Lean O ความสูญเสียจากการผลิตที่มากเกินไป (Overproduction lost)
1. ที่มาปัญหา
แนวคิดที่ทำให่้เกิดปัญหาการผลิตที่มากเกินไป (Overproduction lost) คือ แนวคิดที่ว่าทุกหน่วยในธุรกิจจะต้องทำการผลิตมากที่สุด โดยไม่ได้มีการคำนึงถึงผลกระทบที่จะมีต่อไปถึงหน่วยงานถัดไป มุ่งดูการจัดการในหน่วยตัวเองเท่านั้น จึงทำให้เกิดปัญหามีการผลิตรายการที่ไม่ต้องการ มีผลผลิตที่มีจำนวนมากกว่าความต้องการจริงมุ่งที่จะเก็บสต๊อดไว้มาก เพื่อป้องกันกรณีมีปัญหาการผลิตในหน่วยตนก็ยังจะสามารถมีสินค้าส่งได้ ไม่เกิดปัญหาในการส่งมอบงานป้อนหน่วยงานถัดไป
2. นิยาม
O = Overproduction lost คือ การผลิตที่มากเกินไป เป็นความสูญเสียจากการผลิตมากเกินความต้องการ เกินกว่าความต้องการของลูกค้า ผู้ผลิตสินค้าต้องการผลิตสินค้าให้มีจำนวนมากพอที่จะขายให้กับลูกค้าได้และต้องไม่สูญเสียโอกาสในการขายสินค้าเมื่อลูกค้าต้องการ ดังนัั้นการผลิตสินค้าเก็บรอไว้จำนวนมากเป็นสาเหตุของการผลิตที่มากเกินไป เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายในเรื่องการเก็บวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปในคลังสินค้า ระบบ JIT (just in time) จึงเป็นที่นิยมสำหรับการแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยการผลิตให้พอดีกับความต้องการของลูกค้า
3. จุดสังเกต
เราสามารถที่จะพิจารณาปัญหาในด้านนี้ได้จาก
- ผลิตภัณฑ์รอผลิตมากไป (WIP)
- ผลิตภัณฑ์สำเร็จมากไป (Finished Goods)
- การมีแผนการผลิตแบบเผื่อเกินความจำเป็น
- วางแผนการผลิตเพื่อชดเชยของเสียเครื่องจักรเสีย
- ระยะเวลาที่ใช้ในการตั้งเครื่องมีเวลานาน
- วางแผนการผลิตแบบล็อตใหญ (Big Lot Production)
- มีนโยบายกำหนดว่า แม้มีกำลังการผถิตส่วนเกินเหลืออยู่ก็ยังต้องผลิตต่อเพื่อไม้ให้เกิดปัญหาคนและเครื่องว่างงาน
4. ปัญหาที่พบและการปรับปรุง
ปัญหาที่พบ | การปรับปรุง |
1. เสียเวลาและแรงงานไปในการผลิตที่ยังไม่จำเป็น 2. เสียพื้นที่ในการจัดเก็บ WIP 3. เกิดการขนย้ายวัสดุที่ซ้าซ้อนโดยไม่จำเป็น 4. ของเสียไม่ได้รับการแก้ไขทันที 5. ต้นทุนจม เนื่องจากต้องการพื้นที่เพื่อจัดเก็บมากขึ้น (More storage area) และเกิดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บ เช่น การเช่าโกดัง เพื่อเก็บวัสดุและสินค้า 6. ปิดบังปัญหาการผลิต เช่น เครื่องจักรเสีย 7. ใช้ทรัพยากรในการบริหารจัดการมากขึ้นเช่น พนักงานในการควบคุมงาน งานเอกสาร เป็นต้น 8. ความเสื่อมของสภาพสินค้า 9. ต้นทุนจม และภาระดอกเบี้ย 10. ของเสียไม่ได้รับการแก้ไขทันที 11. ปิดบังปัญหาการผลิตเช่นเวลาตั้งเครื่อง เครื่องจักรเสีย 12. ทำให้ใช้เวลาในการผลิตนาน (Production Lead Time) 13. ทำให้เกิดความสูญเปล่าอื่น ๆ ตามมา |
1. บำรุงรักษาเครื่องจักรให้มีสภาพพร้อมผลิตตลอดเวลา 2.ผลิตเฉพาะสิ่งที่ต้องการในปริมาณและเวลาที่ต้องการเท่านั้น 3. ลดของเสียเวลาเครื่องจักรเสียวลาการตั้งเครื่อง (Set Up Time) 4. พร้อมกับกำหนดปริมาณการผลิตแต่ละล็อตให้เล็กลง 5. ปรับกำลังการผลิตให้เหมาะสมกับปริมาณความต้องการของลูกค้า 6. ลดเวลาการตั้งเครื่องจักร (Reduce setup time) โดยศึกษาเวลาในการตั้งเครื่องจักร 7. จัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ให้พร้อมก่อนเริ่มตั้งเครื่อง 8. แยกขั้นตอนที่ทำได้ในขณะที่เครื่องจักรยังทำงานอยู่ออกจากขั้นตอนที่ต้องทำเมื่อเครื่องจักรหยุดเท่านั้น 9. ผลิตในปริมาณและเวลาที่ต้องการเท่านั้น โดยปรับเวลาของกระบวนการให้สอดคล้องกับปริมาณการผลิต (Synchronize time and amount of process) 10. ทำการผลิตเฉพาะที่จำเป็น (Make only what is need now) 11. ฝึกให้พนักงานมีทักษะหลายอย่าง 12.จัดลำดับขั้นตอนในการตั้งเครื่องจักรให้เหมาะสม 13. กระจายงานอย่างเหมาะสมโดยไม่ให้เกิดการรองาน 14.จัดหา/ทำอุปกรณ์เพื่อช่วยในการกำหนดตำแหน่งอย่างรวดเร็ว 15. ปรับปรุงขั้นตอนที่เป็นคอขวด (Bottle-neck) ในกระบวนการ เพื่อลดรอบเวลาการผลิต 16. ผลิตภัณฑ์ขั้นต่ำที่ผลิตและสามารถตอบสนองการทำงานได้ (Minimum Viable Product, MVP) |
5. บทสรุป
ความสูญเสียเนื่องจากการผลิตมากเกินไป (Overproduction) การผลิตสินค้าปริมาณมากเกินความต้องการการใช้งานในขณะนั้น หรือผลิตไว้ล่วงหน้าเป็นเวลานาน มาจากแนวความคิดเดิมที่ว่า แต่ละขั้นตอนจะต้องผลิตงานออกมาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้เกิดต้นทุนต่อหน่วยต่ำสุดในแต่ละครั้ง โดยไม่ได้คำนึงถึงว่าจะทำให้มีงานระหว่างทำ (Work in process, WIP) ในกระบวนการเป็นจำนวนมากและทำให้กระบวนการผลิตขาดความยืดหยุ่น
------------------------------------------------
ที่มาข้อมูล
ภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com