iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป

CT52 การจัดการโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมปูนซิเมนต์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สถาพร    อมรสวัสดิ์วัฒนา

ปูนซิเมนต์มีการผลิตมากกว่าใน  150  ประเทศทั่วโลก  ปูนซีเมนต์นี้จะเป็นส่วนผสมที่สำคัญของคอนกรีต  ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นในการพัฒนาสาธารณูปโภคและการก่อสร้าง   ดังนั้นหากมีการพัฒนาโซ่อุปทานของปูนซิเมนต์อย่างมีประสิทธิภาพ จะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของโลกเป็นอย่างยิ่ง

วัตถุประสงค์หลักของการดำเนินกิจกรรมในโซ่อุปทานของปูนซิเมนต์ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเด็น ได้แก่  การใช้ประโยชน์ของทรัพย์สินให้เต็มที่  การตอบสนองความต้องการของลูกค้าและประสิทธิภาพของโซ่อุปทาน

เนื่องจากอุตสาหกรรมปูนซิเมนต์  จะเน้นไปที่การลดต้นทุนของการผลิต โดยมุ่งเน้นการผลิตในปริมาณมาก เพราะว่าการผลิตปูนซิเมนต์จะเป็นการลงทุนที่ใช้เงินลงทุนสูง อย่างไรก็ตามบริษัทปูนซิเมนต์บางแห่ง พยายามสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน โดยการสร้างความแตกต่างของสินค้า  เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้า ซึ่งสามารถจะทำให้เกิดผลสำเร็จได้จะต้องใช้การออกแบบกระบวนการในโซ่อุปทานให้เหมาะสม

คุณลักษณะที่สำคัญของโซ่อุปทานของปูนซิเมนต์สามารถสรุปได้โดยใช้แบบจำลอง SCOR model ดังแสดงในรูปภาพที่ 1

ที่มา: บทความเรื่อง “Supply Chain Management in the Cement Industry” ปี 2009 โดย Isabel Agudelo และ Edgar Blanco

รูปภาพที่ 1 แบบจำลอง SCOR model ของอุตสาหกรรมปูนซิเมนต์

ในรูปที่ 1 จะเห็นได้ว่า กระบวนการวางแผนของอุตสาหกรรมปูนซิเมนต์จะถูกรวมศูนย์ไว้ (Centralized) โดยที่ปริมาณของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตปูนซิเมนต์จะมีอย่างไม่จำกัด   การผลิตปูนซิเมนต์จะเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เงินลงทุนสูง  และใช้พลังงานในการผลิตมาก แต่ในขณะเดียวกันการขนส่งปูนซิเมนต์มีข้อจำกัด เนื่องจากอัตราส่วนของมูลค่าต่อน้ำหนักนั้นมีค่า ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนการขนส่งต่อราคาขายมีค่าสูง นอกจากนั้นการขนส่งจำเป็นที่ต้องใช้รถบรรทุกที่ลักษณะเฉพาะเจาะจง นำไปใช้ในการขนส่งสินค้าประเภทอื่นไม่ได้ การเพิ่มประสิทธิภาพจากการขนส่งเที่ยวกลับจึงทำไม่ได้

ปูนซิเมนต์สามารถจำแนกได้เป็นแบบเทกอง (Bulk) และแบบถุง (Bag) ดังแสดงในรูปที่ 2

ที่มา: บทความเรื่อง “Supply Chain Management in the Cement Industry” ปี 2009 โดย Isabel Agudelo และ Edgar Blanco

รูปภาพที่ 2 อุตสาหกรรมปูนซิเมนต์แบบเทกองและถุง

ปูนซิเมนต์แบบเทกองจะใช้ในประเทศที่พัฒนาแล้ว  โดยมีความต้องการมาจากบริษัทก่อสร้างขนาดใหญ่และรัฐบาลที่ไปลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ เช่น สนามบิน หรืออาคารสำนักงาน คอนโดมิเนียม หรือห้างสรรพสินค้า ในขณะที่ปูนซิเมนต์ถุงจะเป็นที่นิยมในประเทศเกิดใหม่ โดยมีความต้องการจากผู้รับเหมาขนาดเล็กและลูกค้ารายย่อยในการสร้างที่อยู่อาศัยขนาดเล็ก   โดยทั่วไปแล้ว ปูนซิเมนต์แบบเทกองควรจะมีโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพ หรือมีต้นทุนการขนส่งที่ต่ำ  ในขณะที่ปูนซิเมนต์แบบถุงควรจะมีโซ่อุปทานที่ตอบสนองความต้องการได้ดี

