plan_ictการจัดทำแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลระยะแรก 18 ด้าน
การจัดทำแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลระยะแรก 18 ด้าน จากแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2559-2561) ได้กำหนดแนวทางการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเป็น 4 ยุทธศาสตร์ เน้นการพัฒนาขีดความสามารถเชิงดิจิทัลจำนวน 18 ด้าน จากความสามารถที่กำหนดไว้ 26 ด้าน
โดยการยกระดับขีดความสามารถเชิงดิจิทัลของภาครัฐไทย สู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลในระยะแรกทั้ง 18 ด้าน กำหนดให้มีแนวทางการพัฒนาที่สอดคล้องกัน โดยจากผลการวิเคราะห์แบ่งมาตรการพัฒนาขีดความสามารถเชิงดิจิทัลออกเป็น 3 กลุ่ม ตามลำดับความสำคัญของผลการประเมินเชิงกว้างและเชิงลึกดังต่อไปนี้
มาตรการที่สำคัญเป็นลำดับที่ 1 ประกอบด้วย มาตรการที่มีความพร้อมสูงและยกระดับได้มากควรเร่งสนับสนุนและผลักดัน เพื่อให้เกิดผลและการพัฒนาแบบก้าวกระโดด รวมทั้งสิ้น 11 มาตรการดังต่อไปนี้
1. การบูรณาการข้อมูลผ่านระบบเชื่อมโยงข้อมูลกลาง
2. โครงสร้างพื้นฐานการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์
3. ยกระดับศักยภาพบุคลากรภาครัฐ
4. การให้บริการความช่วยเหลือแบบบูรณาการในเชิงรุก
5. การบูรณาการตลาดแรงงานแบบครบวงจร
6. การเกษตรแบบครบวงจรรายบุคคลผ่านการบูรณาการ
7. การบูรณาการงานบริการด้านการลงทุนข้ามหน่วยงาน
8. การส่งเสริม SME แบบบูรณาการเชิงรุกเพื่อส่งเสริมการเติบโต
9. ระบบภาษีบูรณาการข้ามหน่วยงานแบบครบวงจร
10. การบูรณาการด้านการท่องเที่ยวแบบครบวงจร
11. การให้ทุกข้อมูลงานบริการผ่านจุดเดียวโดยมีผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง
มาตรการที่สำคัญเป็นลำดับที่ 2 ประกอบด้วย มาตรการที่มีความพร้อมสูงและยกระดับได้บางส่วน โดยเสนอให้จัดทำเป็น Quick Wins เพื่อปิดช่องว่างและพัฒนาให้ได้ถึงเป้าหมาย และมาตรการที่มีความพร้อมต่ำแต่ยกระดับได้มาก ซึ่งควรได้รับการผลักดันอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสิ้น 2 มาตรการดังต่อไปนี้
1. การยืนยันตัวตนและบริหารจัดการสิทธิโดยใช้ Smart Card หรือผ่านบัญชีผู้ใช้อิเล็กทรอนิกส์กลาง
2. การแก้ไขเรื่องร้องเรียนและการเข้าถึงความต้องการในเชิงรุก
มาตรการที่สำคัญเป็นลำดับที่ 3 ประกอบด้วยมาตรการที่มีความพร้อมต่ำและยกระดับได้น้อย ควรมุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ให้ดีเสียก่อน รวมทั้งสิ้น 5 มาตรการดังต่อไปนี้
1. การบูรณาการการนำเข้าส่งออกแบบครบวงจร
2. การรักษาความปลอดภัยสาธารณะในเชิงรุกโดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก
3. การประเมินความเสี่ยงผู้โดยสารข้ามแดนล่วงหน้า และพิสูจน์ตัวตนผ่านช่องทางอัตโนมัติสำหรับผู้โดยสาร
4. การบูรณาการข้อมูลเพื่อป้องกันภัยธรรมชาติ
5. การบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อบริหารจัดการในภาวะวิกฤต
จากการศึกษาวิเคราะห์ประสบการณ์ในการขับเคลื่อนโครงการขนาดใหญ่ ที่มีขอบเขตกว้างความซับซ้อนสูงและมีผู้เกี่ยวข้องจำนวนมาก และในลักษณะการปฏิรูป พบว่ามีปัจจัยสู่ความสำเร็จหลัก 5 ประการ
1. การเตรียมความพร้อมคน (Citizen Competence) จำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมคนทั้งภาครัฐและภาคประชาชนให้พร้อมสู่การเปลี่ยนแปลงในอนาคต ทั้งในเชิงการเพิ่มศักยภาพให้สามารถรับมือการเปลี่ยนแปลง และการสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
2. ผู้นำบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Leadership) มีผู้บริหารที่เข้าใจและให้ความสำคัญต่อการพัฒนาและคอยให้การสนับสนุนอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในการด าเนินงานเชิงบูรณาการที่ต้องได้รับความร่วมมือระหว่างหลายหน่วยงาน เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
3. แผนการดำเนินงานที่ขับเคลื่อนได้จริง (Actionable Plan) มีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนขับเคลื่อนได้จริง โดยมีการระบุผู้รับผิดชอบหลักที่ชัดเจน รวมถึงการแบ่งบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ทั้งด้านการจัดสรรงบประมาณ การติดตามและชี้วัดความสำเร็จ รวมถึงการมอบหมายบุคลากรจากแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4. มีการติดตามการดำเนินโครงการอย่างจริงจัง (Continuous Monitoring) มีการติดตามการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องและจริงจัง โดยมีการตอบสนองอย่างรวดเร็วเพื่อผลักดันโครงการให้เกิดผลตามแผนการดำเนินงานที่กำหนดไว้ รวมถึงการผลักดันมาตรการเร่งด่วน (Quick Wins) ให้มีผลเป็นรูปธรรมและเป็นแรงขับเคลื่อนโครงการ
5. การสื่อสารและประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง (Key Focus and Message) มีการสื่อสารประชาสัมพันธ์และการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม โดยให้ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมในการผลักดันโครงการและมีความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกันเพื่อเพิ่มความโปร่งใสในการดำเนินงานตลอดทั้งโครงการ รวมถึงลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
----------------------------------------