CT51 แนวทางการป้องกันเพื่อลดผลกระทบของความเสียหายเกิดในโซ่อุปทาน กรณีศึกษา Nokia (Reducing the Impact of Disruption to the Supply Chain: Case Study Nokia Mobile Phone Manufacturing)
ลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2551 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
ผู้เขียน ดร. พงษ์ธนา วณิชย์กอบจินดา
บทนำ
กระบวนการในการจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่มีราคาถูกได้กลายเป็นกลายเป็นกลยุทธ์สำคัญในของผู้ผลิตเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในราคา โดยที่ผู้ผลิตเหล่านี้จะพยายามหาวัตถุหรือผลิตภัณฑ์ที่มีราคาถูกจากที่ต่าง ๆ ในโลก (Global Sourcing) โดยมิได้คำนึงถึงความต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นที่ได้กล่าวไว้ใน Enterprise Risk Management (ERM) ซึ่งความเสี่ยงที่กล่าวไว้นี้อาจเกิดจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น 9/11, สงครามในประเทศอิรัก หรือแม้กระทั้งการประท้วงหยุดงานของพนักงาน เหตุการณ์เหล่าได้ส่งผลกระทบให้กับระบบห่วงโซ่อุปทานในการผลิตสินค้า เช่น ความล่าช้าในการผลิต การส่งของถึงลูกค้าช้ากว่ากำหนดการนัดหมาย ระดับการให้บริการ การขาดแคลนวัสดุและวัตถุดิบในการผลิต
แผนภาพที่ 1 Enterprise Risk
ERM ได้แบ่งความเสี่ยงออกเป็น 4 ประเภทดังแสดงในแผนภาพที่ 1 จะสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทคือ 1) Financial Risks; 2) Strategic Risks; 3) Hazard Risks; และ 4) Operation Risks ความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อระบบโซ่อุปทานนั้นจะอยู่ในส่วนของ Hazard Risks เช่น ผลจากดินฟ้าอากาศ เครื่องจักรเสียหายโดยมิได้คาดคิด และ Operation Risks เช่น การส่งวัตถุดิบเข้ากระบวนการผลิตล่าช้า ในบทความนี้ผู้เขียนจะนำเสนอสาเหตุของความเสี่ยง แนวทางในการแก้ไขปัญหาของการป้องกันความเสี่ยง Global Sourcing ในระบบโซ่อุปทาน
แนวทางการลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในโซ่อุปทาน
Supply Chain Risk Management System (MCRM) ประกอบด้วยระบบ และกระบวนการต่าง ๆ ที่จะคอยป้องกันการความเสียหายอันเนื่องมาจากผลกระทบที่ไม่คาดคิดในระบบโซ่อุปทาน ความเสียหายเหล่านี้ได้นิยามถึงทั้ง เครื่องจักรหยุดทำงาน วัตถุดิบไม่สามารถส่งถึงผู้ผลิตได้ตามกำหนดการนัดหมาย ปัญหาด้านคุณภาพ หรือแม้กระทั้งการเกิดBottleneck ในระบบการผลิตเนื่องมากการคาดการณ์ปริมาณการผลิตผิดพลาดหรือการมีคำสั่งซื้อเข้ามากจนเกินความสามารถในการผลิต ณ ปัจจุบัน อย่างไรก็ตามการแก้ไขปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ด้วยหลักการสำคัญ 3 ประการ ดังแสดงในแผนภาพที่ 2 และ จากการศึกษาของ Rob Handfileld จาก SASCOM Marketing Group ได้แสดงให้เห็นวงจรของผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากความเสียหายที่เกิดขึ้นในระบบของโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมการผลิตหนึ่ง (ดังแสดงในแผนภาพที่ 3) นจากความเสียหายที่เกิดขึ้นในระบบของโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมการผลิตหนึ่งซ
- Disruptive Discovery
- Disruptive Recovery
- Supply Chain Redesign
แผนภาพที่ 2 Risk Management Framework: Three key element of supply chain disruption management
แผนภาพที่ 3 Disruption Discovery and Recovery