โซ่อุปทานของปูนซิเมนต์

ในปัจจุบันนี้  โซ่อุปทานของอุตสาหกรรมปูนซิเมนต์ เป็นแบบผลิตเพื่อสต๊อก (Build-to-Stock: BTS) โดยที่คำสั่งซื้อจะถูกส่งมาจากคลังสินค้า ระยะเวลาในการสั่งซื้อสินค้า (Lead time) ซึ่งหมายถึงระยะเวลาในการขนส่งและความหลากหลายของสินค้ามีจำกัด  ทำให้ลูกค้าไม่มีทางเลือกมากนัก  โซ่อุปทานของปูนซิเมนต์สามารถสรุปได้ดังรูปที่ 3

ที่มา: บทความเรื่อง “Supply Chain Management in the Cement Industry” ปี 2009 โดย Isabel Agudelo และ Edgar Blanco

รูปภาพที่ 3 โซ่อุปทานของอุตสาหกรรมปูนซิเมนต์

อย่างไรก็ตาม โซ่อุปทานของปูนซิเมนต์ควรจะพัฒนาให้เป็นแบบ ผลิตตามคำสั่งซื้อ (Configure-to-Order: CTO) โดยเฉพาะอย่างยิ่งปูนซิเมนต์ถุง  ซึ่งอาจทำได้โดยใช้หลักการบรรจุตามคำสั่งซื้อ (Pack-to-Order)  โดยนำปูนซิเมนต์ผงที่เก็บไว้มาบรรจุถุงเมื่อคำสั่งซื้อเกิดขึ้น

สรุป

- ระบบเศรษฐกิจแบบผูกขาด หรือมีผู้ผลิตน้อยรายจะส่งผลให้การพัฒนาโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมปูนซิเมนต์ ไม่มีความจำเป็น เนื่องจากการขาดแรงจูงใจในการลดต้นทุน และไม่มีความกดดันจากลูกค้า

- โดยปกติแล้ว โซ่อุปทานของอุตสาหกรรมปูนซิเมนต์จะมุ่งเน้นไปที่  การใช้ประโยชน์ของทรัพย์สินให้คุ้มค่า ซึ่งทรัพย์สินเหล่านี้ ได้แก่ โรงงานผลิต  ระบบสาธารณูปโภค และเครื่องจักรและอุปกรณ์ในการขนถ่ายสินค้า    ดังนั้นอุตสาหกรรมปูนซิเมนต์  จึงได้พัฒนาโซ่อุปทานให้มีประสิทธิภาพ และเป็นการสร้างความสามารถในการแข่งขันให้ดีขึ้น

- คุณลักษณะของปูนซิเมนต์ที่มูลค่าต่อน้ำหนักต่ำนั้น ทำให้เกิดข้อจำกัดของศูนย์การผลิตที่ไม่สามารถกระจายไปตามภูมิภาคได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การขนส่งโดยใช้รถบรรทุกจะสามารถทำได้ไม่เกินรัศมี  300  กิโลเมตร  อย่างไรก็ตาม  การใช้รูปแบบการขนส่งทางน้ำ  หรือทางรางเข้ามาช่วยจะทำให้การขยายเครือข่ายของการผลิตไปได้ไกลขึ้น

- การสร้างความร่วมมือ และแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างพันธมิตรที่อยู่ต้นน้ำ และปลายน้ำ ในโซ่อุปทาน เป็นโอกาสในการพัฒนาโซ่อุปท่านของปูนซิเมนต์ 

ที่มา: บทความเรื่อง “Supply Chain Management in the Cement Industry” ปี 2009 โดย Isabel Agudelo และ Edgar Blanco 

.

สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง

 --------------------------------

ดูบทความอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่

 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2552

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 15 บทความ จัดทำเป็นรูปเล่ม เพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน  หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล

 --------------------------------

ที่มา

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2552

โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward