความต้องการรวดเร็วประกอบกับช่วงระยะเวลาในการ
ขายสั้น การแข่งขันสูง และผู้ประกอบการมีจำนวนมากจึงทำให้ ผลกำไรตอบแทนในอุตสาหกรรมนี้ลดลง ผู้ผลิตและผู้ขายจึงต้องแบกรับภาระความเสี่ยงนี้ ดังนั้น ผู้ผลิตจึงใช้นโยบาย Early-Order หรือ Quantity Discount เพื่อผลักภาระของด้าน Inventory ให้แก่ Retailer แต่วิธีการนี้สามารถทำได้กับ Retailer ที่มีกำลังการต่อรองต่ำเท่านั้น สำหรับ Retailer ที่มีกำลังการต่อรองสูงมีลูกค้าเยอะก็จะสามารถต่อรองกลับผู้ผลิตได้ แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่างฝ่ายได้จะมีกำลังการต่อรองเพื่อลด Inventory ได้มากว่าแต่ในความเป็น ค่าใช้จ่าย Inventory ก็ยังคงอยู่ในภาพรวมของระบบโซ่อุปทานดังนั้นในการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง ผู้ประกอบการ ทั้งผู้ผลิต ผู้จัดส่ง จนถึง ผู้ค้าปลีกควรมีการวางแผนในการพยากรณ์ร่วมกันเพื่อช่วยในการลดต้นทุนเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันในภาพรวม
3) การวิเคราะห์ปัญหาในอุตสาหกรรมผลิตของเล่น
Wong et al (2005) จึงได้เสนอแนวทางในการแก้ไขในอุตสาหกรรมนี้โดยร่วมทำการศึกษาลักษณะการไหลของของผลิตภัณฑ์ของเล่นในโซ่อุปทานตั้งแต่ผู้ผลิตจนถึงร้านค้าปลีกซึ่ง Wong พบว่าพฤติกรรมในโซ่อุปทานอุตาสาหกรรมของเล่นนั้นขึ้นอยู่พฤติกรรมการขายของเล่นปลายน้ำก็คือร้านค้าปลีกนั่นเอง จึงทำการศึกษาลักษณะของการขายสินค้าของเล่นในโซ่อุปทานเป็นซึ่ง Wong et al (2005) สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1) JIT Retailers; 2) Main-order Retailer; 3) One-off Retailer โดยที่ Wong ได้แบ่งตามปัจจัยดังต่อไปนี้ (ดังแสดงในตารางที่ 1)
- Annual Retailer Demand Patterns,
- Retail Strategy, ซึ่งประกอบด้วย สถานที่ตั้งร้านค้า, การตั้งราคา
- Distribution & Logistics ซึ่งประกอบด้วย Delivery (to Stores/Cross docking, Retailer Region Distribution Center (RDC) etc.), Replenishment Frequency, Lead Time, Order Size
- Bullwhip Effect,
- Information Sharing & Coordination
- Inventory & Cost Management Performance
- Current Supply Chain Management Initiative
- Future Supply Chain Management Initiative
ตารางที่ 1 ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมในระบบโซ่อุปทานของผู้ค้าปลีกประเภทต่าง ๆ
จากการศึกษา Wong et al (2005) ในระบบโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมของเล่นพบว่า
ไม่ได้มีการ Share ข้อมูล หรือการสื่อสารความต้องของหน่วย ๆ ต่าง ๆ ในระบบโซ่อุปทาน ไม่มีการวางแผนพยากรณ์ หรือการคาดการณ์ต่าง ๆ ร่วมกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปยุโรปมีการ Share ข้อมูลระหว่างโซ่ออุปทานน้อยกว่า 50% แต่ในสหรัฐอเมริกานั้นมาก 90% นอกจากนั้นยังพบอีกว่าผลจากการสัมภาษณ์ ผู้ประกอบการค้า ปลีกทั้ง 3 กลุ่ม JIT Retailers, Main-order Retailers และ One-off Retailers พบในเมื่อไม่มีการส่งผ่านข้อมูลผู้ประกอบการส่วนใหญ่จึงได้มี Inventory Cost ที่สูง มุ่งเน้นที่จะแก้ปัญหาในการลด Inventory เพิ่มความสามารถในการทำระบบ Just-in-Time นำระบบการกระจายสินค้าที่มีประสิทธิภาพมาประยุกต์ ซึ่งก็หมายความว่านำระบบการจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพมาใช้ในโซ่อุปทาน
4) แนวทางการแก้ปัญหาในอุตสาหกรรมผลิตของเล่น
Lowson (2002) ได้เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาโดยการนำวิธี CPFR (Collaborative, Planning, Forecasting and Replenishment), Cross Docking และ VMI (Vendor Management Inventory) ในการลด Inventory Cost ของอุตสาหกรรมของเล่น แต่อย่างไรก็ตาม วิธีดังกล่าวก็ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรเนื่องอุตสาหกรรมของเล่นเป็นอุตสาหกรรมที่มีความหลากหลายเป็นอย่าง เช่นอุตสาหกรรมของเล่นที่เป็น Electronic เช่น ทีวีเกมส์, Play Station, X-Box, ของเล่นที่เป็นพลาสติก ของเล่นที่เป็นไม้ และของเล่นที่เป็นลักษณะของสะสมเป็นต้น ดังนั้น Wong et al (2005) จึงได้วิเคราะห์โดยใช้ประเภทของผู้ผลิตของเล่น ดังแสดงในแผนภาพที่ 1 และ ตารางที่ 2 จากนั้นจะทำการ Matching ระหว่างผู้ผลิต และผู้ค้าปลีก ดังแสดงในตารางที่ 3 และนำระบบของการวางแผนการจัดส่งกระจายสินค้า การใช้ศูนย์กระจายสินค้า การวางแผนMatching กันระหว่าง ผู้ผลิต และร้านค้าปลีก ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการลดต้นทุนของ Inventory ลงได้ ซึ่งจะช่วยสร้างความสามารถในการแข่งขันให้มีประสิทธิภาพ
้ค้าปลีกภาพที่ ม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรเนื่องอุตสาหกรรมของเล่นเป็นอุตสาหกรรมที่มีความหลากหลายเป็นอย่าง เช
แผนภาพที่ 1 การแบ่งประเภทของผู้ผลิตของเล่น
ตารางที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมในระบบโซ่อุปทานของผู้ค้าผลิตของเล่นประเภทต่าง ๆ
ตารางที่ 3 การจับคู่ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมในระบบโซ่อุปทานของผู้ค้าผลิตของเล่นประเภทต่าง ๆ และร้านค้าปลีกเพื่อช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพของโซ่อุปทานและการลด Inventory Cost
4) สรุป
จากการวิจัยของ Wong et al (2005) ได้สรุปว่าในการแก้ปัญหาเรื่อง Inventory Cost ที่สูง อันเนื่องมาจากสาเหตุของอุตสาหกรรมนี้จะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงความต้องการของลูกค้าอยู่เสมอ รวมถึงความต้องกาลของสินค้าตามฤดูกาล ซึ่งเป็นสาเหตุให้คาดการณ์ความต้องของลูกค้าได้อย่างยากลำบาก นอกจากนั้นช่วงเวลาในการขายของเล่น และ Product Life Cycle ก็นั้นมีช่วงเวลาที่สามารถขายได้สั้น รวมถึงการแข่งขันในด้านนวัตกรรม และราคา สามารถทำได้โดยการนำหลักการของการจัดการโลจิสติกส์มาช่วยในการแก้ไขปัญหา CPFR, Cross-Docking และ VMI อย่างไรก็ตามทั้ง 3 วิธีนี้อาจยังไม่สามารถทำให้ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรเนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลาย รวมถึง ผู้ผลิต และร้านค้าปลีก ดังนั้น Wong et al (2005) จึงเสนอแนวทางในการ Matching ระหว่างผู้ผลิตและผู้ค้าปลีกในการวางแผนร่วมกันรวมถึงการจัดกลุ่ม Cluster เพื่อช่วยในการลดต้นทุนและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในอุตสาหกรรมการผลิตและจำหน่ายของเล่น
เอกสารอ้างอิง
Christopher, M., Lowson, R. and Peck, H. (2004), “Creating agile supply chains in the fashion industry”, International Journal of Retail & Distribution Management, Vol. 32 No. 8, pp. 367 – 76.
Johnson, M.E. (2001a), “Learning from toys: lessons in managing supply chain risk from the toy industry”, California Management Review, Vol. 43 No. 3, pp. 106 – 24.
Lowson, R. (2002), “The implementation and impact of operation strategies in fast-moving supply system”, Supply Chain Management: An International Journal, Vol.7 No.3, pp. 146 – 63.
Wong, C.Y., Arlbjorn, J.S. and Johansen, J., (2005), “Supply chain management in toy supply chain” Supply Chain Management: An International Journal, Vol. 10 No. 5, pp. 367 – 378.
--------------------------------
สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง
สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง
CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล
--------------------------------
ที่มา
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่