รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน 2565 ด้าน 1 สุขภาวะและทรัพยากรมนุษย์ (Human Well-being and Capabilities)
เปิดตัว “รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2565” เจาะลึกข้อมูลสถานการณ์ SDGs ภายใต้มุมมองผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนของประเทศไทย
1. สุขภาวะและทรัพยากรมนุษย์ (Human Well-being and Capabilities) ให้มีการจัดสรรและบริหารจัดการทรัพยากรและโอกาสที่เป็นธรรม เพื่อสร้างหลักประกันทางการศึกษาและการประกอบอาชีพรวม ทั้งการมีสุขภาวะในประชากรแต่ละกลุ่มอย่างเสมอภาค (equity)
การจัดสรรและบริหารจัดการทรัพยากรและโอกาสที่เปีนธรรม เผื่อสร้างหลักประกันทางการศึกษา และการประกอบอาชีพรวม ทั้งการมีสุขกาวะ ในประชากรแต่ละกลุ่มอย่างเสมอกาค (equity) ในประเทศไทย พบว่าปัญหาการเข้าถึงระบบการศึกษา ความสามารถทางการประกอบอาชีพและการมีสุขภาวะ ยังคงมีความเหลื่อมลํ้าที่แตกต่างกันออกไปในประชากรแต่ละกลุ่ม โดยเฉพาะประชากรกลุ่มเปราะบางทางด้านเศรษฐกิจ และสังคมที่ยังจำเป็นต้องพึ่งพาระบบหลักประกันโอกาสทางการศึกษา การจัดสรรทรัพยากรในระบบการศึกษาให้มีความเพียงพอและเป็นธรรม มีเป้าหมายเพื่อสร้างโอกาสทาง การศึกษา และลดผลกระทบที่มาจากภูมิหลังทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของผู้เรียนไม่ให้ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการเรียนรู้ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเด็กทุกคนในประเทศไทย จะสามารถเข้าถึงระบบการศึกษาที่มีคุณภาพได้อย่างเสมอภาค มีโอกาสทางการประกอบอาชีพและโอกาสในการแข่งขันด้านการประกอบธุรกิจขนาดย่อม และมีโอกาสในการเข้าถึงบริการสร้างเสริมสุขภาวะต่าง ๆ และลดปัญหาสุขภาวะอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ เข่น ปัญหาทุพโภชนาการ ผ่านการทำโครงการการจัดการอาหารกลางวันนม และกิจกรรมส่งเสริมภาวะโภชนาการอื่น ๆ ให้แก่นักเรียนในโรงเรียน เป็นต้น และยังมีเด็กที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ เนื่องจากเศรษฐานะทางครอบครัวที่ยากจนและขาดรายได้เลี้ยงชีพ ทำให้เด็กขาดโอกาสในการเข้าถึงระบบการศึกษาในโรงเรียน ซึ่งนอกจากจะเข้าไม่ถึงการศึกษาแล้วยังขาดการเข้าถึงบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับนักเรียนทุกคน
การศึกษารูปแบบทางเลือกจึงมีความสำคัญในการรองรับเด็กทีประสบปัญหาในการศึกษาต่อ หรือเด็กนอกระบบการศึกษาที่ต้องการความหลากหลายของรูปแบบหลักสูตร มีความยืดหยุ่น และมีอิสระในการเลือกเรียนให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัด และตรงกับความสามารถของผู้เรียนความท้าทายเชิงระบบที่สำคัญ และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย การสร้างหลักประกันทางการศึกษาและการประกอบอาชีพ รวมทั้งการมีสุขภาวะเป็นรากฐานสำคัญของ การพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ด้วยทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดการจัดสรรและบริหารจัดการทรัพยากรจึงเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญเพื่อลดความเหลือมลํ้าของมนุษย์ แม้ว่าประเด็นดังกล่าวจะได้รับความสำคัญและมีการดำเนินการในหลายหน่วยงาน แต่พบว่านโยบายที่เกี่ยวข้องอาจยังไม่มีความชัดเจนไม่เหมาะสม หรือมีการดำเนินการตามนโยบาย ที่ไม่สอดคล้องกัน จึงมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ดังนี้
ให้ความสำคัญกับการสร้างความคุ้มครองทางสังคมกับเด็กกลุ่มเปราะบาง เช่น ครอบครัวที่มีสถานะเศรษฐกิจและสังคมตํ่า รวมทั้งเด็กพิการ เน้นการทำงานในระดับพื้นที่ให้ชุมชนและท้องถิ่น เป็นผู้ขับเคลื่อนงาน โดยต้องเริ่มจากการสร้างความเข้าใจในภาพรวมของการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป้าหมายในการลดความเหลื่อมลํ้าทางการศึกษา การมีสุขภาวะและการขจัดความยากจน สนับสบุนทั้งเซิงโครงสร้างให้มีบุคลากรและงบประมาณเพียงพอ สร้างสังคมที่มีการนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยให้มีกลไกในการนำข้อมูลมาใช้ให้เข้าใจสถานการณ์และปัญหา เพื่อนำไปสู่การจัดสวัสดิการและส่งเสริมความคุ้มครองทางสังคม และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากข้อมูลจากภาคส่วนอื่น ๆ ทั้งภาคเอกซน ภาคประชาสังคม และภาควิชาการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการวิเคราะห์นโยบาย และวิเคราะห์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ
ข้อมูลเพิ่มเติม
- รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2565