iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ

CT52 การจัดการระบบภายในคลังสินค้าน้ำมันหล่อลื่น กรณีศึกษาคลังน้ำมัน AAA 

บทความ ผศ.ดร.วันชัย รัตนวงษ์ 

คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2552 

บทคัดย่อ 

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการที่เหมาะสมที่สามารถนำมาปรับปรุงระบบการจัดเก็บและจัดวางสินค้าในคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หน่วยงานที่ศึกษาเป็นคลังสินค้าผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่น ปัญหาที่ประสบคือ มีการจัดเก็บสินค้าไม่เป็นหมวดหมู่  ไม่มีการจัดวางระบบตำแหน่งสถานที่จัดเก็บให้กับสินค้า จากปัญหาดังกล่าวทำให้เกิดการเสียเวลาและความยากลำบากในการค้นหาสินค้า นอกจากนั้นเมื่อสินค้าไปถึงลูกค้ามีความเป็นไปได้ที่จะเกิดความผิดพลาดในการจัดส่งสินค้าที่ผิดและไม่ตรงตามความต้องการของลูกค้า  จึงได้ทำการศึกษาวิจัยครั้งนี้  โดยการนำทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยในการพัฒนา กล่าวคือ ศึกษาหลักการวิเคราะห์ทฤษฎี ABC เพื่อเป็นประโยชน์ในการจัดตำแหน่งการหยิบสินค้า  ศึกษาทฤษฎีการออกแบบสถานที่จัดเก็บสินค้าเพื่อเป็นประโยชน์ในการจัดการสถานที่จัดเก็บให้เป็นหมวดหมู่ทำให้ง่ายต่อการเก็บรักษาและนำมาใช้งาน  นอกจากนี้ยังมีการนำโปรแกรม Microsoft Access มาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการวิเคราะห์รูปแบบการจัดเก็บและจัดวางสินค้าให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

จากการศึกษาพบว่า วิธีการที่ใช้ในการแก้ปัญหาของงานวิจัยสามารถจัดการระบบจัดเก็บสินค้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การจัดเก็บที่เป็นหมวดหมู่ทำให้ง่ายต่อการจัดเก็บรักษา ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการประยุกต์การใช้โปรแกรม Microsoft Access คือ จากเดิมที่การจัดเก็บสินค้าใช้การสุ่ม โดยการคิดจากปัจจัยระยะทางเป็นหลัก จากการใช้โปรแกรม ทำให้ทราบว่า ถ้าจัดเก็บโดยการแบ่งพื้นที่จะสามารถทำให้ลดระยะทางได้ 13.24% ถ้าจัดเก็บโดยการจัดตามระยะทางที่มากที่สุดในการจัดเก็บสินค้าจะสามารถทำให้ลดระยะทาง ได้ 13.48 %

บทนำ

คลังสินค้าเป็นหนึ่งในระบบสายโซ่อุปทานที่มีความสำคัญของการกระจายสินค้าจาก ผู้ผลิต ไปยังผู้บริโภค คลังสินค้าทำหน้าที่เป็นสถานที่ที่ได้มีการจัดเตรียมพื้นที่ ซึ่งมีอัตราความต้องการไม่สม่ำเสมอและคาดการณ์ล่วงหน้าได้ยาก รวมถึงวิธีการจัดเก็บ การจัดจำหน่าย การรอเวลาและการขนถ่ายสินค้า ซึ่งเป็นอุปสรรคในการจัดการระบบคลังสินค้า

เนื่องจาก บริษัท AAA.จำกัด (มหาชน) ในขณะนี้ได้มีความสนใจที่จะปรับปรุงคลังสินค้าของส่วนปฏิบัติการหล่อลื่นโดยการวางระบบการจัดเก็บสินค้าขึ้นมาใหม่ โดยใช้ระบบ Racking แบบ Push Back และแบบ Selective ทำให้มีการเปลี่ยนวิธีการจัดเก็บและจัดเรียงสินค้าแบบเดิมให้มีความสอดคล้องกับระบบ Racking ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีระบบการจัดเก็บและจัดเรียงสินค้าให้สอดคล้องกับระบบดังกล่าว

ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาเพื่อแสวงหาการจัดการคลังสินค้าที่มีประสิทธิภาพ เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในคลังสินค้าโดยการนำวิธีการจัดการแบบ ABC Analysis เพื่อใช้ในการจัดเรียงสินค้าประเภทต่างๆ รวมทั้งการออกแบบสถานที่ที่ใช้เก็บสินค้าเพื่อให้สอดคล้องกับ ABC Analysis และนำ Software เข้ามาใช้ในการจัดการคลังสินค้า เช่น การเก็บฐานข้อมูลและการประยุกต์โดยใช้โปรแกรม Microsoft Access ในการจัดเก็บและจัดส่งสินค้า เพื่อลดระยะทางและระยะเวลาในกระบวนการจัดส่ง  

กรอบการดำเนินการวิจัย 

ผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมของคลังสินค้า โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้ 

(1)  ศึกษาทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการคลังสินค้า

(2) เก็บข้อมูลระบบการบริหารของคลังสินค้า น้ำมันหล่อลื่นเพื่อรวบรวมข้อมูลการดำเนินงานต่างๆ

(3)  นำข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์ ABC เพื่อการจัดลำดับความสำคัญของสินค้าในการจัดเรียงสินค้าในแต่ละพื้นที่ของชั้นวางสินค้า

