รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน 2565 ด้าน 5 ระบบอาหารที่ดินน้ำและมหาสมุทรที่ยั่งยืน (Sustainable Food, Land, Water and Oceans)
5. ระบบอาหาร ที่ดิน น้ำ และมหาสมุทรที่ยั่งยืน (Sustainable Food, Land, Water and Oceans) ต้องมีระบบเกษตรและอาหารที่มีความสมดุล ยั่งยืน และปรับตัวได้ เกี่ยวข้องกับความสมดุล และความเชื่อมโยงของมิติทั้งสามของการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้แก่ มิติทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
• ถึงแม้ว่าในประเทศไทยประชาชนสามารถเข้าถึงอาหารได้อย่างสะดวกและทั่วถึง แต่ระบบการเกษตรและการผลิตอาหารยังขาดความสมดุล ขาดศักยภาพในการใช้ทรัพยากรเพื่อการผลิตอาหาร เช่น ทรัพยากรดินและนํ้าอย่างยั่งยืน และผู้ที่อยู่ในภาคส่วนการเกษตรยังเป็นกลุ่มที่เปราะบาง จึงต้องคำนึงถึงความยั่งยืนของระบบทำการเกษตรและระบบอาหารควบคู่กัน และพร้อมกับระบบจัดการและธรรมาภิบาลสภาพสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติทีเชื่อมโยงกับ นํ้า ป่าไม้ และการใช้ที่ดิน
• ความมั่นคงทางอาหารของไทย ยังขาดมิติและระบบการจัดการเพื่อลดความสูญเสียอาหาร การจัดการและหมุนเวียนของทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ อันเกิดจากช่องว่างของการขาดข้อมูลและระบบจัดการข้อมูลเกี่ยวกับขยะอาหาร และความสามารถในการใช้ขยะหรือของเหลือให้เกิดประโยชน์ทางอื่น ความตระหนักรู้ และความสนใจของประชาชนที่จะลด ปรับเปลี่ยน และหมุนเวียนของเหลือจากอาหารยังมีน้อย รวมถึงยังไม่มีระบบจัดการและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรเหลือทิ้งเหล่านี้
ประด็นที่เกี่ยวข้องและสถานะรายเป้าหมายย่อย
• ควรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและยังรวมถึงการให้ความสำคัญของ สภาพแวดล้อมของชุมชน (ซึ่งเป็นแหล่งผลิตอาหาร) และผู้บริโภคที่นอกจากควรได้รับประโยชน์แล้ว ยังต้องส่งเสริมการรับผิดชอบร่วมกันในระบบนิเวศอาหารและสิ่งแวดล้อม
ความท้าทายเชิงระบบที่สำคัญและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
การขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนในโจทย์ของ อาหาร นํ้า ที่ดิน และทะเล เป็นประเด็นที่ใหญ่ มีความซับซ้อนในหลายมิติ ซึ่งประเทศไทยยังมีข้อจำกัดในหลายด้านตั้งแต่ด้นนํ้าจนถึงปลายนํ้าชองกระบวนการพัฒนา จึงต้องมองประเด็นความห้าทายสามประเด็นไปพร้อมกัน
1. การขาดปัจจัยสำคัญที่จะขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (lacking)
• ปัจจัยที่ 1 ขาดคนที่มีความรู้และความเข้าใจในบริบทชุมชนสภาวะวิกฤตและความเปราะบางชองชุมชน เกษตรกรและประชาชนริมชายฝัง
• ปัจจัยที่ 2 ขาดระบบการจัดการเพื่อเชื่อมโยงการทำงาน เป้าหมายร่วม ตัวชี้วัดร่วม และการให้ความสำคัญและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ
• ปัจจัยที่ 3 ขาดข้อมูลที่จะดำเนินงานระดับท้องถิ่น และจำเป็นที่จะต้องได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานส่วนกลาง
• ปัจจัยที่ 4 สร้างพันธมิตรร่วมกันที่จะหาแนวทางปฏิบัติใหม่ ๆ และดึงทรัพยากรที่หลายหลาก
2. การขาดความเชื่อมโยงสู่การดำเนินงาน การติดตามผล และเรียนรู้ระดับท้องถิ่น (linkage) เช่น ระหว่างวิชาการและงานวิจัยสู่การปฏิบัติงาน การดำเนินงานร่วมกันผ่านชุดข้อมูลที่สะท้อนถึงปัญหาและบริบทปัจจุบัน การดำเนินงานในระดับพื้นที่แผนและนโยบายสู่ชุมชน ความเชื่อมโยงเพื่อสะท้อนปัญหา จากระดับท้องถิ่นเข้าสู่การตั้งโจทย์วิจัย วาระทางนโยบายและจัดสรรงบประมาณที่ใช้ท้องถิ่นและความต้องการของพื้นที่เป็นฐาน รวมทั้งการคำนึงถึงการตั้งผลลัพธ์และเป้าหมายที่ขัดเจน
3. ความเข้าใจและคำนึงถึงบทบาทของชุมชนเป็นแกนหลักร่วมกันในการขับเคลื่อนการพัฒนา (local and community driven development) จำเป็นต้องอาศัยความเข้าใจ เกี่ยวกับความเปราะบางทางเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมของชุมชนชายฝัง เกษตรกรผู้ผลิตอาหารและเสริมความเข้มแข็ง ระยะยาวด้วยนวัตกรรมความรู้และทรัพยากรที่หลากหลาย รวมทั้งให้มีกลไกเพื่อจัดการทรัพยากรร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาในบริบทของท้องถิ่น
ข้อมูลเพิ่มเติม
- รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2565