ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการขนส่งเทคโนโลยีเกี่ยวกับการขนส่งที่สำคัญที่นำมาใช้ในการบริหารจัดการโลจิกติกส์ซัพพลายเชน หรือที่เรียกว่า ระบบบริหารจัดการงานขนส่ง ซึ่งจะกล่าวในที่นี้ ได้แก่
1. ระบบบริหารจัดการขนส่ง (TMS: Transportation Management System) เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการบริหารธุรกิจขนส่ง โดยช่วยในการจัดการระบบงานและเก็บข้อมูลต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิคส์ อีกทั้งครอบคลุมระบบงานต่าง ๆ ในธุรกิจขนส่งตั้งแต่การรับสินค้าจากลูกค้า, รายละเอียดของ ผู้ส่ง-ผู้รับสินค้า, การคุมรถและพนักงานประจำรถ,การกระจายสินค้าและการวางบิล, ประวัติของรถและระบบงานซ่อมบารุง รวมถึงฟังก์ชั่นการออกรายงาน
สำหรับระบบจัดการงานขนส่ง ในท้องตลาดยังเรียกแตกต่างกันไป องค์การที่ให้บริการด้านการตรวจสอบสถานะสินค้าหรือรถขนส่งสินค้าโดยใช้ระบบ GPS เรียกบริการ
ของตนเองว่า Fleet Management System ในขณะที่องค์กรที่สนใจเรื่องการจับคู่ความต้องการขนส่งสินค้ากับรถวิ่งเที่ยวเปล่าในเส้นทางที่สอดคล้องกัน เพื่อหาโอกาสในการใช้รถวิ่งรถเปล่า ซึ่งคิดค่าขนส่งที่ต่ำกว่ามาก เรียกบริการของตนเองซึ่งเป็นบริการ web service นี้ว่า Transport Management System หรือ Fleet Management System ส่วนซอร์ฟแวร์พื้นฐานที่ผู้ประกอบการขนส่งหรือผู้ให้บริการขนส่งจะใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดส่งโดยเฉพาะ มีหน้าที่หลักสาคัญคือ การจัดสรรรถบรรทุก หรือ Fleet Optimization และการจัดเส้นทางเดินรถ หรือ Route Optimization มีชื่อเรียกโดยรวมว่า TMS (Transport Management System)
2. ระบบบริหารจัดการกองรถขนส่ง (Fleet Management System) ระบบนี้คงเป็นระบบเดียวที่มักจะดำเนินการโดยหน่วยงานภายในขององค์กรเอง วัตถุประสงค์หลักของการติดตั้งระบบนี้ก็เพื่อใช้ในการบริหารจัดการรถบรรทุกที่มีจำนวนมากเกินกว่าที่จะบริหารจัดการการด้วยคนโดยไม่มีเทคโนโลยีเข้ามาช่วย โดยเฉพาะในเรื่องต่าง ๆ
ดังต่อไปนี้
2.1 การจัดทำตารางการบำรุงรักษา (Maintenance Scheduling) โดยเฉพาะรถบรรทุกซึ่งมักมีกลไกที่ต้องมีการกำหนดการบำรุงรักษาเป็นระยะ ๆ เป็นการดูแลรักษาแบบป้องกัน เพื่อให้มั่นใจในสภาพที่พร้อมต่อการใช้งาน เช่น ระบบไฮดรอลิกและระบบความเย็น เป็นต้น นอกเหนือจากระบบเครื่องยนต์ซึ่งต้องดูแลเป็นปกติอยู่แล้ว
2.2 การควบคุมปริมาณอะไหล่รถบรรทุกเพื่อการซ่อมบำรุง (Vehicle Parts Control, Stock Re-ordering and Inventory Control) หากมีปริมาณรถเป็นจำนวนมากและมีศูนย์ซ่อมบำรุงเป็นของตนเอง จำเป็นต้องมีฟังก์ชันที่ช่วยให้การควบคุมปริมาณอะไหล่คงคลัง และปริมาณการสั่งซื้อสินค้าให้เป็นไปอย่างเหมาะสม พอดี และสอดคล้องกับความต้องการใช้งาน
