iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป

Lean I ความสูญเสียเนื่องจากการมีสินค้าคงคลังมากเกินไป (Inventory lost)

1. ที่มาปัญหา

แนวคิดเดิมที่ทำให้เกิดปัญหาความสูญเสียเนื่องจากการมีสินค้าคงคลังมากเกินไป (Inventory lost) คือ การมีสินค้าคงคลังมาก ๆ เป็นสิ่งดี เพื่อเป็นการรับประกันได้ว่าเรามีผลิตภัณฑ์หรือสินค้าพร้อมขาย และยังจะสามารถส่งมอบต่อลูกค้าได้ตลอดเวลา อีกทั้งยังคิดว่าการผลิตต้องเป็นล๊อคใหญ่ให้มากที่สุดเพราะ หากผลิตที่ละมากๆ จะทำให้ซื้อวัตถุดิบมาใช้ครั้งละมาก ๆ ก็จะได้ส่วนลดมากทำให้ต้นทุนต่ำโดยไม่ได้คิดว่าการจัดการสินค้าคงคลังมีค่าใช้จ่าย

2. นิยาม

ความสูญเสียเนื่องจากการมีสินค้าคงคลังมากเกินไป (Inventory lost) มีการเก็บ Stock วัตถุดิบ หรือ Stock สินค้ามากเกินความจำเป็นความสูญเสียจากการมีวัสดุคงคลังมากเกินไป สินค้าคงคลังรวมถึง วัตถุดิบในการผลิต วัตถุดิบระหว่างการผลิต และสินค้าสำเร็จรูป ไม่ควรมีมากเกินไป การมีวัตถุดิบที่ไม่ได้ใช้ในกระบวนการเก็บอยู่ ทำให้พื้นที่การทำงานลดลง โดยไม่เกิดคุณค่าขึ้นโดยเฉพาะวัตถุดิบระหว่างการผลิต (Work in process) ดังนั้นผู้ผลิตจึงควรวางแผนการผลิตและพยากรณ์การผลิตให้ดี โดยร่วมมือกับลูกค้าและคู่ค้า และการใช้เทคนิค Kanban มาช่วยเพื่อดึงวัตถุดิบมาผลิตอย่างพอดีตามความต้องการ

3. จุดสังเกต 

เราสามารถที่จพิจารณาปัญหาในด้านนี้ได้จาก

- ปริมาณวัตถุดิบในการผลิต (Raw Material)

- ปริมาณผลผลิตในขั้นตอนการผลิต (WIP)

- ปริมาณสินค้าสำเร็จรูปที่มี (Finished Goods)

- ปริมาณสินค้าที่รอบรรจุ (Packaging)

- ปริมาณอะไหล่และชิ้นส่วนประกอบที่มี (Spare Part)

- ปริมาณที่อยู่ในระหว่างขนส่ง (Tooling)

- ปริมาณที่เก็บในแต่ละพื้นที่ (Stationary)

4. ปัญหาที่พบและการปรับปรุง

ปัญหาที่พบ การปรับปรุง

1. ใช้พื้นที่จัดเก็บมาก

2. ต้นทุนจม (สินค้าและภาชนะบรรจุ)

3. เกิดปัญหาภาระคอกเบี้ย

4. ใช้พื้นที่จัดเก็บมาก

5. อาจเกิดอุบัติเหตุในการจัดเก็บ

6. สินก้ากงคลังเสื่อมคุณภาพหมดอายุตกรุ่น และเกิดเป็น Dead Stock

7. ปรับการผลิตตามตลาดที่เปลี่ยนแปลงได้ยาก

8. ต้นทุนจม อยู่ในกระบวนการนานเท่าที่วัสดุถูกสั่งมาจนกระทั่งทำการผลิตเสร็จ เละขายให้กับลูกค้า

9. เมื่อเปลี่ยนคำสั่งการผลิต จะมีวัสดุตกค้างอยู่ในคลังสินค้ามากโดยไม่ทราบว่าจะมีความต้งการใช้อีกเมื่อไร

10. วัสดุเสื่อมคุณภาพและล้าสมัย (หากระบบการควบคุมวัสดุคงคลังไม่ดีพอ)

11. สั่งซื้อซ้ำซ้อน (หากระบบการควบคุมวัสดุคงคลังไม่เพียงพอ)

12. ต้องการแรงงานและการจัดการมากในการจัดเก็บ

1. กำหนดระดับในการจัดเก็บ มีจุดสั่งซื้อที่ชัดเจน

2. กำหนดปริมานมาตรฐานในการจัดก็บสูงสุด-ต่ำสุด

3. กำหนดจุดสั่งซื้อที่เหมาะสม

4. กำหนดจุดสั่งผลิคที่เหมาะสม

5. ปรับปรุงการวางแผนการผถิตและการสั่งซื้อ

6. เพิ่มความแม่นยำในการควบคุมปริมาณสินค้าคงคลัง

7. เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

8. จัดทำแผนการจัดซื๊อให้สอดคล้องกับกำหนดการผลิต

9. สร้างระบบการผลิตแบทันเวลาพอดี (Jit In Time)

10. ลดช่วงเวลานำ (Lead Time) ในการจัดซื๊อ เพื่อลดความถี่ของการจัดซื๊อคราวละมากๆ โดยการสร้างสัมพันธ์กับคู่ค้า และการจัดการระบบห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain management)

11. ปรับการไหลของงานให้สอดคล้องกับกระบวนการ เพื่อลดการสะสมของงานระหว่งกระบวนการ

12. ควบคุมปริมาณวัสดุโดยใช้เทคนิคการควบคุมด้วยการมองเห็น (Visual control) เพื่อให้สามารถเข้าใจและสังเกตได้ง่าย อีกทั้งช่วยให้เกิดความสะดวก และลดความผิดพลาดในการสั่งซื้อเกินความจำเป็นได้

13. ใช้ระบบเข้าก่อน ออกก่อน (First in first out) เพื่อป้องกันไม่ให้มีวัสดุตกค้างเป็นเวลานาน

14. วิเคราะห์หาวัสดุทดแทน (Value engineering) ที่สามารถสั่งซื้อได้ง่ายมาใช้แทน เพื่อลดปริมาณวัสดุที่ต้องทำการจัดเก็บ

5. บทสรุป 

การซื้อวัสดุคราวละมาก ๆ เพื่อเป็นประกันว่าจะมีวัสดุสำหรับผลิตตลอดเวลา หรือเพื่อให้ได้ส่วนลดจากการสั่งซื้อ จะส่งผลให้วัสดุที่อยู่ในคลังมีปริมาณมากเกินความต้องการใช้งานอยู่เสมอ เป็นภาระในการดูแลและการจัดการ

 

 

 ------------------------------------------------

ที่มาข้อมูล

ภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com

 
--------------------------------------------------------
สนใจลิงค์ที่เกี่ยวข้องคลิกดูเพิ่มเติมได้ตามลิงค์หัวข้อด้านล่าง
Lean การเปลี่ยนแปลงแบบลีน (Lean Transformation) รวมข้อมูล
--------------------------------------------------------
 

ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง คลิกที่นี่

WIM คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง (Warehouse & Inventory management)

-------------------------------------------------





ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward