..
รูปกรอบแนวคิดของรูปแบบ Diamond Model
รูปแบบโครงสร้างซัพพลายเขนแบบ Diamond Model
รูปแบบ Diamond Model คือ กรอบแนวคิดหรือตัวแบบสำหรับการวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขัน ของเครือข่ายวิสาหกิจในระบบโลจิสติกส์และซัพพลายเชน หรือลักษณะชองการรวมตัวกันในรูปแบบคลัสเตอร์ โดย Michael E. Porter ได้พัฒนาขึ้นเมื่อปี 1990 ได้มีการศึกษากันว่าเครื่องมือและกระบวนการอันสำคัญ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศได้คือการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ หรือ “คลัสเตอร์” ซึ่งถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่สำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
รูปแบบ Diamond Model เป็นการพิจารณาและประเมินสภาวการณ์ปัจจุบันของปัจจัยแวดล้อมทางธุรกิจที่สำคัญ 4 ด้าน ที่จะมีผลกระทบต่อความสามารถในการเพิ่มผลิตภาพ (productivity) ของบริษัทที่อยู่ในในเครือข่ายวิสาหกิจในระบบโลจิสติกส์และซัพพลายเชน อันจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเครือข่ายวิสาหกิจในระบบโลจิสติกส์และซัพพลายเชนนั้นทั้งระบบซัพพลายเชนในที่สุด ว่าสภาวการณ์เหล่านั้นมีลักษณะที่จะเป็นการเอื้อประโยชน์หรือจะเป็นอุปสรรคต่อการปรับปรุง หรือพัฒนาผลิตภาพของธุรกิจในเครือข่ายวิสาหกิจในระบบโลจิสติกส์และซัพพลายเชนนั้นหรือไม่อย่างไรและมากน้อยเพียงใด รวมไปถึงการวิเคราะห์บทบาทของภาครัฐที่จะมีผลต่อปัจจัยแวดล้อมทั้ง 4 ด้านด้วย ทั้งนี้ปัจจัยดังกล่าวประกอบด้วย
เงื่อนไขด้านปัจจัยการผลิต (Input Factor Conditions) ได้แก่ ปัจจัยด้านทรัพยากรมนุษย์ ทรัพยากรธรรมชาติ โครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณูปโภค โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แหล่งเงินทุน ฯลฯ ที่จะมีผลต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท
เงื่อนไขด้านอุปสงค์ (Demand Conditions) ได้แก่ ทัศนคติและรสนิยมของผู้บริโภค ระดับความพิถีพิถันและความเรียกร้องต้องการของผู้บริโภคต่อสินค้าและบริการของบริษัท ลักษณะและโครงสร้างการแบ่งส่วนการตลาดสำหรับสินค้าและบริการของบริษัท ความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละส่วนการตลาดเป็นที่คาดเดาได้ในระดับใด ฯลฯ
บริบทด้านการแข่งขันและกลยุทธ์ของธุรกิจ (Strategy and Rivalry Context) ได้แก่ ลักษณะและบรรยากาศของการแข่งขันทางธุรกิจ กลไกการตลาด ฯลฯ ที่จะมีผลต่อการกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจของบริษัท
อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนกัน (Related and Supporting Industries) ได้แก่ กิจกรรมทางธุรกิจต่างๆที่เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกันในสายของซัพพลายเชนมีความครบถ้วนมากน้อยเพียงใด และ มีระดับของความสัมพันธ์ร่วมมือระหว่างกันเพียงใด เช่น แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารความรู้ระหว่างกัน วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์/ตลาดร่วมกัน ฯลฯ
ตัวอย่างของรูปแบบโครงสร้างแบบ Diamond Model
------------------------------------------------------------------