(4)  นำข้อมูลของการจัดลำดับความสำคัญของสินค้ามาใช้ในการจัดระบบของสินค้าในการเข้า-ออกชั้นวางสินค้าแบบFIFO

(5)  เก็บข้อมูลของกระบวนการการทำงานของการจัดส่งสินค้า

(6)  วิเคราะห์ผลของข้อมูลและเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดในการเพื่อลดระยะทางและระยะเวลาในกระบวนการจัดส่ง 

ขอบเขตของการศึกษา 

ศึกษาเฉพาะการบริหารคลังน้ำมันหล่อลื่น ของบริษัท AAA.จำกัด (มหาชน) 

4.  ทฤษฎีและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง           

การบูรณาการโซ่อุปทานที่จะลดปริมาณสินค้าคงคลังให้เหลือน้อยที่สุดเพื่อการลดข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในระบบโลจิสติกส์ของโซ่อุปทานให้น้อยลง ด้วยเหตุนี้ จึงกลายเป็นความจำเป็นต่อคลังสินค้าเป็นอย่างมากทั้งในเรื่องความถูกต้องแม่นยำและผลของการหมุนเวียนสินค้าในคลังสินค้า เพราะฉะนั้นการจัดการคลังสินค้าสามารถเพิ่มมูลค่าและแสดงบทบาทที่สำคัญในโซ่อุปทาน ดังต่อไปนี้

4.1 คลังวัตถุดิบและส่วนประกอบ (Raw Material and Component Warehouse) มีไว้เพื่อเก็บวัตถุดิบไว้ในบริเวณหรือใกล้กับโรงงานผลิตหรือประกอบสินค้า

4.2 คลังเก็บสินค้าในกระบวนการผลิต (Work-in-process Warehouse) มีไว้เพื่อเก็บชิ้นส่วนหรือผลิตภัณฑ์ที่ยังผลิตหรือประกอบไม่เสร็จ

4.3 คลังสินค้าที่ผลิตเสร็จแล้ว (Finished Goods Warehouse) มีไว้เพื่อเก็บสินค้าที่ผลิตเสร็จแล้วเพื่อสร้างความสมดุลและสำรองสินค้าเพื่อลดปัญหาซึ่งเกิดจากความผันแปรระหว่างตารางการผลิตกับความต้องการผลิตภัณฑ์ ด้วยจุดประสงค์ดังกล่าว ทำให้คลังสินค้ามักตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับจุดผลิตและมักจะเคลื่อนย้ายสินค้ากันในคราวละเต็มพาเลต ทั้งนี้บนสมมติฐานที่ว่าการผลิตและการจัดการสินค้าในคลังสินค้าใช้ขนาดพาเลตเดียวกันกับการบรรทุกสินค้า คลังสินค้าที่ให้บริการในลักษณะนี้จะต้องเก็บสินค้าให้เพียงพอกับความต้องการสินค้าที่มีช่วงเวลายาวไปจนถึงไตรมาสกว่าจะถึงกำหนดกระจายสินค้าออกไปในแต่ละครั้ง

คลังกระจายสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Warehouse and Distribution Centers) ทำหน้าที่รวบรวมและจัดสินค้าที่มาจากแหล่งผลิตต่างๆของผู้ผลิตรายเดียวหรือจากผู้ผลิตหลายรายแล้วรวบรวมสินค้าจัดส่งไปยังลูกค้าต่อไป คลังสินค้าประเภทนี้อาจจะตั้งอยู่ในใจกลางศูนย์อุตสาหกรรมหรืออยู่ท่ามกลางกลุ่มลูกค้า การเคลื่อนไหวของสินค้าแต่ละคราวจะเป็นแบบรับเข้าในแบบเต็มพาเลตหรือเต็มลัง แต่จ่ายออกเป็นแบบไม่เต็มพาเลตหรือลัง ขนาดและพื้นที่เก็บมักจะเพียงพอสำหรับความต้องการเพียงสัปดาห์หรืออย่างมากไม่เกินเดือน

คลังสินค้าและศูนย์การเติมสินค้า (Fulfillment Warehouse and Fulfillment Centers) ใช้เพื่อการรับ หยิบและขนส่งสินค้าตามใบสั่งซื้อจำนวนไม่มากของผู้บริโภคโดยทั่วไป

คลังสินค้าท้องถิ่น (Local Warehouse) ใช้เพื่อการกระจายสินค้าในพื้นที่หนึ่งๆเพื่อลดระยะทางในการจัดส่งให้สั้นลงและเพื่อให้มีการสนองตอบต่อความต้องการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว บ่อยครั้งที่จะมีการหยิบสินค้าเพียงรายการเดียวเพื่อไปส่งลูกค้าทุกวัน

คลังสินค้าที่ให้บริการแบบเพิ่มมูลค่า(Value-added Service Warehouse) ให้บริการในลักษณะของกิจกรรมสนับสนุน โดยที่กิจกรรมหลักๆของงานคลังจะไม่มีการปฏิบัติในที่นี้ อาทิเช่น การบรรจุ การติดฉลาก การทำเครื่องหมาย การแปะป้ายราคา และกระบวนการรับสินค้าคืน เป็นต้น

การวิเคราะห์ข้อมูล ... ดูบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติมที่ เอกสารดาวน์โหลด

.

สนใจคู่มือ ดาวน์โหลดได้ที่เอกสารแนบด้านล่าง

 --------------------------------

ดูบทความอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่

 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2552

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 15 บทความ จัดทำเป็นรูปเล่ม เพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน  หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล

 --------------------------------

ที่มา

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2552

โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward