กิจกรรมในคลังสินค้า (Inventory Activities)
เมื่อกล่าวถึงการดำเนินงานในคลังสินค้าจำเป็นต้องกล่าวถึงกิจกรรมหลักของคลังสินค้าก่อน เพื่อจะได้รู้ว่ากิจกรรมหลักสำคัญหรืองานที่เกิดขึ้นในคลังสินค้ามีอะไรบ้าง ซึ่งกิจกรรมที่สำคัญของคลังสินค้าสามารถจำแนกได้เป็น 2 กิจกรรม ได้แก่
1. กิจกรรมที่เกี่ยวการเคลื่อนย้าย (Movement Activities) การดำเนินงานทั่วไปในคลังสินค้า จะมีงานที่เป็นกระบวนการลักษณะคล้ายคลึงกัน ซึ่งสามารถแบ่งงานที่เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายสินค้า ออกเป็นขั้น ๆ ดังนี้
1.1 กระบวนการรับสินค้า (Receiving)
1.2 ระบบการจัดเก็บสินค้าเข้าชั้นวาง หรือการเคลื่อนย้ายสินค้า (Put-away or Transfer/Bulk Storage) โดยมีระบบการเก็บสินค้าเข้าชั้นวางที่ได้รับความนิยม 2 ระบบคือ ระบบแบบเข้าก่อนออกก่อน (First-in-First-out: FIFO) และระบบแบบเข้าหลังออกก่อน (Last-in-First-out: LIFO) ในระบบของการเก็บสินค้าเข้าชั้นวางได้มีการจัดแบ่งรูปแบบในการจัดเก็บสินค้า ออกเป็น 6 รูปแบบ ดังนี้
1) การจัดเก็บแบบไม่เป็นทางการ (Informal system)
2) การจัดเก็บแบบตำแหน่งคงที่ (Fixed location system)
3) การจัดเก็บแบบตามเลขสินค้า (Part number system)
4) การจัดเก็บตามประเภทสินค้า (Commodity system)
5) การจัดเก็บแบบสุ่ม (Random location system)
6) การจัดเก็บแบบผสม (Combination system)
1.3 กระบวนการในการคัดแยกหรือแปลงหน่วย (Selection or Let down) จะเป็นช่วงที่ใช้เวลามากที่สุดของกระบวนการทำงานในคลังสินค้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณของการเบิกจ่ายสินค้าออกว่ามีจำนวนมากน้อยอย่างไร การจัดเก็บต้องมีประสิทธิภาพ ตำแหน่งที่อยู่ของสินค้าต้องแม่นยำ บริเวณที่ใช้ในการคัดแยกหรือแปลงเป็นหน่วยย่อยต้องเหมาะสมมีความพร้อมด้วยเทคโนโลยี อุปกรณ์ รวมทั้งประสิทธิภาพของคนที่ทำการคัดแยกด้วย
1.4 การจ่ายสินค้า หรือการหยิบสินค้า (Picking or Order Picking) เป็นขั้นตอนของการนำสินค้าจากที่จัดเก็บมาทำการจ่ายตามการสั่งสินค้า หรือ Order โดยจะมีการนำ
ระบบการจัดการในการบริหารคลังสินค้า (Warehouse Management System: WMS) มาใช้ในการตัดสต็อกสินค้า ควบคู่กับระบบบาร์โค้ด รูปแบบการหยิบสินค้าแบ่งได้ตามขนาดในการหยิบของสินค้า ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
1) การหยิบเป็นพาเลท (Pick Face Palletizing Systems)
2) การหยิบเป็นลัง (Case Picking)
3) การหยิบชิ้นส่วนขนาดเล็ก (Broken Case Picking) รูปแบบการหยิบสินค้าที่นิยมใช้ทั่วไป และสามารถประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพและลักษณะของงานที่ดำเนินการ จะแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ คือ
- การหยิบทั่วไปหรือแบบอิสระ (Basic order picking)
- การหยิบเป็นชุด (Batch Picking, by Line)
- การหยิบเป็นโซน (Zone Picking)
- การหยิบเป็นคลื่น (Wave Picking)
1.5 การตรวจนับสินค้า (Counting) จะเป็นการตรวจสอบจำนวนสินค้าที่คงเหลืออยู่ในคลังสินค้าจริง สามารถตรวจสอบได้ทุกเวลาที่ต้องการทราบข้อมูล ซึ่งเรียกว่าระบบ
Realtime เป็นระบบโปรแกรมการจัดการบริหารคลังสินค้า (Warehouse Management System: WMS) ควบคู่ไปกับการจัดสต็อกด้วยบาร์โค้ด หรือ RFID เพื่อให้ทราบได้ถึงสภาพการณ์ที่แท้จริงของปริมาณสินค้าในคลังให้สอดคล้องกับความต้องการที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต และวางแผนในการจัดหาสินค้าเข้ามาเติมให้เต็มในระบบเพื่อสนองตอบต่อความต้องการอย่างต่อเนื่องต่อไป
2. กิจกรรมที่เกี่ยวกับการเก็บรักษา (Storage Activities)
2.1 การเก็บรักษาสินค้าชั่วคราว ในปัจจุบันแนวคิดในการนำเก็บสินค้าชั่วคราว หรือในระยะเวลาสั้น ๆ เป็นแนวคิดที่นิยมใช้อย่างมาก โดยเฉพาะคลังสินค้าที่อยู่ในรูปแบบของศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center; DC) ที่สินค้าจะเข้ามาพักเพียงชั่วคราว รอการคัดแยก ซึ่งอาจเข้าเช้าออกบ่าย ไม่ต้องนำเก็บ หรืออาจจะเก็บเพียงช่วงสั้น 1-2 วัน ถือว่าเป็นการเก็บรักษาสินค้าชั่วคราว ซึ่งช่วยลดต้นทุนด้านการจัดการคลังสินค้าได้อย่างมาก
2.2 การเก็บรักษาสินค้าถาวร การเก็บรักษาสินค้าถาวรอาจเป็นความจำเป็นของสินค้าหรือวัตถุดิบบางประเภทที่มีปริมาณสินค้ามากกว่าความต้องการ หรืออาจจะเป็นสินค้าหรือวัตถุดิบที่มีเฉพาะฤดูกาล จึงมีความจำเป็นต้องมีการเก็บรักษาไว้อย่างถาวร โดยในบางกรณีกิจการอาจได้รับส่วนลดการค้าเป็นพิเศษในกรณีที่มีการสั่งซื้อในปริมาณมาก
การวางแผนจัดผังพื้นที่ในคลังสินค้า
สถานที่เก็บรักษาสินค้า จะมีพื้นที่สำหรับกิจกรรมต่าง ๆ เช่นพื้นที่รับสินค้า พื้นที่ในจัดเก็บสินค้า พื้นที่สำหรับการจัดส่งสินค้าและอื่น ๆ ดังนั้นจึงต้องมีจัดแบ่งพื้นที่เพื่อให้
เกิดการใช้ประโยชน์สูงสุดในการดำเนินงาน การวางแผนจัดผังพื้นที่ในคลังสินค้าสามารถดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังนี้
1. การกำหนดผังพื้นที่คลังสินค้า แผนผังคลังสินค้าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินงาน ใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมการใช้เนื้อที่ในการดำเนินงานให้เป็นประโยชน์ สินค้าถูกเก็บรักษาอย่างมีระบบปลอดภัย เหมาะสม เนื้อที่จะถูกใช้ประโยชน์เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิผลของการดำเนินงานในแผนผังจะแสดงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
-----------------------------------------------
ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง พื้นฐานการจัดการโลจิสติกส์ คลิกที่นี่
LM57 พื้นฐานการจัดการโลจิสติกส์ (Fundamentals of Logistics Management) ปี 2557