จากแผนภาพที่ 2 และ 3 จะเห็นได้ว่าทันทีที่เกิด Disruption ขึ้นในระบบโซ่อุปทานจะเห็นว่าปัญหานั้นได้เกิดอย่างรวดเร็วและจะกลายเป็นวิกฤตในที่สุด ดังนั้นสิ่งที่จะต้องพิจารณาในลำดับแรกคือการค้นหาว่าปัญหาที่เกิดขึ้น (Disruption Discover) นั้นคืออะไร ซึ่งทีมผู้บริหารจะต้องเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบของ Global Supply Chain กำหนดแนวทางในการค้นหาสาเหตุของการเกิด Disruption in Supply Chain นั้น ๆ นอกจากนั้นยังต้องประเมินความเสี่ยงที่เกิดขึ้น และอาจจะเกิดขึ้นในอนาคตอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น การสั่งซื้อ Chips ในโทรศัพท์ของ Nokia จาก Philip ณ ขณะนั้น Philip ได้ส่ง Chips จำนวน 4,000,000 ชุด ให้กับ Nokia ล่าช้า ซึ่งอาจส่งผลให้ Nokia สูญเสียรายได้ในปีนั้นมากกว่า 5% ของ รายได้ต่อปี และ ณ ขณะนั้นก็เป็นช่วงที่มีกระแสการซื้อโทรศัพท์ที่สูง ซึ่ง Nokia ได้ส่งวิศวกรไปร่วมค้นหาสาเหตุของปัญหาและหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น (Disruption Recovery) ซึ่งวิศวกร Nokia ได้เข้าร่วมในการแก้ไขปัญหาปรากฏว่าไม่สามารถช่วย Philip ในการแก้ปัญหาเรื่องการผลิตและส่งมอบ Chipsets ได้ดังนั้นจึงได้ตัดสินใจในแนวทางเลือกต่าง ๆ เช่น ทำการจ้างผู้ผลิตราย ๆ อื่น ๆ โดยให้ บริษัทที่สามารถรับทำได้ในประเทศ America และ Japan รับช่วงต่อ หรือ ให้โรงงาน Philip เช่นที่ Shanghai ประเทศจีน หรือ จะใช้โรงงานที่ Eindhoven ประเทศ Holland อย่างไรก็ตามประเดินสำคัญที่ต้องพิจารณาคือ Lead time จากโรงงานต่าง ๆ ซึ่ง Nokia ได้ให้ Philip กระจายไปยังโรงงานต่าง ๆ เพื่อช่วยในการผลิตและทำการส่งโดยทางเครื่องบินซึ่งส่งผลให้ Nokia สามารถผลิตสินค้าไดทันเวลา
หลังจากเกิดเหตุการณ์นี้ผู้บริหาร Nokia จึงได้มีนโยบายในการออกแบบและวางแผนระบบ Supply Chain ใหม่ (Supply Chain Re-design) โดยที่จะต้องพยายามไม่ให้ปัญหาที่เกิดขึ้นดังข้างต้นเกิดขึ้นอีกจาก Single Sourcing โดยมีการวางรูปแบบของการ Supply Chipsets ที่หลากหลาย ให้เป็น Fully Global Sourcing และวางระบบที่สามารถติดตามสถานะของ Chipsets ได้สร้างระบบ Dynamic Visibility System เพื่อที่จะติดตามสถานะของ Chipset และที่สำคัญ Nokia ยังได้ร่วมมือวางแผนรองรับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นและแผนป้องกันร่วมกับ Suppliers หลักทั้งหมดของ Nokia ตลอด Supply Chain
สรุป
จากตัวอย่างดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าการทำ Global Sourcing นั้นสามารถช่วยละต้นทุนการผลิตลงได้เนื่องจากสามารถหาแหล่งผลิตวัตถุดิบ หรือส่วนประกอบที่ถูกกว่าโดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนามีต้นทุนการผลิตถูกทั้งในด้านค่าจ้าง และวัตถุดิบ แต่หากเกิดการผิดพลาดในการะบวนการผลิตซึ่งไม่สามารถส่งชิ้นต่างๆ เข้าประกอบในโรงงานปลายขั้นปลายน้ำในโซ่อุปทานได้ทันอาจสร้างความเสียหายได้ดังตัวอย่างของการผลิตโทรศัพท์มือถือของ Nokia ซึ่งจากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ Nokia ต้องสร้างกระบวนการเพื่อตรวจสอบและติดตามสถานะของ Chipsets และวางแผนร่วมกับ Supplier ทั้งในการผลิต การวางแผนประเมินความเสี่ยงและการรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น และจากเหตุการณ์นี้ได้ทำให้ Nokia ได้วางแผนเพื่อป้องกัน Disruption ในลักษณะ Global Supply Chain และ Global Sourcing โดยวางแผนในหลายรูปแบบของการส่งผลิตภัณฑ์เผื่อเข้าโรงงานประกอบและวางแผนในการประเมินความและแนวทางแก้ไขเช่นเดียวกับกรณีของ Chipsets
เอกสารอ้างอิง
- , R., (2004), Reducing the Impact of Disruption to the Supply Chain, available online at [www.sas.com/solutions/srm/supply_risk/sascom.pdf]
- Handfield, R. and Nichols, E. (2002). Supply Chain Redesign, Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall, 2002.
- Hendricks, K. and Singhal, V. (2003). The Effect of Supply Chain Glitches on Shareholder Wealth. Journal of Operations Management, 21, pp 501-522.
--------------------------------
สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง
สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง
CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล
--------------------------------
ที่มา
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่