2.3 (Fleet Administration) เป็นฟังก์ชันในการบันทึกช่วยจำเกี่ยวกับงานทะเบียนรถ การเสียภาษี การขึ้นแผ่นทะเบียนรถ รวมทั้งการบันทึกเก็บประวัติซึ่งเป็นงานประจำที่หลีกเหลี่ยงไม่ได้เช่นกัน
2.4 การควบคุมดูแลระหว่างการใช้งาน (Operation Monitoring) การดูแลยางรถบรรทุก การใช้น้ำมันของรถและ เป็นค่าใช้จ่ายสำคัญซึ่งมีรายการประเภททรานแซกชั่นค่อนข้างมาก การมีฟังก์ชั่นนี้ช่วยให้เกิดการควบคุมดูแลที่เป็นระบบมากขึ้น
3. ระบบการวางแผนและเส้นทางการเดินรถ (Vehicle Routing & Planning) เป็นอีกระบบหนึ่งของการบริหารจัดการการขนส่งที่มีความสำคัญไม่น้อย ซึ่งมีผลต่อเนื่องกับ
การลดค่าใช้จ่ายของค่าขนส่ง กล่าวคือ ช่วยให้การควบคุมการวิ่งของรถและจำนวนเที่ยวรถเป็นไปอย่างมีระบบ ลดจำนวนเที่ยวรถที่ไม่จำเป็น และการจัดเส้นทางการเดินรถที่ประหยัดและคุ้มค่าที่สุด ซอฟท์แวร์ประเภทนี้สามารถช่วยงานใน 2 ด้านหลัก คือ
3.1 การวางแผนระดับกลยุทธ์ ซอฟท์แวร์ประเภทนี้ถูกนำมาประยุกต์ใช้เพื่อการวางแผนและออกแบบโครงการ การคำนวณ จำนวนรถบรรทุกที่จำเป็นสำหรับโครงการนั้น ๆ การวางแผนเส้นทางและกำหนดการเดินรถ และการวิเคราะห์ต้นทุนค่าขนส่ง
3.2 การวางแผนและอำนวยความสะดวกด้านปฏิบัติการ ซอร์ฟแวร์ประเภทนี้ถูกนำมาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในระดับปฏิบัติการ
4. ระบบตรวจหาตำแหน่งและควบคุมการเดินรถ (Vehicle Based System) ระบบนี้ครั้งหนึ่งเคยอาศัยสัญญาณดาวเทียมในการจับทิศทางของตำแหน่งรถในท้องถนนแต่ในปัจจุบันเทคโนโลยี GPRS เข้ามามีบทบาทและมีเครือข่ายที่เกือบจะครอบคลุม อีกทั้งง่ายต่อการนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวาง ซึ่งนอกเหนือจากการควบคุมคนขับรถและตัวรถที่วิ่งอยู่ในท้องถนนแล้ว ยังสามารถนามาใช้ประโยชน์หลาย ๆ ด้าน เช่น
- ควบคุมดูแลการใช้น้ำมันรถ
- การล็อคตู้คอนเทนเนอร์ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อป้องกันการถูกเปิดระหว่างทาง
- ตรวจสอบความผิดปกติของตัวรถและประสิทธิภาพของรถไปในตัว
- ควบคุมพฤติกรรมคนขับรถ
- ดูแลการเดินรถให้อยู่ในเส้นทางที่ควรจะเป็น และสภาพของท้องถนน
- สามารถรู้ความคืบหน้าของเส้นทางการเดินรถและตรวจสอบได้
- สามารถควบคุมอุณหภูมิ หากมีการติดตั้งกล่องวัดอุณหภูมิในห้องบรรทุก
- การดักฟังการสนทนามีสิ่งบอกเหตุผิดปกติ
5. GPS Tracking System : GPS (Global Positioning System) คือ ระบบบอกพิกัดผ่านทางดาวเทียม ซึ่งโคจรสูงจากพื้นโลกประมาณ 20,000 กิโลเมตร โดยจะทำหน้าที่ส่งสัญญาณให้กับอุปกรณ์ลูกข่ายเพื่อคำนวณ ตรวจสอบ และถอดรหัสสัญญาณที่ได้จากดาวเทียม เพื่อให้ได้พิกัดตำแหน่งและข้อมูลการเคลื่อนที่ของยานพาหนะที่ถูกต้องตลอด24 ชั่วโมง ดังนั้นการนำระบบ GPS Tracking System มาใช้เพื่อช่วยสนับสนุนงานบริหารการใช้ยานพาหนะได้เต็มประสิทธิภาพสามารถนำข้อมูลที่ได้รับมาใช้ในการวิเคราะห์ต้นทุนการใช้ยานพาหนะตามจริงได้ จึงช่วยลดค่าใช้จ่ายจากการใช้ยานพาหนะที่ไม่จำเป็น หรือผิดวัตถุประสงค์ รวมทั้งลดการสูญเสีย และติดตามแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุหรือปัญหาอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการขนส่ง หรือใช้ยานพาหนะได้อย่างทันท่วงที
อาจกล่าวได้ว่า ระบบนี้ช่วยให้ทราบ “ทุกพฤติกรรมของรถทุกคัน” เสมือนหนึ่งได้นั่งข้าง ๆ คนขับรถทุกคัน ฉะนั้นการทำงานของ GPS จึงสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมากมาย เช่น
- ตรวจสอบตำแหน่งปัจจุบันของรถ และแสดงพฤติกรรมของการใช้งานรถ
- ตรวจสอบสถานะปัจจุบันของรถ เช่น จอดรถ ติดเครื่อง-ดับเครื่อง หรือขับเร็วเกินกำหนด
- แสดงเส้นทางการเดินรถย้อนหลังในแต่ละวัน และแสดงเวลาเมื่อรถผ่านสถานที่ต่าง ๆ
- แสดงเวลาและสถานที่ที่มีการเริ่มใช้งานรถ ขับรถเร็ว จอดรถดับเครื่องจอดรถติดเครื่องทิ้งไว้ การเข้าสถานี และการเข้าไปในพื้นที่หวงห้าม
- สามารถกำหนดตำแหน่งสถานที่สาคัญในแผนที่ และบันทึกเวลาการถึงที่หมายในแต่ละวันได้
- สามารถบริหารเวลาการทำ งานของรถ ทำ ให้ใช้งานรถได้เต็มประสิทธิภาพ
ประโยชน์ของ GPS Tracking System มีดังต่อไปนี้
- ลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายจากการเดินรถ โดยการประหยัดค่าน้ำมัน และลดค่าใช้จ่ายจากการซ่อมบำรุง อันเนื่องมาจากการออกนอกเส้นทาง การติดเครื่องยนต์ทิ้งไว้ การขับรถเร็วซึ่งอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ รวมถึงสามารถตรวจสอบในเรื่องของการลักลอบดูดน้ำมันไปขายของพนักงานขับรถ
- ป้องกันการนำรถไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ ลดพฤติกรรมการใช้งานรถที่ไม่เหมาะสม เช่น การหยุดพักที่นานเกินควร หรือการจอดรถโดยติดเครื่องเป็นระยะเวลานาน
- เพิ่มความปลอดภัยในทรัพย์สิน และช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุจากการใช้ความเร็วที่ไม่เหมาะสม
- บริหารเวลาการทำงานของรถได้ดียิ่งขึ้น ทำให้ใช้งานรถได้เต็มประสิทธิภาพ และเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเดินรถให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- สามารถตรวจสอบคุณภาพการจัดส่งได้ตลอดเวลา (โดยอาศัยอุปกรณ์วัดอุณหภูมิในรถยนต์) สินค้าที่ลูกค้าได้รับจึงมีคุณภาพสูง
- สามารถตรวจสอบพฤติกรรมของคนขับรถแต่ละคน (จากหมายเลขประจำตัวคนขับ) จึงสะดวกในการควบคุมดูแลและขอความร่วมมือจากพนักงานขับรถ
- เพิ่มคุณภาพในการบริการลูกค้า และการแข่งขันทางธุรกิจอุปกรณ์ฮารด์แวรที่จำเป็นซึ่งเราเรียกกันว่า “กล่องดำ” เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ทางานร่วมกับดาวเทียมบอกพิกัด GPS ซึ่งมีความสำคัญโดยสามารถรายงานข้อมูลการใช้งานรถ เช่น ตำแหน่งของรถในเวลาต่าง ๆ ทั้งเส้นทางการเดินรถ เวลาที่มีการเริ่มใช้งานและ/หรือหยุดใช้งาน ความเร็วในการใช้งานรถ และการจอดรถติดเครื่อง โดยข้อมูลการใช้งานต่าง ๆ จะเก็บไว้ในหน่วยความจำของกล่องดำซึ่งสามารถถ่ายทอดข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อนำมาประมวลผลโดยโปรแกรมใช้งานภาษาไทย เพื่อให้ผู้ควบคุมสามารถตรวจสอบพฤติกรรมการใช้งานรถ และหาวิธีปรับปรุงเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งานรถโดยสามารถติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมเพื่อควบคุมถึงส่วนต่าง ๆ ในรถได้ เช่น
- อุปกรณ์วัดระดับน้ำมันในถังเชื้อเพลิง (Fuel Level Device) เพื่อวัดระดับน้ำมันในถังน้ำมัน
- อุปกรณ์วัดระดับอุณหภูมิภายในรถบรรทุก (Temperature) เพื่อวัดระดับอุณหภูมิในรถห้องเย็น
- อุปกรณ์ระบุหมายเลขประจำตัวพนักงานขับรถ (Driven ID)
- อุปกรณ์วิเคราะห์อุบัติเหตุ (Expedient Analyzer)
ประโยชน์ที่ได้จากอุปกรณ์กล่องดำ ได้แก่
- การแสดงข้อมูลทั้งแบบเรียลไทม์ และแบบย้อนหลัง สามารถแจ้งเตือนไปที่สำนักงานเมื่อเริ่มใช้งานรถ ความเร็ว การจอดรถดับเครื่อง-ติดเครื่องทิ้งไว้ การเข้าสถานีหลัก หรือสถานีย่อย หรือเข้าพื้นที่หวงห้าม รวมไปถึงสรุปพฤติกรรมการใช้รถได้อีกด้วย
- ความสามารถกำหนดตำแหน่งสถานที่สาคัญในแผนที่ และบันทึกเวลาการถึงที่หมายในแต่ละวันได้ ด้วยข้อมูลแผนที่ประเทศไทยระบบ Digital Vector ที่มีความละเอียดสูงถึง 1:4000 และ 1:20000
รูปแบบราบงานสรุปเพื่อการวิเคราะห์ ได้แก่
- รายงานสรุปการใช้รถที่ละเอียด เช่น รายงานการใช้รถประจำวันรายงานการขับรถเร็วเกินกำหนด รายงานการจอดรถติดเครื่องทิ้งไว้ ฯลฯ โดยนำเสนอในรูปแบบของตาราง และสามารถทำการส่งข้อมูลออกจากระบบ (Export File) โดยแปลงให้อยู่ในรูปแบบ Excel เพื่อปรับแต่งเพิ่ม ลดหัวข้อ ตามความต้องการได้
- รายงานสรุปในรูปแบบของกราฟเส้น กราฟแท่งสี และกราฟวงกลมแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ทำให้สะดวกและง่ายในการพิจารณาพฤติกรรมที่อยู่ในความสนใจนอกจากนี้ยังช่วยประหยัดเวลาสำหรับผู้บริหารในการตรวจสอบรถจำนวนมาก ๆ
- สามารถทำการพักข้อมูลด้วยระบบความจุสำรอง ในกรณีออกนอกพื้นที่เครือข่าย สัญญาณสื่อสาร
- สามารถออกแบบและพัฒนาชุดอุปกรณ์เสริมได้ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ยานพาหนะให้ตรงตามวัตถุประสงค์ขององค์กร
-----------------------------------------------
ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง พื้นฐานการจัดการโลจิสติกส์ คลิกที่นี่
LM57 พื้นฐานการจัดการโลจิสติกส์ (Fundamentals of Logistics Management) ปี 2557