แนวโน้มเทคโนโลยีสำคัญ 8 ด้าน สำหรับรัฐบาลดิจิทัล
เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาท และส่งผลกระทบต่อสังคมเศรษฐกิจรวมถึงการดำเนินงานของภาครัฐเช่นเดียวกัน เพื่อที่จะยกระดับภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล ภาครัฐจำเป็นต้องให้ความสำคัญในการศึกษาวิจัยและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
- Virtual Reality / Augmented Reality การนำเทคโนโลยี Virtual Reality (VR) มาปรับใช้ในการจำลองภาพหรือสถานการณ์เหมือนจริง เพื่อบริหารจัดการความปลอดภัยสาธารณะ การขยายพื้นที่การรักษาสุขภาพไปยังพื้นที่ห่างไกล (Telemedicine) รวมถึงการเพิ่มรูปแบบใหม่ๆ ในการเรียนการสอน และการท่องเที่ยว
- ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ขั้นสูง ทำหน้าที่ รวบรวม จัดการวิเคราะห์และแสดงผลที่ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ในรูปแบบต่างๆ (กราฟ ตาราง และแผนที่พื้นผิวโลก) เพื่อให้สามารถบริหารจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่ได้ สามารถประยุกต์ใช้สำหรับภาคการเกษตร การคมนาคม หรือการขนส่งได้
- ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence, AI) เป็น ระบบการเรียนรู้ข้อมูลและทำนายข้อมูลด้วยเครื่องมือดิจิทัลตั้งแต่ระดับพื้นฐานจนถึงระดับขั้นสูง (การคำนวนเชิงตรรกะ การคำนวนเชิงสถิติ โครงข่ายประสาทเทียมและอื่น ๆ) โดยเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้มนุษย์สามารถทำงานได้รวดเร็วขึ้น เช่น การค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็วขึ้น สนับสนุนข้อมูลเพื่อช่วยแพทย์วิเคราะห์ โรคมะเร็ง เป็นต้น
- ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) การนำกลุ่มข้อมูลหรือข้อมูลขนาดใหญ่ที่ซับซ้อนมาประมวลผล วิเคราะห์ประเมิน และคาดการณ์ โดยอาศัยเครื่องมือดิจิทัล เพื่อการตอบสนองผู้รับบริการแบบ Real-time อีกทั้งช่วยสนับสนุน วางแผน หรือสร้างสรรค์ แนวคิดใหม่ ๆ
- ระบบเทคโนโลยีอัตโนมัติ (Automation Technology) ระบบอัตโนมัติมีบทบาทในการจัดทำขั้นตอนการดำเนินงานแทนมนุษย์หรือลดขั้นตอนบางอย่างลง และมีการประยุกต์ใช้เพื่อควบคุมหรือตรวจสอบในการผลิตเพื่อส่งมอบสินค้าหรือบริการ โดยระบบอัตโนมัติมีระดับความสามารถตั้งแต่ระดับน้อยจนถึงสูง ซึ่งในระดับสูงจะมีการประยุกต์ร่วมกับเทคโนโลยีอื่นร่วมด้วย เช่น การประยุกต์ระบบอัตโนมัติเข้าร่วมกับปัญญาประดิษฐ์ และ IoT เพื่อใช้ในการอุตสาหกรรมการจัดการคลังสินค้าเป็นต้น
- อินเทอร์เน็ตของทุกสรรพสิ่ง (Internet Of Things: IoT) การใช้เทคโนโลยี IoT ในการเชื่อมโยงข้อมูลทุกสิ่งทุกอย่างเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถเห็นความเคลื่อนไหวข้อมูลที่รวดเร็วและเป็นปัจจุบันมากขึ้น เช่นการติดอุปกรณ์ Sensor ในพื้นที่ป่าไม้เพื่อตรวจสอบการเจริญเติบโตของพื้นที่ป่า การควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น การเปิด/ปิดระบบอัตโนมัติ ซึ่งการใช้เทคโนโลยี IoT จะท?ำให้เกิดข้อมูลดิบมหาศาลสามารถนำ ไปใช้ร่วมกับเทคโนโลยี Big Data Analytics เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลต่อไปได้
- Next Generation Telecom โทรคมนาคมยุคใหม่ (5G) เป็นเทคโนโลยีที่รองรับการเปลี่ยนแปลงของการรับส่งข้อมูลที่ดีขึ้น มีแบนด์วิธ ความจุ และความปลอดภัยรวมทั้งความเสถียรในการรับส่งข้อมูลที่ดีมากขึ้น โดยเทคโนโลยี 5G นี้รองรับเทคโนโลยีอื่น ๆ เพื่อเสริมให้ทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การรับส่งข้อมูลจาก Internet of Things (IoT) นอกจากนี้แล้วเทคโนโลยี 5G ยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็น 6G และ 7G
- Block Chain / Distributed Ledger Technology เทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลแบบ Shared Database หรือ ที่รู้จักกันในชื่อ “Distributed Ledger Technology (DLT)” โดยเป็นรูปแบบการบันทึกข้อมูลที่รับประกันความปลอดภัยว่าข้อมูลที่ถูกบันทึกไปก่อนหน้านั้นไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข ซึ่งทุกผู้ใช้งานจะได้เห็นข้อมูลชุดเดียวกันทั้งหมด โดยใช้หลักการ Cryptography และความสามารถของ Distributed Computing เพื่อสร้างกลไกความน่าเชื่อถือ
-------------------------------------------------
(ร่าง) แผนพัฒนา รัฐบาลดิจิทัล ของประเทศไทย พ.ศ. 2563 - 2565
สนใจเอกสาร E-Book : (ร่าง) แผนพัฒนา รัฐบาลดิจิทัล ของประเทศไทย พ.ศ. 2563 - 2565 ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง
-------------------------------------------------