iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ

Supply Positioning Model รูปแบบการแบ่งกลุ่มซัพพลายเออร์

รูปแบบการแบ่งกลุ่มซัพพลายเออร์ (Supply Positioning Model) คือ การกำหนดแผนและวางยุทธศาสตร์ในเรื่อง การบริหารจัดเลือกซัพพลายเออร์ การเลือกเทคนิคการจัดซื้อ การจัดการความสัมพันธ์ และการเลือกนักจัดซื้อ เพื่อให้สามารถบริหารด้านชัพพลายเชนได้ดีที่สุด โดยใช้ปริมาณยอดการสั่งซื้อ และความสำคัญของสินค้าที่ซื้อมาใช้แบ่งกลุ่มตามความสำคัญสูงต่ำ เพื่อทำการจัดแบ่งรูปแบบในการดูแลและจัดการจะแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม

1. สินค้ากลุ่มที่ไม่เกิดผลกระทบมากนัก (Routine or Non-critical Supplies / (Low Value - Low Risk)) คือ สินค้ากลุ่มที่หาง่ายหรืออาจใช้น้อย ไม่ควรเสียเวลากับมันมากนักแต่ควรมีแผนบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ (Low Supply Risk–Low Profit Impact) ดูแลการซื้อให้อยู่ในราคาที่ปกติไม่แพงมากไปก็พอ ไม่ควรเสียเวลาจัดการหรือทำการต่อราคาสินค้ากลุ่มนี้มากไปเพราะไม่ได้มีผลอะไรต่อธุรกิจ การสินค้ากลุ่มนี้มีในปริมาณหรือมูลค่าต่อครั้งน้อย หากไปจัดการมากไปกลับอาจจะทำให้เกิดไปเพิ่มเป็นต้นทุนได้

2. สินค้ากลุ่มที่ควรสนในและปรับปรุงได้ดี (Leverage Supplies / (High Value - Low Risk)) คือ สินค้ากลุ่มที่ควรสนใจและปรับปรุงให้ดีได้ เพราะการลดต้นทุนของผู้ซื้อจากกลุ่มนี้จะช่วยสร้างผลกำไรที่สูงขึ้น (Low Supply Risk–High Profit Impact) ปัจจุบันองค์กรมักจะขาดการวิเคราะห์ในกลุ่มนี้ดีพอ อาจสับสนว่าสินค้ากลุ่มนี้เป็น กลุ่มอื่นจึงมีปัญหาในการจัดการที่ไม่ดีพอ อาจเกิดการต่อรองราคาหรือการบริหารการสั่งซื้อได้ไม่ดีพอ การรู้จักผู้ขายหรือแหล่งซื้อสินค้าน้อยเกินไป ทำให้ไม่ได้ประโยชน์เต็มที่จากการบริหารจัดการสินค้ากลุ่มนี้

3. สินค้ากลุ่มที่จะเกิดปัญหาเมื่อขาด (Bottleneck Supplies / (Low Value - High Risk)) คือ สินค้ากลุ่มที่หากขาดจะทำให้เกิดปัญหาในขั้นตอนการทำงานจนต้องรอ อาจเรียกว่า เป็นคอขวด (Bottleneck) และเรียกกลุ่มสินค้ากลุ่มนี้ว่า สินค้ากลุ่มที่เป็นคอขวด (Bottleneck Items) กลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงในการเกิดทำให้เกิดผลกระทบมาก แต่แม้ว่าอาจจะมีมูลค่าไม่มาก (High Supply Risk–Low Profit Impact) หากเป็นสินค้าที่มีมูลค่าไม่มากอาจเลือกวิธีแก้ปัญหาด้วยการซื้อมาเก็บตุนไว้ เพื่อช่วยลดความวุ่นวาย ลดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อ และลดการจัดการภายในลง แต่ก๊มีข้อจำกัดปัญหาควรพิจารณาเช่น มีค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้จัดเก็บ มีการเสื่อมสภาพ และมีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดเก็บ (holding costs) บางครั้งกลุ่มนี้อาจใช้วิธีการทำสัญญาหรือตกลงซื้อขายกันล่วงหน้า เพื่อให้มีความสม่ำเสมอของสินค้าเข้ามาช่วย สิ่งสำคัญอีกเรื่องคือต้องดูจากกลุ่มนี้คือเรื่องของความน่าเชื่อถือ ความสามารถการส่งมอบ และความมั่นคงของชัพพลายเออร์ด้วย

4. สินค้ากลุ่มที่ต้องระวังและเฝ้าติดตาม (Critical Supplies / (High Value - High Risk)) คือ สินค้ากลุ่มที่ควรต้องระวังและเฝ้าติดตาม อาจเรียกว่าเป็น กลุ่มพิเศษมีผลต่อธุรกิจ (Strategic Items) เพราะไม่เพียงแต่จะเกิดความเสียหายที่สูง แต่ยังจะใช้สร้างผลกำไรที่สูงด้วย (High Supply Risk–High Profit Impact) หากต้องการทำในกลุ่มนี้ ควรต้องเริ่มวางแผนมองหาทางเลือกในการใช้สินค้าทดแทน และหาซัพพลายเออร์เพิ่มให้มีมากขึ้น เพื่อเป็นคู่เทียบหรือเป็นทางเลือกไม่ควรมีชัพพลายเออร์น้อยกว่าสองถึงสามราย เพราะหากชัพพลายเออร์ที่ส่งนั้นมีปัญหาก็อาจส่งผลกระทบที่สูง ต้องสามารถสลับหารายอื่นมาทดแทนได้ทันเพื่อช่วยลดปัญหาจาก Supply Risk และแผนระยะยาวควรเร่งผลักสินค้ากลุ่มนี้ให้เป็นมาเป็นกลุ่ม Leverage Items ที่เราผู้ซื้อมีอำนาจต่อรองได้มากกว่า

องค์กรที่ดีควรใช้ข้อมูลการสั่งซื้ออย่างมีประสิทธิภาพ ในการจัดแบ่งกลุ่มหากใช้จัดการด้านไอทีเข้ามาช่วยให้มีความชัดเจนในการใช้วัตถุดิบมากขึ้น ช่วยให้มั่นใจได้ว่าแผนพิจารณาป้องกันผลกระทบต่อกลุ่มสินค้าและวัตถุดิบที่มีให้มากที่สุดได้ ช่วยให้เกิดแผนรับมือกับปัญหาตามสถานการณ์ได้ การจัดซื้อทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็น ฝ่ายผู้ซื้อหรือฝ่ายผู้ขาย ไม่ควรที่จะปล่อยให้ฝ่ายใดมีอำนาจควบคุมการต่อรองมากเกินไป ทั้งสองฝ่ายจะต้องมีการปรับดุลเพื่อไม่ให้มีฝ่ายใดได้เปรียบหรือเสียเปรียบมากเกินไป ควรที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องช่วยกันแบบได้ประโยชน์ร่วมกัน (win-win) เพื่อช่วยให้สามารถรักษาดุลยภาพของอำนาจในการซื้อขายต่อรองธุรกิจร่วมกันเอาไว้

-------------------------------------

 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward