E-Book คู่มือการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ สำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐาน ปี 2551
ลิขสิทธิ์ สำนักโลจิสติกส์
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
กระแสโลกาภิวัตน์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ อย่างกว้างขวางและรวดเร็ว ทั้งด้านเศรษฐกิจ การค้า เทคโนโลยีสารสนเทศ พฤติกรรมผู้บริโภค กระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพลังงาน ทำให้การแข่งขันในการดำเนินธุรกิจรุนแรงขึ้น ภาคอุตสาหกรรมต้องพัฒนาขีดความสามารถและสร้างความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน โดยสร้างความแตกต่าง (Differentiation) ให้ลูกค้ามองเห็นสินค้าและบริการเหนือคู่แข่ง ต้องเป็นผู้นำด้านต้นทุน (Cost Leadership) และที่สำคัญอีกประการคือต้องมีการตอบสนองที่รวดเร็ว (Quick Response) ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรมบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ ภาครัฐจึงได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย พ.ศ.2550-2554 โดยกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นผู้รับผิดชอบหลักในประเด็นการปรับปรุงประสิทธิภาพระบบโลจิสติกส์ในภาคการผลิต ซึ่งมีแผนปฏิบัติการพัฒนาระบบโลจิสติกส์อุตสาหกรรม 4 ประเด็นหลัก ได้แก่
1) การเชื่อมโยงระหว่างองค์กรตลอดโซ่อุปทาน
2) การปรับปรุงประสิทธิภาพโลจิสติกส์ภายในองค์กร
3) การพัฒนาขีดความสามารถด้านโลจิสติกส์
4) การสร้างปัจจัยเอื้อเพื่อสนับสนุนการประกอบธุรกิจของภาคอุตสาหกรรม
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ได้ดำเนินการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการดังกล่าวอย่างต่อเนื่องกิจกรรมสำคัญที่เป็นรูปธรรม เช่น กำหนดและเผยแพร่วิธีการจัดการที่ดีที่สุด (Best Practice) ของอุตสาหกรรมเหล็กและเซรามิก นำร่องการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมเซรามิก กำหนดเกณฑ์มาตรฐานโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐาน รวมทั้งให้คำปรึกษาแนะนำให้สถานประกอบการมีการจัดการโลจิสติกส์ที่ได้มาตรฐาน นอกจากนี้ยังได้พัฒนาแบบประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์สำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการใช้ประเมินสมรรถนะหรือศักยภาพด้านโลจิสติกส์ขององค์กรตนเองเปรียบเทียบกับองค์กรประเภทเดียวกันหรือเปรียบเทียบกับมาตรฐานสากล องค์กรสามารถวิเคราะห์จุดอ่อนและจุดแข็ง อีกทั้งนำข้อมูลใช้เป็นแนวทางการพัฒนาองค์กรให้มีศักยภาพสูงขึ้นและมีความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน
คู่มือการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์สำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐานนี้ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นรายละเอียดวิธีการใช้แบบประเมินดังกล่าว
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ / กรกฎาคม 2551
--------------------------------
สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง
สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง
E-Book คู่มือการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ สำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐาน ปี 2551บทความที่เกี่ยวข้องในเล่มที่น่าสนใจ
ความเข้าใจเบื้องต้นสำหรับการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ ปี 2551
การวิเคราะห์ผลการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ ปี 2551
คำอธิบายรายละเอียดศักยภาพด้านโลจิสติกส์รายตัวชี้วัดการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ ปี 2551
--------------------------------
ที่มา
เอกสารเผยแพร่เรื่อง คู่มือการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ สำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐาน ปี 2551
โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่