tns ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี รวมข้อมูล Q&A แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
Q&A แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
แผนแม่บทฯ ไม่ได้มีการกำหนดเจ้าภาพหลักและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาจเกิดปัญหาสำคัญ ได้แก่
Q1 การไม่มีหน่วยงานเจ้าภาพหลักที่จะบูรณาการภาพรวมของเป้าหมายและตัวชี้วัด อาจทำให้การขับเคลื่อนขาดเอกภาพ
A: แผนแม่บทฯ เป็นแผนระดับที่ 2 ที่มีการถ่ายระดับเป้าหมายและประเด็นยุทธศาสตร์ซาติมาสู่แนวทางพัฒนาที่สามารถนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายและค่าเป้าหมายที่มีความชัดเจนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งแผนแม่บท ฯ เป็นแผนเชิงบูรณาการระหว่างประเด็นการพัฒนา ขณะที่แผนระดับ 3 เป็นแผนเชิงปฏิบัติการ จึงจะกำหนดเจ้าภาพดำเนินการในแผนระดับที่ 3 ต่อไป (จากเหตุผลดังกล่าว หน่วยงานจึงจำเป็นต้องนำเข้าแผนระดับ 3 ในระบบ eMENSCR)
Q2 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่มีเวทีที่จะทำความเข้าใจร่วมกันในการขับเคลื่อนเป้าหมาย อาจเกิดปัญหาการทำงานที่ไม่บูรณาการได้
A: นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมาย สศช. กลั่นกรองแผนงาน โครงการตามที่กระทรวงได้จัดส่งให้ ภายใต้ 15 ประเด็นเร่งด่วนใน 5 ปีแรกของยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งจะระบุกรอบของแผนงาน โครงการ หน่วยงานเจ้าภาพ รวมทั้งวงเงินงบประมาณ เพื่อใช้ในการบูรณาการดำเนินงานให้สอดคล้องกับบริบทการพัฒนาในช่วง 5 ปีแรกต่อไป
Q3 ตัวชี้วัดในแผนแม่บทฯต่าง ๆ กำหนดขึ้นจากอะไร
A: พิจารณาจากข้อมูลปัจจุบัน และหลักวิชาการที่เกี่ยวข้อง โดยดำเนินการร่วมกันระหว่างคณะกรรมการจัดทำ
ยุทธศาสตร์ชาติ และภาคการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง
Q4 ตัวชี้วัดการเข้าถึงบริการของกลุ่มรายได้ต่าง ๆ ควรมีการแบ่งอย่างไร
A: ตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทฯ เป็นตัวชี้วัดผลลัพธ์ภาพรวมในระดับประเทศในประเด็นนั้น ๆ ซึ่งในส่วนของการแบ่งกลุ่มรายได้มีการแบ่งเป็น 10 กลุ่มรายได้ โดยใช้ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ (ฐานข้อมูลการสำรวจเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน (หรือ Socio-Economic Survey: SES) ทั้งนี้ สศข. อยู่ระหว่างการจัดทำอภิธานศัพท์ของยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทฯ เพื่ออธิบายคำนิยามและความหมายให้เกิดความเข้าใจตรงกัน
Q5 แนวทางการพัฒนาระบบประกันสุขภาพอยู่ในยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ แต่เรื่องประกันสุขภาพอยู่ในประเด็นยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ควรมีการปรับแก้แนวทางการพัฒนาหรือไม่
A: แผนแม่บทฯ เป็นแผนระดับที่ 2 ทั้ง 23 ฉบับ เป็นการกำหนดประเด็นในลักษณะที่มีความบูรณาการและเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์ชาติด้านที่เกี่ยวข้อง (Cross ssue) และประเด็นการพัฒนาจะไม่มีความซ้ำซ้อนกันระหว่าง แผนแม่บทฯ เพื่อให้ส่วนราชการสามารถนำแผนแม่บทฯ ไปใช้ในทางปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ และป้องกันการเกิดความสับสน ทั้งนี้แผนแม่บทฯ จะมีความสอดคล้องมากกว่า 1 ยุทธศาสตร์ชาติ
Q6 ถ้ากรมสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง กรมจะสามารถมีโครงการสนับสนุนแผนแม่บทฯ 2 ประเด็น ได้แก่ แผนแม่บทฯ ด้านความมั่นคง และแผนแม่บทฯ ด้านการต่างประเทศได้หรือไม่
A: สามารถสนับสนุนแผนแม่บทฯ ได้ทั้ง 2 ประเด็น แต่จำเป็นที่จะต้องเลือกประเด็นหลักเพียงหนึ่งประเด็นเท่านั้น ส่วนประเด็นสนับสนุนเป็นประเด็นรอง
Q7 การเขียนโครงการ (X) ต้องสัมพันธ์กับการของบประมาณใช่หรือไม่ และกรณีองค์การมี 4 พันธกิจหลัก ควรเขียนโครงการ (X) 4 โครงการ ใช่หรือไม่
A: ใช่ ต้องสัมพันธ์กับการของบประมาณ และสอดคล้องกับแผนระดับ 1 และแผนระดับ 2 ทั้งนี้ ส่วนราชการสามารถ
มีโครงการมากกว่าหรือน้อยกว่า 4 โครงการได้ แต่โครงการต้องตอบภารกิจหน่วยงานได้อย่างครบถ้วน พร้อมทั้งสามารถนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการดำเนินงานของยุทธศาสตร์ซาติ และแผนแม่บทฯ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเป็นรูปธรรม
Q8 แผนงาน/โครงการของส่วนราชการที่ไม่ได้สนับสนุนแผนแม่บทฯ (Y) และยุทธศาสตร์ชาติ (Z) แต่สนับสนุนแผนระดับ x ของส่วนราชการเอง เวลาเขียนแผนงาน/โครงการจะใช้วิธีอย่างไร เช่น โครงการศึกษาความเหมาะสมที่มีงบประมาณสูง
A: การออกแบบแผนงาน/โครงการจะต้องคำนึกถึงความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ (Z) และแผนแม่บทฯ (Y) เนื่องจาก พรบ.การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติฯ กำหนด พร้อมทั้งจะเป็นกรอบในการจัดสรรงบประมาณต่อไป (หาก x ไม่สามารถตอบแผนแม่บทฯ (Y) และยุทธศาสตร์ชาติ (Z) ได้ แสดงว่าหลักการออกแบบโครงการผิด
ที่มา สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราวยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (Thai National Strategy 20 year) เพิ่มเติมคลิกที่นี่
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (Thai National Strategy 20 year) รวมข้อมูล
-------------------------------------------------