iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป

ความเข้าใจเบื้องต้นสำหรับการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ ปี 2551

ลิขสิทธิ์ สำนักโลจิสติกส์

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

 

เกณฑ์และดัชนีในการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ขององค์กรนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้องค์กรต่างๆ สามารถประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ขององค์กรตนเองเปรียบเทียบกับองค์กรประเภทเดียวกัน หรือแม้แต่เปรียบเทียบกับมาตรฐานสากล องค์กรสามารถวิเคราะห์จุดอ่อนและจุดแข็ง ตลอดจนนำข้อมูลที่ได้ไปใช้สำหรับการพัฒนาองค์กรให้มีศักยภาพสูงขึ้น ซึ่งมีระดับศักยภาพด้านโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐานที่กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ดำเนินการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และสรุปเป็นค่าเฉลี่ยไว้เพื่อเปรียบเทียบ (Benchmark) กับผลการประเมินขององค์กรท่าน

การประเมินและการให้ระดับคะแนน

เพื่อให้การประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ขององค์กรถูกต้อง แม่นยำ และสามารถวิเคราะห์แปลผลได้อย่างสมบูรณ์ ขอให้ผู้ทำการประเมินทำความเข้าใจวิธีการดังนี้

  1. ผู้ทำการประเมินควรเป็นผู้ดูแลกิจกรรมโลจิสติกส์ หรือผู้บริหารระดับสูง ที่ทราบรายละเอียดของกิจกรรม โลจิสติกส์ขององค์กรทั้งหมด เพราะรายละเอียดของตัวชี้วัดบางตัวต้องการความแม่นยำและเที่ยงตรงในการประเมินสูง เช่น อัตราการส่งมอบที่ทันเวลา ความถูกต้องในการเติมเต็มคำสั่งซื้อของลูกค้า
  2. ประเภทขององค์กรที่กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ดำเนินการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และสรุปเป็นค่าเฉลี่ยไว้เพื่อประโยชน์ในการเปรียบเทียบ (Benchmark) ประกอบด้วย 1) เหมืองแร่ 2) โรงงานโม่ บด หรือย่อยหิน 3) โรงแต่งแร่ และ 4) โรงงานประกอบโลหกรรม
  3. ดัชนีที่ใช้วัดศักยภาพด้านโลจิสติกส์ แบ่งออกเป็น 5 ด้านหลัก ดังนี้
    • การกำหนดกลยุทธ์สถานประกอบการ
    • การวางแผนและความสามารถในการปฏิบัติงาน
    • ประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้านโลจิสติกส์
    • ระบบบริหารข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ
    • ความร่วมมือระหว่างสถานประกอบการ

ในการวัดศักยภาพแต่ละด้าน จะมีตัวชี้วัดแยกย่อยลงในรายละเอียด และในแต่ละตัวชี้วัดจะแบ่งระดับการให้คะแนนออกเป็น 5 ระดับ คือ ระดับที่ 1 ถึง ระดับที่ 5 เรียงจากระดับศักยภาพต่ำที่สุดไประดับศักยภาพสูงที่สุด ตามลำดับ 

  1. การให้ระดับคะแนน
    • กรณีที่เป็นไปตามตัวบ่งชี้ชัดเจน ให้ใส่คะแนนตามระดับที่องค์กรเป็น เช่น

ตัวชี้วัดที่ 1.1 กำหนดระดับการให้คะแนน

ระดับ 1

ระดับ 2

·        ผู้บริหารระดับสูงไม่ได้กำหนดนโยบายหรือกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์  

·        ไม่มีหน่วยงาน หรือ คณะทำงานที่รับผิดชอบกิจกรรมด้านโลจิสติกส์โดยรวมขององค์กร

·        ผู้บริหารระดับสูงมีการกำหนดนโยบายหรือกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์

·        ไม่มีหน่วยงาน หรือ คณะทำงานที่รับผิดชอบกิจกรรมด้านโลจิสติกส์โดยรวมขององค์กร

  • ถ้าองค์กรของท่าน ผู้บริหารระดับสูงไม่ได้กำหนดนโยบายหรือกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ และไม่มีหน่วยงาน หรือคณะทำงานที่รับผิดชอบงานด้านโลจิสติกส์โดยรวมขององค์กร คะแนนที่ได้ คือ 1
  • ถ้าองค์กรของท่าน ผู้บริหารระดับสูงมีการกำหนดนโยบายหรือกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ แต่ยังไม่มีหน่วยงาน หรือคณะทำงานที่รับผิดชอบงานด้านโลจิสติกส์โดยรวมขององค์กร คะแนนที่ได้ คือ 2
    • กรณีที่เป็นไปตามตัวบ่งชี้บางส่วน ให้ใส่คะแนนตามส่วนของระดับที่องค์กรเป็น เช่น

ตัวชี้วัดที่ 5.1 กำหนดระดับการให้คะแนน

ระดับ 1

ระดับ 2

· องค์กรไม่เห็นถึงความสำคัญของการร่วมมือ  ด้านโลจิสติกส์ระหว่างธุรกิจที่เป็นพันธมิตร และระหว่างธุรกิจประเภทเดียวกัน

· องค์กรเห็นถึงความสำคัญของการร่วมมือ ด้านโลจิสติกส์ระหว่างธุรกิจที่เป็นพันธมิตร และระหว่างธุรกิจประเภทเดียวกัน

· มีแผนดำเนินการเพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างกัน

  • ถ้าองค์กรของท่าน เห็นถึงความสำคัญของการร่วมมือด้านโลจิสติกส์ระหว่างธุรกิจที่เป็นพันธมิตร และระหว่างธุรกิจประเภทเดียวกัน แต่ยังไม่มีแผนดำเนินการเพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างกัน คะแนนที่ได้ คือ 1.5 (เป็นไปตามระดับ 1 แล้ว แต่เป็นไปตามระดับ 2 เพียงข้อเดียว จาก 2 ข้อ จึงได้เพิ่มจากระดับ 1 อีก 0.5 คะแนน)

ทั้งนี้ รายละเอียดศักยภาพด้านโลจิสติกส์รายตัวชี้วัดจะแสดงในส่วนที่ 4 ซึ่งมีคำอธิบายและตัวอย่างประกอบ

คู่มือการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์สำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐานนี้ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นรายละเอียดวิธีการใช้แบบประเมินดังกล่าว 

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ / กรกฎาคม 2551 

--------------------------------

สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง

สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง

E-Book คู่มือการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ สำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐาน ปี 2551

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “คู่มือการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ สำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐาน ปี 2551” เป็นการเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษา หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล

 --------------------------------

ที่มา

เอกสารเผยแพร่เรื่อง คู่มือการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ สำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐาน ปี 2551

โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward