iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป

รายงานผลสำรวจระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐของไทย ประจำปี ๒๕๖๐

บทนำ

ตามเจตนารมณ์ของรัฐบาลที่มุ่งมั่นผลักดันนโยบายเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล โดยมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสนับสนุนและขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของประเทศ สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ซึ่งที่ผ่านมา รัฐบาลได้ดำเนินการขับเคลื่อนเชิงนโยบายมาอย่างต่อเนื่อง โดยหนึ่งในนโยบายที่รัฐบาลให้ความสำคัญคือ นโยบายการปรับเปลี่ยนภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล โดยเมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๙ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทยระยะ ๓ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๒๕๖๑) เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

นอกจากนี้ ในคราวประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๖๐ นายกรัฐมนตรีได้มีข้อสั่งการให้ทุกหน่วยงานภาครัฐสำรวจการนำดิจิทัลมาใช้ประโยชน์ในภารกิจของหน่วยงานและภารกิจเพื่อการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน แนวนโยบายและข้อสั่งการดังกล่าวมีความสอดคล้องกับการดำเนินงานของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยที่ผ่านมาสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สรอ. ได้จัดทำ โครงการสำรวจระดับความพร้อมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของหน่วยงานภาครัฐ ขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมข้อมูลที่สะท้อนสถานภาพการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของหน่วยงานภาครัฐในประเทศ ที่สามารถสะท้อนภาพและประเด็นที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของหน่วยงาน และเป็นประโยชน์ต่อการจัดทำนโยบายระดับประเทศ โดยมุ่งหวังว่า ข้อมูลจะสามารถสะท้อนถึง ปัญหา ความท้าทาย อุปสรรค รวมถึงปัจจัยแห่งความสำเร็จในการขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัล อันจะเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ในการจัดทำนโยบายและการจัดสรรงบประมาณด้านการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล รวมถึงเป็นแหล่งข้อมูลด้านการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลที่มีความน่าเชื่อถือ และให้หน่วยงานระดับนโยบาย ได้นำไปประกอบการจัดทำแผนและติดตามงานด้านนโยบายที่เหมาะสม

โครงการสำรวจระดับความพร้อมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปี ๒๕๖๐

การดำเนินงานสำรวจระดับความพร้อมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปี ๒๕๖๐ สรอ. มุ่งเน้นให้ได้ข้อมูลที่สามารถสะท้อนระดับความพร้อมของรัฐบาลดิจิทัลในภาพรวมของประเทศ และแสดงถึงความเชื่อมโยงของการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐส่วนกลางกับหน่วยงานภาครัฐส่วนภูมิภาค โดยในปีนี้ มีการพัฒนากรอบการสำรวจและเกณฑ์การประเมินระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลของหน่วยงานภาครัฐทั้งระดับกรมและระดับจังหวัดให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน

วัตถุประสงค์ของโครงการ

๑. เพื่อศึกษา ทบทวน และพัฒนากรอบการประเมินความพร้อมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทย รวมถึงตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมินระดับความพร้อมด้านรัฐบาลดิจิทัลของหน่วยงานภาครัฐระดับประเทศให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมต่อแนวทางการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย

๒. สำรวจระดับการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของหน่วยงานภาครัฐทั้งระดับกรมและระดับจังหวัด เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ สามารถใช้อ้างอิงในการดำเนินงานด้านการจัดทำนโยบายและพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศ

๓. เผยแพร่ข้อมูลสถานภาพความพร้อมด้านรัฐบาลดิจิทัล เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐหรือภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง นำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผน จัดทำนโยบาย วางมาตรการ เพื่อขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัลระดับประเทศ

การพัฒนากรอบการประเมินการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของหน่วยงานภาครัฐไทย ปี ๒๕๖๐ แบ่งออกเป็นทั้งหมด ๖ มิติ และมีค่าน้ำหนักที่แตกต่ำงกัน โดยมีรายละเอียดดังนี้ 

มิติที่ ๑ แนวนโยบายและหลักปฏิบัติ (Policies / Practices) ค่ำน้ำหนักร้อยละ ๒๐ โดยประเมินความ พร้อมในการจัดทำแผนเพื่อรองรับการพัฒนำสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล ว่ามีความสอดคล้องกับนโยบาย แผน ระดับชาติ นโยบายความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ แนวทางการปกป้องคุ้มครองและการเปิดเผยข้อมูล ส่วนตัว รวมถึงการจัดสรรงบประมาณด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ  

มิติที่ ๒ ศักยภาพเจ้าหน้าที่ภาครัฐด้านดิจิทัล (Digital Capabilities) ค่ำน้ำหนักร้อยละ ๒๐ โดยประเมิน ความเพียงพอของเจ้าหน้าที่ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ความรับผิดชอบและความต่อเนื่องของผู้บริหาร เทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (CIO) และการส่งเสริมทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) ของหน่วยงาน 

มิติที่ ๓ บริการภาครัฐที่สะดวกเข้าถึงง่าย (Public Services) ค่าน้ำหนักร้อยละ ๓๐ โดยประเมินสัดส่วน จำนวนบริการในรูปแบบดิจิทัลต่อบริการภาครัฐทั้งหมด การให้ความรู้แก่ผู้ใช้บริการ รวมถึงช่องทางการเข้าถึง และแนวทางการสนับสนุนบริการของภาครัฐ  

มิติที่ ๔ การบริหารจัดการภายในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Smart Back Office Practices) ค่าน้ำหนักร้อย ละ ๑๐ โดยประเมินการนำระบบดิจิทัล และ ERP เข้ามาใช้ในการบริหารจัดการภายใน รวมถึงการเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่นๆ  

มิติที่ ๕ โครงสร้างพื้นฐานที่มีความมั่นคงปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ (Secure and Efficient Infrastructure) ค่าน้ำหนักร้อยละ ๑๕ โดยประเมินความเพียงพอและความสามารถในการทำงานได้ต่อเนื่อง ของโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล พร้อมทั้งการบริหารจัดการฐานข้อมูลของหน่วยงาน 

มิติที่ ๖ เทคโนโลยีอัจฉริยะและการนำไปใช้ (Smart Technological Practices) ค่าน้ำหนักร้อยละ ๕ โดยประเมินแนวทางการประยุกต์ใช้ IoT, Big Data และ Mobile Technology ของหน่วยงำน  

ผลสำรวจการประเมินการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของหน่วยงานภาครัฐไทย ปี ๒๕๖๐ 

- ประเทศไทย ได้ผลการสำรวจที่ผ่านเกณท์ระดับ 57.8% ซึ่งยังถือว่าอยู่ในระดับที่ต่ำมาก โดยมีข้อที่ต่ำกว่า 50% ถึง 2 มิติคือ มิติที่ ๔ การบริหารจัดการภายในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Smart Back Office Practices) 49.3% และมิติที่ ๖ เทคโนโลยีอัจฉริยะและการนำไปใช้ (Smart Technological Practices) 47% 

- กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ผลการสำรวจที่ผ่านเกณท์ระดับ 54.4% ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่ต่ำมาก ต่ำกว่าเกณท์เฉลี่ยประเทศไทย โดยมีข้อที่ต่ำกว่า 50% ถึง 2 มิติคือ มิติที่ ๔ การบริหารจัดการภายในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Smart Back Office Practices) 41.4% และมิติที่ ๖ เทคโนโลยีอัจฉริยะและการนำไปใช้ (Smart Technological Practices) 49% 

- กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้ผลการสำรวจที่ผ่านเกณท์ระดับ 66.2% ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่ดีมาก สูงกว่าเกณท์เฉลี่ยประเทศไทยเกือบ 10 % มีผลเฉลี่ยส่วนใหญ่มากกว่า 60% สำหรับ 2 มิติที่มีผลอยู่ต่ำสุดคือ มิติที่ ๔ การบริหารจัดการภายในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Smart Back Office Practices) 61.3% และมิติที่ ๕ โครงสร้างพื้นฐานที่มีความมั่นคงปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ (Secure and Efficient Infrastructure) 60.0% ซึ่งยังนับมาสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศไทยและค่าของกระทรวงอุตสาหกรรม อาจกล่าวได้ว่าการดำเนินการด้านคฃดิจิตัลของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม อยู่ในระดับดีและมีส่วนช่วยดึงระดับค่าเฉลี่ยให้ทั้งในระดับกระทรวง และระดับประเทศไทยให้มีค่าที่ดีขึ้น

-----------------------------------------------

 
 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward