Marketing การตลาดยุคใหม่ 4P ที่ต้องปรับเปลี่ยนการขายออนไลน์สู่การตลาดดิจิทัล
นักการตลาดในอดีตที่ผ่านมาทุกคนคงรู้จักและคุ้นเคยกับกลยุทธ์การทำการตลาดแบบ 4P ที่ประกอบด้วย สินค้า (Product ) ราคา (Price) สถานที่ (Place) และโปรโมชัน (Promotion) เป็นอย่างดี หากถามว่าในปัจจุบันการค้าขายหลายส่วนมีการเปลี่ยนแปลงไป เริ่มมีการขายสินค้าออนไลน์มากขึ้น นักการตลาดอาจไม่สามารถทำการตลาดอย่างเดิมหรือที่มักเรียกกันว่าแบบออฟไลน์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น หากถามว่านักการตลาดต้องอาศัยแนวคิด 4P มาวางแผนได้อีกไหมหรือควรเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร คงกล่าวได้ว่าการตลาดในปัจจุบันแม้จะมีการเพิ่มช่องทางการขายที่เป็นออนไลน์มากขึ้น แต่หลักการ 4P นั้นยังสามารถนำมาใช้ได้แต่ควรเพิ่มการปรับเพิ่มในรายละเอียดบางส่วนเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ในปัจจุบันกลยุทธ์การตลาด 4Ps ก็ได้มีการปรับตัวไปในหลายส่วน เพื่อเข้ากับการตลาดในยุคโควิด-19 เพราะในสถาณการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ผ่านมา ได้มาเร่งให้พฤติกรรมของลูกค้าหรือผู้บริโภคให้มีการเปลี่ยนแปลงไป ทำให้คนย้ายชีวิตเข้าสู่โลกดิจิทัลมากขึ้น จนปัจจุบันนี้กล่าวได้ว่าโลกเข้าสู่ยุค New-Next Normal ที่ทุกคนต้องปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินชีวิตประจำวัน สถานการณ์ในช่วงสามปีที่ผ่านมา ได้ส่งผลให้ผู้บริโภคคุ้นชินกับการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น มีการใช้สื่อ Social Media และ Application ต่างๆ เป็นช่องทางหลักเพื่อรับข่าวสารมากขึ้น ดังนั้น แนวคิด 4Ps แบบเดิมอาจไม่เพียงพออีกต่อไป ซึ่งหลายธุรกิจได้เริ่มต่อยอดและหากลยุทธ์ทางการตลาดใหม่ๆ เพื่อให้สามารถแข่งขันได้มากขึ้น รวมถึงนำแนวคิด 4Es มาปรับใช้ด้วยเช่นกัน แนวคิดนี้ประกอบด้วย
(1) คุณสมบัติสินค้าไปสู่การได้รับประสบการณ์ (Product to Experience) จากสินค้าสู่ประสบการณ์ของผู้ซื้อ เนื่องจากการผลิตสินค้าหรือบริการต่างๆ สามารถทำได้ง่ายเมื่อเทียบกับในอดีต โดยในปัจจุบันมีโรงงานที่รับจ้างผลิตสินค้าที่ทำให้เจ้าของธุรกิจไม่จำเป็นต้องมีเงินทุนจำนวนมากเพื่อสร้างโรงงานถึงจะผลิตสินค้าได้ ส่งผลให้เกิดการแข่งขันเพิ่มมากขึ้นผู้ประกอบการจึงจำเป็นที่จะต้องสร้างความแตกต่างและคุณค่าให้มากกว่าจะมุ่งทำแต่ Product เพียงอย่างเดียว ซึ่ง E ตัวแรกในแนวคิด 4Es นี้ จะเน้นที่การมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า เพื่อให้เกิดเป็นความประทับใจในสินค้าและบริการ
(2) สถานที่เปลี่ยนไปเป็นทำได้ในทุกที่ (Place to Everyplace) ในอดีตช่องทางที่ลูกค้าสามารถเข้าถึงสินค้าและบริการได้จะมีเพียงหน้าร้าน (Offine) เท่านั้น แต่ในปัจจุบันที่อินเทอร์เน็ตเข้ามีบทบาทมากขึ้นรวมถึงจากสถาณการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้เกิดเป็น New-Next Normal ในชีวิตประจำวันของทุกคน ธุรกิจต่างๆ จึงจำเป็นต้องเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายทั้งช่องทาง Online และ Offine ไม่ว่าจะเป็นการสร้างหน้าเว็บไซต์ จัดจำหน่ายผ่าน Platform Online Marketplace เช่น Lazada , Shopee ฯลฯ รวมถึงช่องทาง Social Media ต่างๆ เช่น Facebook , I , Line , Tiktok ฯลฯ นอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ ทางเลือกในการชำระเงินที่จะต้องสร้างความสะดวกและหลากหลายให้กับลูกค้า เช่น ชำระเงินด้วยเงินสด ชำระผ่านบัตรเครดิต ระบบพร้อมเพย์หรือเก็บเงินปลายทาง เป็นต้น
(3) ราคาที่ถูกไปสู่ความคุ้มค่าในการจ่าย (Price to Exchange) พฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงไป ทำให้การแข่งขันในเรื่องราคาของสินค้าและบริการอย่างในอดีต ไม่ได้มาเป็นตัวกำหนดว่าผู้ประกอบการจะสามารถขายสินค้าและบริการได้ดีเหมือนเดิม แต่การทำให้ผู้บริโภครู้สึกถึงความ "คุ้มค่า" ที่จะซื้อสินค้าและบริการ รู้สึกว่าสินค้ามีคุณภาพเหมาะสมกับราคาที่จ่ายไปเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำธุรกิจในยุคนี้
(4) โปรโมชั่นไปสู่การประชาสัมพันธ์ให้รับรู้ (Promotion to Evangelism) การสื่อสารการตลาดที่เน้นตัวสินค้ามากเกินไปอาจไม่เหมาะกับบริบทปัจจุบัน แต่การสื่อสารที่เน้นให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายมีประสบการณ์ร่วม รู้สึกชื่นชอบและอยากเข้ามาทดลองหรือใช้บริการ และกลายเป็นการบอกปากต่อปากหรือชักชวนเพื่อนมาใช้ด้วยกัน รวมถึงการที่มี Influencer หรือผู้ที่มีอิทฐิพลต่อความคิดและการตัดสินใจ เพื่อช่วยเรื่องสื่อสารการตลาดของสินค้าและบริการไปยังกลุ่มเป้าหมายผ่านพลังเสียงของบุคคลที่สามที่เป็น In fluencer เหล่านี้ ทำให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเกิดการรับรู้ สนใจ ติดตาม และสร้างความเชื่อมั่นได้มากกว่าการที่แบรนด์สื่อสารเพียงทางเดียว ซึ่งนับว่ามีประสิทธิภาพมากปัจจุบัน เช่น ธุรกิจท่องเที่ยวและที่พัก สามารถสร้างความรู้สึกร่วมจากการตกแต่งห้องพักในสไตล์เฉพาะตัว, มีการแนะนำเส้นทางท่องเที่ยว-ร้านอาหารใกล้เคียงที่ไม่ควรพลาด เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้อยากไปพัก โดยการตั้งราคาห้องพักที่จูงใจจะเป็นเพียงปัจจัยร่วมเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น
.
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่
การตลาด (Marketing) รวมข้อมูลเพิ่มเติม
-------------------------------------------------