Data Governance นิยามของการกำกับดูแลข้อมูล (Data Governance Definition)
สนใจเอกสารดาวน์โหลดได้ที่ E-Book กรอบการกำกับดูแลข้อมูล (Data Governance Framework)
ที่มา สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน, สพร., DGA)
นิยามของการกำกับดูแลข้อมูล (Data Governance Definition)
การกำกับดูแลข้อมูล (Data Governance)ได้มีผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานต่าง ๆ ให้คำนิยามไว้ดังต่อไปนี้
"กิจกรรมที่ประกอบด้วยการกำหนดอำนาจ การควบคุม และการตัดสินใจในการบริหารจัดการข้อมูลโดยที่ข้อมูลถูกจัดให้เป็นหนึ่งในสินทรัพย์ของหน่วยงาน" (Askham, N., 2016)
"ระบบที่กำหนดถึงอำนาจการตัดสินใจ และหน้าที่ความรับผิดชอบต่อกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล โดยที่มีแบบแผนที่ชัดเจนและได้รับการยอมรับ ซึ่งแบบแผนดังกสาวต้องสามารถอธิบายได้ว่ ใครมีบทบาทในการทำอะไรกับข้อมูสชุดไหน เมื่อไร ใช้หลักการและวิธีการอย่างไรในการใช้ข้อมูล " (Thomas, 2009)
"การกำหนดสิทธิ์และการควบคุม (การวางแผน การตรวจสอบ และการบังคับ) ในการบริหารจัดการข้อมูล" (Henderson et al., 2017)
"การจัดการข้อมูล จากมุมมองที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล ทำให้หน่วยงานตระหนักถึงการจัดทำมาตรฐานข้อมูลที่เป็นระบบและการบูรณาการข้อมูล ทัข้อมูลที่อยู่ในระบบ ขัอมูลที่สัมพันธ์กับการดำเนินงานของหน่วยงาน นโยบาย และกระบวนการปฏิบัติงานต่าง ๆ" (Kim, H. Y., & Cho, J. S., 2017)
สรุป การกำกับดูแลข้อมูล (Data Governance) คือ "การกำหนดสิทธิ์ในการตัดสินใจและความรับผิดชอบ ในการส่งเสริมให้เกิดกระบวนการจัดทำ การใช้งาน และการบริหารจัดการข้อมูล รวมถึงกระบวนการที่กำหนดบทบาท นโยบาย และมตรฐาน ที่ช่วยสนับสนุนให้การดำเนินงานเกี่ยวกับข้อมูลมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลให้หน่วยงานสามารถบรรลุเป้าหมายได้"
ในมุมมองของภาครัฐ การกำกับแลข้อมูล (Data Governance) หมายถึง การกำหนดสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการบริหารจัดการข้อมูลทุกขั้นตอน เพื่อให้การได้มาและการนำไปใช้ข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐถูกต้องครบถ้วนเป็นปัจจุบัน รักษาความเป็นส่วนบุคคลและสามารถเชื่อมโยงกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและมั่นคงปลอดภัย โดยใช้ข้อมูลเป็นหลักในการขับเคลื่อนประเทศ เช่น การใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์การตัดสินใจเชิงนโยบายและการบริหารราชการแผ่นดิน การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการประชาชน การเสริมสร้างและผลักดันธุรกิจที่เกิดจากการใช้นวัตกรรมข้อมูล
องค์ประกอบหลักของการกำกับดูแลข้อมูลที่ดี จาก Intragovernmental Group on Geographic Information (IGGI, 2005) ได้ให้นิยามไว้ ประกอบไปด้วย
1. มีความมั่นคงปลอดภัยและรักษาความเป็นส่วนบุคคล โดยมีมาตรการในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยและความเป็นส่วนบุคคล ซึ่งช่วยบ้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับข้อมูลและการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
2. มีมาตรการควบคุมและจัดการวงจรชีวิตของข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย การประเมินธุรกิจ การกำหนดประเภทและแนวทางการแบ่งประเภทของชุดข้อมูล มีการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเก็บข้อมูลและการทำลายข้อมูล
3. มีนโยบายการใช้ข้อมูลที่ชัดเจน โดยกำหนดนโยบายและกฎเกณฑ์ของข้อมูลเป็นกรอบสำหรับการบริหารจัดการและกำกับดูแลข้อมูล
4. มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของเจ้าของข้อมูล โดยกำหนดวิธีการที่ผู้ดูแลข้อมูลหรือเจ้าของข้อมูล สามารถจัดการ เปลี่ยนแปลง หรือส่งผ่านข้อมูลให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดบัญหาในกรณีที่ชุดข้อมูล หรือฐานข้อมูลบางแหล่งอาจจะมีผู้ดูแล ผู้ใช้งาน หรือเจ้าของข้อมูลหลายคนหรือหลายหน่วยงาน
5. ข้อมูลมีเมทาคาตา (Meta Data) โดยเมทาดาตาจะช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าใจว่าข้อมูลชุดนี้คือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอะไร สามารถนำไปใช้งานอย่างไร และมีข้อจำกัดอะไร โดยมีมาตรฐานของเมทาคาตาที่เหมาะสมกับการใช้งาน
6. ข้อมูลมีคุณถาพ โดยมีมาตรการในการควบคุมคุณภาพของข้อมูลให้มีคุณภาพสูง ซึ่งจะสนับสนุนให้การดำเนินงนของหน่วยงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ที่มาข้อมูล https://www.dga.or.th
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราว กรอบการกำกับดูแลข้อมูล เพิ่มเติมคลิกที่นี่
Data Governance การธรรมาภิบาลข้อมูล (DATA GOVERNANCE)-------------------------------------------------