Digital Literacy แนวทางการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ
สาระสำคัญ
1. กำหนดทิศทางและเป้าหมายการพัฒนาข้าราชการ (Goal Setting) ทั้งกลุ่ม Non IT และกลุ่ม IT ในรูปของ “บทบาทและพฤติกรรมที่คาดหวัง” 18 บทบาท โดยมุ่งหมายเพื่อผลักดันให้เกิดการปรับเปลี่ยนภาครัฐเป็นรัฐบาลดิจิทัล
2. จำแนกกลุ่มเป้าหมายการพัฒนาออกเป็น 6 กลุ่ม ตามบทบาทและลักษณะงานที่ปฏิบัติ ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูง ผู้อำนวยการสำนัก/กอง ผู้ทำงานนโยบายและวิชาการ ผู้ทำงานด้านบริการ ผู้ปฏิบัติงานด้านดิจิทัล และผู้ปฏิบัติงานอื่น ๆ
3. กำหนดกลุ่มทักษะที่ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐต้องพัฒนาออกเป็น 7 กลุ่มทักษะ
4. กำหนดประเด็น (Theme) การพัฒนาบุคลากรภาครัฐ เพื่อเป็นกรอบในการพัฒนา จำนวน 2 ประเด็น ได้แก่ การพัฒนาคนเพื่อสร้างและพัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลของหน่วยงาน การสร้างและพัฒนาคนให้เท่าทันและสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงานได้อย่างรอบรู้
5. วางรากฐานการพัฒนาบุคลากรภาครัฐใหม่ โดยนำแนวคิดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มาใช้ ดังนี้
กำหนดให้การพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลเป็นหน้าที่ของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐแต่ละคน ปรับเปลี่ยนรูปแบบการฝึกอบรม (In class training) ลดบรรยาย เพิ่มการเรียนรู้ด้วยวิธีการอื่น โดยกำหนดสัดส่วนการบรรยาย ไม่เกินร้อยละ 60 และวิธีการอื่น (เช่น Work Shop, Discussion, Role play) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทักษะ ให้สามารถทำได้ ทำเป็น มากกว่าการรับฟังข้อมูลความรู้ แบบเดิม
6. กำหนดให้มีผู้รับผิดชอบหลักในการดำเนินการเพื่อการพัฒนา ดังนี้
กระทรวงดิจิทัลฯ และหน่วยงานในสังกัด รับผิดชอบ การพัฒนาข้าราชการ หัวหน้าส่วนราชการ (CEO) และ ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงประจำ กระทรวง
กรม (CIO) รับผิดชอบนำแนวทางการพัฒนาทักษะดิจิทัล ไปดำเนินการในระดับหน่วยงาน กระทรวงกรม และหน่วยงานของรัฐ
ประสานการทำงานกับ สำนักงาน ก.พ. และกระทรวงดิจิทัล ในการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล (จัดเตรียมแผนและแนวทางการพัฒนา) และให้จัดเตรียมงบประมาณสำหรับการพัฒนาและการประเมินบุคลากร (ปี 61 - 62 เจียดจ่ายจากงบประมาณของส่วนราชการ ปี 63 - 65 จัดทำคำของบประมาณเพื่อการพัฒนาโดยตรง)
กระทรวงดิจิทัลฯ ร่วมกับ สำนักงาน ก.พ. พัฒนาการบริหารกำลังคน (HRM) ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลภาครัฐ อาทิ การกำหนดตำแหน่งและอัตรากำลัง การวางทางก้าวหน้าในอาชีพ การให้ค่าตอบแทน เพื่อให้ภาคราชการมีกำลังด้านดิจิทัลที่เพียงพอในการขับเคลื่อนการปรับเปลี่ยนภาครัฐเป็นรัฐบาลดิจิทัล ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ และให้ คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ (คพร.) จัดสรรกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการศักยภาพสูง ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2560 เพื่อรองรับการจ้างบุคลากรในสายงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อเป็นอัตรากำลังเสริมระยะสั้นให้แก่ส่วนราชการ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ร่วมกับสำนักงาน ก.พ. จัดทำรายละเอียดทักษะด้านดิจิทัล และจัดให้มีการประเมินทักษะด้านดิจิทัลให้แก่ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ ตามที่ ก.พ. กำหนด
สำนักงาน ก.พ. และสำนักงาน ก.พ.ร. นำการประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการพลเรือนประเภทบริหารระดับสูง (ประเมินปลัด) และการประเมินส่วนราชการ ตามมาตรา 44 มาใช้เป็นเครื่องมือในการติดตามผลการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลตามแนวทางนี้
ที่มา วิภาดา ลิ่วเฉลิมวงศ์ สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน 2561 http://wiki.ocsc.go.th
.
รวบรวมข้อมูลและรูปภาพ www.iok2u.com
--------------------------------------------------------------
Digital Literacy ทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ
--------------------------------------------------------------