กลยุทธ์ในการจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management Strategic) จากแนวคิดที่่ว่า การจัดการโลจิสติกส์ (Logistics management) เป็นการไหลของวัสดุและสินค้าที่เป็นเชิงกายภาพ ซึ่งไหลจากฝั่งต้นน้ำหรือซัพพลายเออร์ในการผลิตไปยังฝั่งปลายน้ำหรือลูกค้า ซึ่งจะมีความแตกต่างกับ การจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) ซึ่งจะเน้นในการไหลของสารสนเทศซึ่งเป็นข้อมูลที่มักจะเป็นการไหลย้อนกลับ โดยหลังจากที่มีการรับสินค้าจากลูกค้าในแต่ละช่วง เพื่อทำให้เกิดความรวดเร็วในการดำเนินงาน ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างโลจิสติกส์และการจัดการโซ่อุปทานในส่วนซัพพลายเออร์ จะพบว่าดำเนินงานของทุกกิจกรรมต้องประสานงานอย่างสอดคล้อง โดยโลจิสติกส์แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ การจัดการเพื่อสนับสนุนการจัดการวัสดุ (MaterialManagement) และสนับสนุนการตลาดและการกระจายสินค้า (DistributionManagement) การไหลของวัตถุดิบผ่านการผลิตจนถึงการกระจายสินค้าสำเร็จรูปผ่านไปยังผู้บริโภคอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว จะสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อเมื่อมีการนำเอาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ มาประยุกต์ใช้ในทุกกิจกรรมทั้งภายในองค์กรและเชื่อมต่อกับบริษัทภายนอกเพื่อสร้างความถูกต้องและรวดเร็ว เรียกว่า การจัดการโซ่อุปทาน ซึ่งก่อนที่จะใช้การจัดการโซ่อุปทานได้ ควรต้องปรับปรุง กลยุทธ์ในการจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management Strategic) เพื่อจัดการระบบโลจิสติกส์ในของแต่ละบริษัทที่เกี่ยวข้องในตลอดโซ่อุปทาน ให้มีประสิทธิภาพก่อนจึงจะทำให้ผลการดำเนินงานตลอดโซ่อุปทานมีประสิทธิผล
1. การใช้กลยุทธ์โซ่อุปทานหลายราย (Many suppliers) เป็นการซื้อวัตถุดิบหรืออุปกรณ์การผลิตจากผู้ขายหลายราย ด้วยกลยุทธ์นี้ซัพพลายเออร์การผลิตจะตอบสนองความต้องการและลักษณะเฉพาะของบริษัท โดยจะทำใบแจ้งราคาและเงื่อนไขที่จะขายสินค้า โดยปกติผู้ซื้อจะทำการสั่งซื้อสินค้ากับผู้ให้ราคาที่ต่ำกว่า กลยุทธ์นี้จะใช้วิธีให้ซัพพลายเออร์การผลิตต้องแข่งขันเพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ซื้อ เป็นกลยุทธ์การแข่งขันเชิงรุกของซัพพลายเออร์การผลิต
2. กลยุทธ์การใช้ซัพพลายเออร์การผลิตน้อยราย (Few suppliers) เป็นการติดต่อซื้อปัจจัยการผลิตกับผู้ขายจำนวนน้อยราย กลยุทธ์นี้เป็นการสร้างความสัมพันธ์ในระยะยาวกับซัพพลายเออร์การผลิตเพียง 2-3 ราย การใช้ซัพพลายเออร์การผลิตจำนวนน้อยรายนี้จะสามารถสร้างคุณค่าได้ โดยยอมให้ซัพพลายเออร์การผลิตมีการผลิตที่ประหยัด (Economies of scale) คือ การบริหารต้นทุนแปรผันโดยตรงที่สัมพันธ์กับการเพิ่มปริมาณของผลผลิตจากการ
3. การบูรณาการในแนวดิ่ง (Vertical integration) เป็นการพัฒนาความสามารถที่จะผลิตสินค้าหรือบริการ เช่น ปัจจัยการผลิตหรือการจัดจำหน่าย เป็นกลยุทธ์ซึ่งเกี่ยวข้องกับการผลิตปัจจัยนำเข้า (Input) สู่กระบวนการผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปและจำหน่ายสู่ตลาด
4. เครือข่ายไคเร็ตสุ (Keiretsu networks) เป็นภาษาญี่ปุ่นใช้เพื่อบรรยายถึงซัพพลายเออร์การผลิตซึ่งกลายเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมมือของบริษัท หรือเป็นแนวคิดในการประกอบธุรกิจ ซึ่งเป็นการรวมตัวทางธุรกิจในลักษณะ 3 ประการต่อไปนี้
- การรวมตัวกันในแนวนอน (Horizontal Keiretsu) เป็นการรวมกลุ่มของบริษัทต่างๆ เพื่อรวมตัวกันดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมที่ใกล้เคียงกัน เช่น กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า กลุ่มผู้ผลิตรถยนต์
- การรวมตัวกันในแนวดิ่ง (Vertical Keiretsu) คือการที่กลุ่มธุรกิจนั้นๆ ดำเนินกิจการอุตสาหกรรมแล้วได้จัดตั้งบริษัทในเครือข่ายขึ้นเพื่อผลิตชิ้นส่วน (Spare part) ป้อนให้กลับโรงงานที่ผลิตสินค้าสำเร็จรูปที่เป็นบริษัทแม่ เช่นบริษัทผลิตรถยนต์ จะจัดตั้งบริษัทในเครือผลิตชิ้นส่วนของรถยนต์มาป้อน
- การรวมตัวในด้านการจัดการขนย้ายสินค้าเพื่อการจัดจำหน่าย (Distribution Keiretsu) เป็นการวมตัวของกลุ่มบริษัทผู้ผลิตทั้งในอุตสาหกรรมประเภทเดียวกันหรือต่างประเทศในการจัดจำหน่ายและขายปลีกสินค้าตามช่องทางการกระจายสินค้าเดียวกันและขนส่งร่วมกัน ผู้ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมใหญ่ๆ จำนวนมากของญี่ปุ่นจะใช้วิธีที่อยู่ตรงกลางระหว่างการซื้อกับซัพพลายเออร์การผลิต 2-3 ราย กับการรวมตัวในแนวดิ่ง ผู้ผลิตเหล่านี้มักเป็นผู้สนับสนุนด้านการเงินให้กับซัพพลายเออร์การผลิตด้วยตนเอง หรือให้ซัพพลายเออร์การผลิตกลายมาเป็นผู้ให้ความร่วมมือ มีความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการที่เรียกว่า ไคเร็ตสุ (Keiretsu) สมาชิกของไคเร็ตสุ (Keiretsu) จะรับประกันความสัมพันธ์ในระยะยาว และได้รับการคาดหวังที่จะทำหน้าที่เป็นหุ้นส่วน มีการจัดหาเทคโนโลยีที่เชี่ยวชาญ และรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์สู่ผลิตภัณฑ์ สมาชิกของไคเร็ตสุ (Keiretsu) สามารถปฏิบัติการเป็นผุ้ขายปัจจัยการผลิตโดยสร้างเครือข่ายที่ต่ำลงไป โดยร่วมมือกับซัพพลายเออร์การผลิตที่ 2 หรือ 3 ต่อไปด้วย
5. บริษัทเสมือนจริง (Virtual companies) เป็นบริษัทที่ดำเนินการผ่านอินเตอร์เน็ต ในรูปของตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketplace) ซึ่งขึ้นอยู่กับซัพพลายเออร์การผลิตหลายราย ซึ่งสร้างความสัมพันธ์ด้วยการจัดหาสินค้า หรือบริการตามความต้องการของลูกค้า หรือบริษัทอื่น ซึ่งอาจรู้จักกันดีในลักษณะบริษัทเครือข่าย (Network companies) การมีลักษณะธุรกิจแบบนี้เพื่อขจัดปัญหาจากข้อจำกัดของการบูรณาการในแนวดิ่ง การพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องตามความเชี่ยวชาญโดยอาจต้องมีการบูรณาการในแนวดิ่ง ซึ่งทำให้เกิดความซับซ้อนมากขึ้น บริษัทจะมีแผนกหรือฝ่ายในการผลิตสิ่งต่างๆ ของตนเองมากขึ้น และอาจมีสายการบังคับบัญชามากเกินไป ดังนั้นการบูรณาการในแนวดิ่งอาจทำให้องค์กรเข้าสู่ธุรกิจยุ่งยากหรือไม่สามารถจัดการได้ดี เพื่อแก้ปัญหาอาจทำได้โดยการหาซัพพลายเออร์การผลิตที่ดีพร้อมทั้งมีความยืดหยุ่นในทางธุรกิจ