Data Governance นิยาม หมวดหมู่ของข้อมูล (Data Catagory)
สนใจเอกสารดาวน์โหลดได้ที่ E-Book กรอบการกำกับดูแลข้อมูล (Data Governance Framework)
ที่มา สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน, สพร., DGA)
หมวดหมู่ของข้อมูล (Data Catagory)
หมวดหมู่ของข้อมูล (Data Catagory) แบ่งออกได้เบ็น 4 หมวดหมู่ ดังนี้
1. ข้อมูลส่วนบุคคล มีนิยามและที่มา ดังต่อไปนี้
"ข้อมูลส่วนบุดดล" หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล ซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม (ร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล)
"ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล" หมายความว่า ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของบุคคล เช่น การศึกษา ฐานะการเงิน ประวัติสุขภาพ ประวัติอาชญากรรม หรือประวัติการทำงานบรรดาที่มีชื่อของผู้นั้นหรือมีเลขหมาย รหัส หรือสิ่งบอกลักษณะอื่นที่ทำให้รู้ตัวผู้นั้นได้ เช่น ลายพิมพ์นิ้วมือ แผ่นบันทึก ลักษณะเสียงของคนหรือรูปถ่าย และให้หมายความรวมถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่ง เฉพาะตัวของผู้ที่ถึงแก่กรรมแล้วด้วย (พ.ร.น. ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐)
"ข้อมูลส่วนบุคคล" หมายความว่า ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของบุคคล เช่น การศึษา ฐานะการเงิน ประวัติสุขภาพ ประวัติอาชญากรรม หรือประวัติารทำงาน บรรดาที่มีชื่อของผู้นั้น หรือมีเลขหมาย รหัส หรือสิ่งบอกลัษณะอื่นที่ทำให้รู้ตัวผู้นั้นได้ เช่น ลายพิมพ์นิ้วมือ แผ่นบันทึก ลักษณะเสียงของคนหรือรูปถ่าย และให้หมายความรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ (ร่าง พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารสาธารณะ)
จากนิยามข้างต้นอาจสรุปว่า ข้อมูลส่วนบุคคล คือ "ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของบุคคล ที่ทำให้สามารถระบุตัวหรือรู้ตัวของบุคคลนั้น ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลการศึกษา ประวัติสุขภาพ ลายพิพนิ้วมือ เป็นต้น"
2. ข้อมูลความมั่นคง มีนิยามและที่มา ดังต่อไปนี้
มาตรา 59 รัฐต้องเปิดเผยข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยงานของรัฐที่มิใช่ข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐหรือเป็นความลับของทางราชการตามที่กฎหมายบัญญัติ และต้องจัดให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสรดังกล่าวได้โดยสะดวก (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560)
จากนิยามข้างต้น จึงได้ข้อสรุปว่า ข้อมูลความมั่นคง คือ "ข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐที่ทำให้เกิดความสงบเรียบร้อย การมีเสถียรภาพความเป็นปีกแผ่น ปลอดภัยจากภัยคุกคาม เป็นต้น"
3. ข้อมูลความลับทางราชการ มีนิยามและที่มา ดังต่อไปนี้
"ข้อมูลข่าวสารลับ" หมายความว่า ข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 14 หรือมาตรา 15 ที่มีคำสั่งไม่ให้เปิดเผยและอยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐหรือที่เกี่ยวกับเอกชน ซึ่งมีการกำหนดให้มีชั้นความลับเป็น ชั้นลับ ชั้นลับมาก หรือชั้นลับที่สุด ตามระเบียบนี้โดยคำนึงถึงการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐและประโยชน์แห่งรัฐประกอบกัน (ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของราชการ พ.ศ. 2540)
"สิ่งที่เป็นความลับของทางราชการ" หมายความว่า ข้อมูลข่าวสาร บริภัณฑ์ ยุทธภัณฑ์ ที่สงวน การรหัส ประมวลลับ และสิ่งอื่นใดบรรดาที่ถือว่าเป็นความลับของทางราชการ (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2542)
"ข้อมูลข่าวสารของราชการ" หมายความว่า ข้อมูลข่วสารที่อยู่ในครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเอกชน (ร่าง พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารสาธารณะ)
จากนิยามข้างต้น จึงได้ข้อสรุปว่า ข้อมูลความลับทางราชการ คือ "ข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐที่มีคำสั่งไม่ให้มีการเปิดเผย และมีการกำหนดชั้นความลับของข้อมูล"
4. ข้อมูลสาธารณะ มีนิยามและที่มา ดังต่อไปนี้
มาตรา 59 รัฐต้องเปิดเผยข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยงานของรัฐที่มิใช่ข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐหรือเป็นความลับของทางราชการตามที่กฎหมายบัญญัติ และต้องจัดให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารดังกล่าวได้โดยสะดวก (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560)
"ข้อมูลข่าวสารสาธารณะ" หมายความรวมถึง ข้อมูลข่าวสารทุกประเภท รวมถึงข้อมูลข่าวสารของราชการ ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับบุคคล องค์กร หรือหน่วยงานที่ดำเนินการใด ๆ โดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติ สาธารณสมบัติ งบประมาณแผ่นดิน อำนาจของหน่วยงานรัฐ สิทธิหรือหน้าที่ของหน่วยงานรัฐที่มอบหมายให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการแทนเพื่อประโยชน์สาธารณะ (ร่าง พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารสาธารณะ)
จากนิยามข้างต้นจึงได้ข้อสรุปว่า ข้อมูลสาธารณะ คือ "ข้อมูลที่สามารถปิดเผยได้ สามารถนำไปใช้ได้อย่างอิสระ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสาร ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น"
ที่มาข้อมูล https://www.dga.or.th
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราว กรอบการกำกับดูแลข้อมูล เพิ่มเติมคลิกที่นี่
Data Governance การธรรมาภิบาลข้อมูล (DATA GOVERNANCE)-------------------------------------------------