รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน 2565 ด้าน 3 การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงาน และอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน (Energy Decarbonization with Universal Access)
3. การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงาน และอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน (Energy Decarbonization with Universal Access) การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงาน และอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน (Energy Decarbonization with Universal Access) ต้องนําประเทศไปสู่สังคมที่มีคาร์บอนเป็นกลาง การส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นหนึ่งความท้าทายที่โลกกำลังประสบ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบนิเวศและวิถีชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบัน การทำให้พลังงานปลอดคาร์บอน จึงกลายเป็นประเด็นที่นานาประเทศให้ความสำคัญ เพื่อให้บรรลุความเป็นกลางทางภูมิอากาศได้อย่างยั่งยืน ต้องมีการเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมที่ใช้พลังงานสะอาด คือ พลังงานทดแทนทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นพลังงานทดแทนที่ใช้ในปัจจุบัน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานนํ้า พลังงานซีวมวล พลังงานชีวภาพ และพลังงานขยะ หรือพลังงานทดแทนที่สามารถใช้ได้ในอนาคต เช่น พลังงานคลื่น พลังงานไฮโดรเจน หรือพลังงานนิวเคลียร์ รวมทั้งความเป็นกลางทางภูมิอากาศ คือ การทำให้ผลสุทธิของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นหลัก) เป็นศูนย์ เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านนี้เกิดความยั่งยืน จึงต้องสร้างความมั่นใจว่าการใช้พลังงานสะอาดนี้จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและต้องทำให้ทุกภาคส่วนมั่นใจว่าจะไม่มีใครถูกทิ้งไว้ช้างหลัง โดยการกำหนดมาตรการเพื่อล่งเสริมให้ประชาชนทุกคนสามารถเช้าถีงพลังงานสะอาดข้างต้นที่มีคุณภาพได้อย่างเท่าเทียม
ความท้าทายเชิงระบบที่สำคัญและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
1 นโยบายเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และสนับสนุนพลังงานทดแทนและการเพิ่มประสิทธิภาพ การใช้พลังงานควรมีความต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันต้องมีกรอบเวลาที่ยืดหยุ่น และมีการเชื่อมโยงกับเรื่องอื่น ๆ ผ่านกลไกการสร้างความร่วมมือในทุกภาคส่วนโดยมีการกำหนดขอบเขตหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจนไม่ซ้ำซ้อน และมีเป้าหมายร่วมกัน
2 การส่งเสริมเทคโนโลยีทางด้านพลังงานและการน่าข้อมูลไปใช้ร่วมกันโดยแนวทางหนึ่ง คือ การทำวิจัย ร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน และให้ทุนวิจัยอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งให้มีการใช้งบประมาณอย่างมีศักยภาพ โดยมีทั้งงานวิจัยที่รองรับตลาดและงานวิจัยเพื่ออนาคตสนับสนุนการพัฒนาบุคลากร และดึงดูดให้คนรุ่นใหม่ผู้ประกอบการสนใจเรื่องการลดก๊าซเรือนกระจก
3 การเข้าถึงพลังงานมักพูดถึงในเชิงปริมาณ แต่ไม่มีแง่มุมคุณภาพชีวิตจากการใช้พลังงาน อาทิ การไม่สามารถเข้าถึงพลังงานของคนรายได้ต่ำ ภาครัฐควรมองลงไปในระดับฐานรากและเปิดโอกาสให้ภาคประชาสังคมและองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร มีส่วนร่วมในการผลักดันเป้าหมายและยุทธศาสตร์ต้านพลังงาน รวมไปถึงสร้างโอกาสการหยิบยกประเด็นความไม่เป็นธรรมในมิติที่ถูกมองข้ามมาหารือกันในวงกว้าง
4 รัฐบาลควรให้ความสำคัญและพัฒนาต่อเนื่องในเรื่องภาษีคาร์บอน และกำหนดนโยบายหรือมาตรการเพื่อสนับสนุนพลังงานสะอาดที่ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนหรือการใช้ยานยนต่ไฟฟ้า
ข้อมูลเพิ่มเติม
- รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2565