iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา

Supplier Preferencing Model รูปแบบความสัมพันธ์กับชัพพลายเออร์

รูปแบบความสัมพันธ์กับชัพพลายเออร์ (Supplier Preferencing Model) คือ การพยายามมองกลับในมุมมองของผู้ขายที่มองกลับมาที่เรา โดยคิดในหลักที่ว่าหากเรามีการจัดระดับผู้ขายเพื่อกำหนดกลยุทธ์ในการจัดได้ ฝั่งของผู้ขายเองก็มีโอกาสจัดระดับเราในการซื้อเพื่อจัดการด้วยเช่นกัน การที่เรารู้ในมุมมองของฝั่งผู้ขายได้จะช่วยให้เรารู้ระดับลูกค้าของเราว่าอยู่ในสถานะไหน ทั้งเราและเขาต่างก็จะต้องมีกลยุทธที่ใช้ในการต่อรองที่มีความแตกต่างกันไปตามระดับตำแหน่งที่แตกต่างกัน 

ดังนั้นผู้ทำงานด้านจัดซื้อควรมีแนวคิดที่ใช้จัดแบ่งกลุ่มความสัมพันธกับผู้จัดจำหน่าย เพื่อใช้ประเมินคุณค่าตัวเอง ก่อนที่จะทำการต่อรองการจัดซื้อ หรือใช้เลือกผู้จัดจำหน่ายที่จะให้เป็นประโยชน์แก่เรามากที่สุด

รูปแบบความสัมพันธ์กับผู้จัดจำหน่าย (Supplier Preferencing Model) อาจใช้หลักการคิดที่ว่า เรามีการประเมินจัดกลุ่มผู้ขายอย่างไร ผู้ขายก็มีการประเมินจัดกลุ่มลูกค้าอย่างเราด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญเพราะหากเราประเมินเขา โดยไม่ได้มองกลับว่าผู้ขายเขามองเราว่าเป็นลูกค้าระดับใด บางครั้งเราอาจทำให้การเจรจาต่อรองการค้าที่เราเสียเปรียบได้ แนวคิดขั้นตอนประกอบด้วย

1. ควรสรุปข้อมูลการซื้อที่มีว่า ปัจจุบันเราได้มีการซื้อกับผู้ขายรายใดบ้าง ความถี่ ปริมาณสินค้า และมูลค่าเท่าไร

2. ความน่าสนใจของธุรกิจของเราที่มีกับผู้ขายเป็นอย่างไร คิดเกี่ยวกับปัจจัยเช่น 

- เราจะจ่ายเงินหรือค่าใช้จ่ายให้กับผู้ขายตรงเวลาไหม

- ผู้ขายได้มอบหมายให้เราเป็นผู้แทนหรือมีการทำสัญญามอบสิทธ์จัดการเฉพาะหรือไม่

- เราจะมีปัญหาหรือไม่หากขาดสินค้าของเขา หรือที่มักเรียกว่า เป็นสินค้าที่ทำให้เกิดคอขวดหรือไม่

- ผู้ขายเขายอมรับเราในเรื่องไรได้บ้าง 

เป็นต้น จากนั้นนำข้อที่กำหนดมาให้คะแนน โดยอาจมองภาพรวมแบ่งระดับเป็น ต่ำ (LOW) ไปถึงสูง (HIGH) 

3. ทำการสรุปให้ได้ว่า ผู้ขายที่มีกับเรานั้นมีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับกลุ่มใด เพื่อที่เราจะได้กำหนดแผนและแนวทางในการดำเนินความสัมพันธ์กับผู้ขาย ให้เกิดความเหมาะสมทั้งสองฝ่าย ลดการเสียเวลากับผู้ขายที่ไม่สำคัญหรือไม่คุ้มค่าลง เพราะจะมีผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อจัดหาและไปลดในส่วนรายได้ของเรา

ระดับความสัมพันธ์ของเราจากมุมมองของผู้ขาย อาจแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม

- กลุ่มหลัก (Core / High Attractiveness - High Spend) คือ กลุ่มที่เราและผู้ขายให้ความสำคัญสนใจและยอดการซื้อที่สูง ในกลุ่มนี้เพราะเราอาจเป็นลูกค้าหลัก มีความน่าสนใจเป็นผลประโยชน์ต่อเขา หรือยังมียอดการซื้อในมูลค่าราคาที่มาก ผู้ขายจะให้ควรสำคัญในระดับสูง และจากยอดการซื้อที่มีสูงอาจเป็นสินค้าที่สำคัญมากหรือผู้ขายเป็นผู้จัดหาหลัก การติดต่อก็ต้องให้ความสำคัญที่ดีเป็นพิเศษ

- กลุ่มที่ควรพัฒนา (Develop / High Attractiveness - Low Spend) คือ กลุ่มที่เราและผู้ขายให้ความสำคัญสนใจแต่ยังยอดการซื้อที่ไม่มาก ในกลุ่มนี้เพราะเรายังอาจไม่ได้เป็นลูกค้าหลัก แม้มีความน่าสนใจแต่ก็ไม่เป็นผลประโยชน์ต่อเขามากนัก เราควรจะให้ควรสำคัญเพื่อยกระดับการซื้อให้เรามีระดับที่สูง อาจเรียกว่าควรต้องมีการให้ความสำคัญในการพัฒนาความสัมพันธ์ในกลุ่มนี้

- กลุ่มจำเป็นใช้ประโยชน์ (Exploitable / Low Attractiveness - High Spend) คือ กลุ่มที่ผู้ขายยังไม่ได้ให้ความสำคัญสนใจเราแม้ว่าจะมียอดการซื้อที่สูง แต่สำหรับผู้ขายอาจไม่ใช่ในระดับที่เขาควรสนใจ เช่นเราซื้อมากก็จริงแต่อาจเป็นปริมาณมาณที่น้อยสำหรับเขาเมื่อเทียบกับลูกค้ารายอื่นๆ ในกลุ่มนี้เราอาจไม่ใช่ลูกค้าหลัก การให้ความสนใจขเามีน้อย เพราะมองว่าไม่เป็นผลประโยชน์หลักของเขา อาจใช้ความสำพันธ์ หรือการสั่งซื้อในปริมาณที่มาก ในการต่อรองเพื่อให้เขาเกิดความสนใจมาเป็นผู้จัดจำหน่าย

- กลุ่มที่สร้างความรำคาญ (Nuisance / Low Attractiveness - Low Spend) คือ กลุ่มที่ผู้ขายไม่ให้ความสำคัญสนใจ อาจเกิดจากยอดการซื้อที่ต่ำหรือลูกค้ามีปัญหาในเรื่องความสัมพันธการซื้อขายเช่น มีเอกสารและขั้นตอนการทำงานเยอะ ค้างค่าชำระหรืออาจจ่ายเงินช้า ระยะทางไกลหรือลำบากในการจัดส่ง เป็นต้น ทำให้ชัพลายออร์จะให้ความสำคัญเราในระดับต่ำ พร้อมจะเลิกทำการค้ากับเราได้ตลอด หากเราตกในกลุ่มนี้ เนื่องจากความน่าสนใจต่ำหรือมียอดการใช้จ่ายที่ต่ำ ไม่เป็นที่น่าสนใจของผู้ขาย เราต้องมีกลยุทธหาผู้ขายรายอื่นมาไว้สำรอง เพราะบางครั้งผู้ขายมองเราเป็นลูกค้าที่สร้างความรำคาญในงานเขา ดังนั้นผู้ขายอาจยกเลิกการขายให้เราไปเลย 

ผลจากการประเมินการซื้อของเราในฝั่งผู้ขาย จะมีประโยช์เมื่อเราได้นำมาใช้ร่วมกับ รูปแบบการแบ่งกลุ่มซัพพลายเออร์ (Supply Positioning Model)เพื่อที่จะได้กำหนดแนวทางในการดำเนินความสัมพันธ์กับผู้ขายให้เกิดความเหมาะสมทั้งสองฝ่าย กำหนดเป็นกลยุทธในการวางแผนการจัดซื้อจัดหาวัสดุขององค์กร ลดการเสียเวลากับผู้ขายที่ไม่สำคัญหรือไม่คุ้มค่าลง เพราะจะมีผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อจัดหาและไปลดในส่วนรายได้ของเราตอนนี้

-------------------------------------
 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward