iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป

การวิเคราะห์ผลการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ ปี 2551

 

ลิขสิทธิ์ สำนักโลจิสติกส์

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

การประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์จะวัดคะแนนออกเป็น 5 ด้าน ตามจำนวนของดัชนี โดยการพิจารณาศักยภาพในแต่ละด้านแยกออกจากกัน เพื่อให้ผู้ทำการประเมินทราบศักยภาพการแข่งขันและสามารถมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพในแต่ละด้านได้อย่างชัดเจน เหตุผลที่ไม่มีการประเมินคะแนนในภาพรวม เพราะดัชนีในแต่ละด้านมีความสำคัญต่อการแข่งขันเป็นเอกเทศกัน การนำคะแนนรวมของดัชนีทั้ง 5 ด้าน มาพิจารณาจะทำให้ปัญหาหรือข้อด้อยขององค์กรถูกซ่อนเร้นและไม่ได้รับการนำมาพิจารณาปรับปรุง ซึ่งจะเกิดผลเสียต่อองค์กร ตัวอย่างเช่น องค์กรมีคะแนนในดัชนีด้านที่ 1 2 3 และ 5 สูงมาก ขณะที่ดัชนีด้านที่ 4 ได้คะแนนต่ำมาก คะแนนรวมขององค์กรจะออกมาค่อนข้างสูง ทำให้ผู้บริหารเข้าใจผิดว่าองค์กรมีศักยภาพทางการแข่งขันสูง ในขณะที่ความเป็นจริงดัชนีด้านที่ 4 ซึ่งได้แก่ดัชนีชี้วัดด้านระบบบริหารข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศต่ำมาก อาจส่งผลต่อความสามารถทางการแข่งขันในอนาคตตามกระแสโลกาภิวัตน์ ในที่สุดองค์กรไม่สามารถแข่งขันอยู่ในตลาดได้

ในการประเมิน คะแนนของแต่ละดัชนีหาได้จากการหาค่าเฉลี่ยของตัวชี้วัดแต่ละข้อ เช่น ในดัชนีด้านที่ 1 การกำหนดกลยุทธ์สถานประกอบการ มีตัวชี้วัด 5 ข้อ และในแต่ละข้อทำการประเมินองค์กรตนเอง ได้ดังนี้

การให้ความสำคัญต่อกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ ได้คะแนน  4

การทำข้อตกลงกับผู้ส่งมอบหลักและมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ได้คะแนน  4

การทำข้อตกลงกับลูกค้าหลักและมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ได้คะแนน  4

การจัดทำระบบในการประเมินและพัฒนาความพึงพอใจของลูกค้า ได้คะแนน  5

การจัดทำระบบในการพัฒนาและประเมินพนักงาน ได้คะแนน 5

ดังนั้น ในดัชนีด้านที่ 1 องค์กรของท่านจะได้ระดับคะแนนเฉลี่ย  = 4.4   คะแนน

นอกจากนี้ สำหรับอุตสาหกรรมพื้นฐานประเภทอื่น สามารถนำแบบประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์สำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐานไปประยุกต์ใช้กับองค์กรของตน โดยกำหนดเกณฑ์มาตรฐานโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐาน เป็นแนวทางในการพัฒนา

คู่มือการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์สำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐานนี้ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นรายละเอียดวิธีการใช้แบบประเมินดังกล่าว 

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ / กรกฎาคม 2551 

--------------------------------

สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง

สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง

E-Book คู่มือการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ สำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐาน ปี 2551

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “คู่มือการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ สำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐาน ปี 2551” เป็นการเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษา หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล

 --------------------------------

ที่มา

เอกสารเผยแพร่เรื่อง คู่มือการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ สำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐาน ปี 2551

โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward