Lean T ความสูญเสียจากการขนส่งเคลื่อนย้าย (Transportation lost)
1. ที่มาปัญหา
แนวคิดเดิมที่ทำให้เกิดปัญหาความสูญเสียจาก ความสูญเสียจากการขนส่งเคลื่อนย้าย (Transportation lost) คือ การขนส่งเคลื่อนย้ายผลผลิต ซึ่งที่ผ่านมาคิดว่าอย่างไรก็ต้องมีการขนส่งเคลื่อนย้ายเป็นธรรมดา เป็นเรื่องปกติที่ต้องยอมให้มี ทั้งที่ความเป้นจริงการเคลื่อนย้ายเป็นกระบวนการที่มีค่าใช้จ่ายมากและยังก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มจริง
2. นิยาม
ความสูญเสียจากการขนส่งเคลื่อนย้าย (Transportation lost) คือ ความสูญเสียที่เกิดจากการที่มีการขนย้ายมากเกินไป หรือการเคลื่อนย้ายโดยไม่จำเป็น เป็นการเคลื่อนย้ายของวัตถุดิบทั้งก่อนและระหว่างกระบวนการที่มีระยะทางและเวลานานเกินไป อาจเกิดจากคลังสินค้าและโรงงานไม่ได้อยู่ใกล้กัน หรือแม้แต่ที่ตั้งของเครื่องจักรในกระบวนการผลิตที่อยู่ไกลกันมากเกินไป การจัดวางผังโรงงานที่ดี (Plant layout) เป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยได้
3. จุดสังเกต
เราสามารถที่จะพิจารณาปัญหาในด้านนี้ได้จาก
- การเคลื่อนย้ายโลจิสติกส์ขาเข้า (Inbound Logistics) เช่น ระยะทาง เวลาที่ใช้ และขั้นตอนการเคลื่อนย้าย
- การเคลื่อนย้ายโลจิสติกส์ภายในโรงงาน (In-Plant Logistics) เช่น ระยะทาง เวลาที่ใช้ และขั้นตอนการเคลื่อนย้าย
- การเคลื่อนย้ายโลจิสติกส์ขาออก (Outbound Logistics) เช่น ระยะทาง เวลาที่ใช้ และขั้นตอนการเคลื่อนย้าย
4. ปัญหาที่พบและการปรับปรุง
Waste | ปัญหาจากการผลิตของเสีย | การปรับปรุง |
Transportation |
1. ผลกระทบจากต้นทุนการขนส่ง (คน/พลังงาน/อุปกรณ์/เวลา) 2. สินค้าเสียหาย 3. สินค้าสูญหาย 4. อุบัติเหตุจากการขนส่ง 5. ถ้าขนส่งไม่ทันจะมีผลต่อคุณภาพของการผลิต ทำให้เสียโอกาสในการผลิตสินค้า 6. ต้นทุนในการขนส่ง ได้แก่ เชื้อเพลิง แรงงาน อุปกรณ์การขนย้าย และค่าบำรุงรักษาอุปกรณ์เหล่านั้น 7. เสียเวลาในการผลิต 8. วัสดุเสียหายหากวิธีการขนส่งไม่เหมาะสม 9. เกิดอุบัติเหตุหากขาดความระมัดระวังในการขนส่ง |
1. ใช้ระบบ Milk-Run ในการขนส่งสินค้า 2. ปรับปรุงผังโรงงาน (Layou) เพื่อลดระยะทางขนส่ง 3. ลดการขนส่งที่ซ้ำช้อน 4. เพิ่ม Truck Container Utilization ในการขนส่ง 5. ใช้อุปกรณ์ขนถ่ายและดูแลรักษาในการขนส่งที่เหมาะสม เช่น รถยก, รถลาก, Pallet, Dolly, Rack, สายพานลำเถียง, รอกชัก, Crane, ลิฟต์ เป็นต้น 6. วางผังเครื่องจักรใหม่ จัดลำดับเครื่องจักรตามกระบวนการผลิตให้อยู่ในบริเวณเดียวกันเพื่อลดระยะทางขนส่งในแต่ละขั้นตอน โดยยึดแนวทางความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายงานที่เกี่ยวข้องให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน 7. ศึกษาเส้นทางในการขนส่ง เพื่อลดระยะทางและความถี่ในการขนส่ง 8. คิดหาแนวทางปรับปรุงสำหรับการขนถ่ายเพื่อลดปริมาณในการขนถ่ายให้น้อยลง เช่น การจัดหาอุปกรณ์ในการขนย้ายที่มีความยืดหยุ่นสูง 9. ใช้บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม 10. ลดการขนส่งซ้ำซ้อน 11. ใช้อุปกรณ์ขนถ่ายที่เหมาะสม 12. ลดปริมาณชิ้นงานในการขนส่งแต่ละครั้ง เพื่อให้สามารถส่งงานไปให้ขั้นตอนต่อไปได้เร็วขึ้นไม่ต้องเสียเวลารอนาน 13. การจัดทำกิจกรรม 5 ส (5S)
|
5. บทสรุป
ความสูญเสียเนื่องจากการขนส่ง (Transportation) เป็นกิจกรรมที่มีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก และงานด้านส่วนใหญ่จะยังไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มในผลิตภัณฑ์ที่ได้กับลูกค้า ดังนั้นจึงต้องควบคุมและจัดการในด้านนี้ เช่น การลดระยะทางในการขนส่งลงให้เหลือเท่าที่จำเป็นเท่านั้น เป็นต้น
ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com