รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2565
เปิดตัว “รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2565” เจาะลึกข้อมูลสถานการณ์ SDGs ภายใต้มุมมองผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนของประเทศไทย
ครั้งแรกของประเทศไทยกับการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างภาคส่วน “เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย” เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา และได้มีการเปิดตัวรายงานการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย: มุมมองจากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างภาคส่วนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2565 (Thailand Sustainable Development Report 2022: TSDF Report)
รายงานฉบับนี้เกิดขึ้นจากการระดมความคิดเห็นของภาคส่วนที่ดำเนินงาน SDGs ผ่านกระบวนการสังเคราะห์และเรียบเรียงประเด็นที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาสังคมของประเทศไทย เพื่อสะท้อนให้เห็นภาพการเชื่อมโยง 17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและการเปลี่ยนแปลงระดับฐานรากเข้าด้วยกัน ภายใต้ 5 ธีมสำคัญ ได้แก่
ด้าน 1 สุขภาวะและทรัพยากรมนุษย์ (Human Well-being and Capabilities) ให้มีการจัดสรรและบริหารจัดการทรัพยากรและโอกาสที่เป็นธรรม เพื่อสร้างหลักประกันทางการศึกษา และการประกอบอาชีพรวม ทั้งการมีสุขภาวะ ในประชากรแต่ละกลุ่มอย่างเสมอภาค (equity)
ด้าน 2 เศรษฐกิจที่ยั่งยืนและเป็นธรรม (Sustainable and Just Economies) ต้องมีการคุ้มครองทางสังคมสําาหรับคนฐานราก เช่น แรงงาน คนพิการ และคนในชนบท ผ่านระบบและกฎหมายสวัสดิภาพแรงงาน การเข้าถึงกลไกความคุ้มครองทางสังคมของภาครัฐ ระบบสวัสดิการชุมชนและการเข้าถึงเทคโนโลยี
ด้าน 3 การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงาน และอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน (Energy Decarbonization with Universal Access) การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงาน และอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน (Energy Decarbonization with Universal Access) ต้องนําประเทศไปสู่สังคมที่มีคาร์บอนเป็นกลาง การส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
ด้าน 4 การพัฒนาของพื้นที่เมืองและพื้นที่กึ่งเมือง (Urban and Peri-urban Development) ด้านการพัฒนาของพื้นที่เมือง และพื้นที่กึ่งเมือง ต้องขจัดความยากจน ทางที่ดิน ที่อยู่อาศัย และการมีสิทธิในที่ดิน การเชื่อมโยงข้อมูล พื้นที่สีเขียว และการสนับสนุนงบประมาณ
ด้าน 5 ระบบอาหารที่ดินน้ำและมหาสมุทรที่ยั่งยืน (Sustainable Food, Land, Water and Oceans) ต้องมีระบบเกษตรและอาหารที่มีความสมดุล ยั่งยืน และปรับตัวได้ เกี่ยวข้องกับความสมดุล และความเชื่อมโยงของมิติทั้งสามของการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้แก่ มิติทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน น่าข้อมูลไปกำหนดนโยบาย/แผนงาน/มาตรการที่เกี่ยวข้อง
1. ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล สร้างกลไกการสร้างและใช้ข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (integrated data systems) ใช้ข้อมูลสถิติจากภาคส่วนอื่น มาเสริมข้อมูลภาครัฐ พัฒนาคุณภาพ และความทันการณ์ของข้อมูล ไปสู่ sub-national level จัดทำรายงานสถานการณ์รายปี เพื่อให้เข้าถึงข้อมูลและประเมินผลของการดำเนินงาน
2 ขับเคลื่อนทุกภาคส่วน และทุกระดับสอดประสานกัน
• ทำงานเป็นเครือข่าย ส่งเสริมให้ภาควิชาการ ภาคประซาสังคม ทำงานร่วมกับท้องถิ่น แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน โดยมีนักวิชาการเป็นโซ่ข้อกลาง ใช้กลไกที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์
• หาวิธีการแก้ปัญหา/วิธีการทำงานร่วมกันทีมความจำเพาะในแต่ละพื้นที่ และอาจนำไปขยายผลไปพื้นที่อื่น ๆ
3 ขับเคลื่อนผ่านการวิจัย นวัตกรรม และกระบวนการเรียนรู้ในลังคม
• ใช้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นกรอบระบุความท้าทายด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนระดับชาติและท้องถิ่น ในการกำหนดเป้าหมายและวางแผนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยมองประเด็นวิจัยอย่างบูรณาการและไม่ละเลยประเด็นเชิงระบบ
• สร้างพื้นที่ให้ทุกภาคส่วนกำหนดโจทย์วิจัยที่ตอบโจทย์การพัฒนาที่ยั่งยืน
• สร้างพื้นที่เรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการบูรพาการข้ามศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
• ผลิตความรู้และนวัตกรรมเป็นเครื่องมือสนับสนุนการบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน
--------------------------------------------------------
ข้อมูลเพิ่มเติม
- รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2565
- รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน 2565 ด้าน 1 สุขภาวะและทรัพยากรมนุษย์ (Human Well-being and Capabilities)
- รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน 2565 ด้าน 2 เศรษฐกิจที่ยั่งยืนและเป็นธรรม (Sustainable and Just Economies)
- e-book รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2565
- e-book รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2565 Highlight 2022 สรุปรายงานฉบับรวบรัด
- ที่มาเว็บไซต์ https://www.sdgmove.com/2022/08/08/sdg-updates-tsdf-report-2022