รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน 2565 ด้าน 2 เศรษฐกิจที่ยั่งยืนและเป็นธรรม (Sustainable and Just Economies)
2. เศรษฐกิจที่ยั่งยืนและเป็นธรรม (Sustainable and Just Economies) ต้องมีการคุ้มครองทางสังคมสําาหรับคนฐานราก เช่น แรงงาน คนพิการ และคนในชนบท ผ่านระบบและกฎหมายสวัสดิภาพแรงงาน การเข้าถึงกลไกความคุ้มครองทางสังคมของภาครัฐ ระบบสวัสดิการชุมชนและการเข้าถึงเทคโนโลยี
การคุ้มครองทางสังคมสำหรับคนฐานราก เช่น แรงงาน คนพิการ และคนในชนบท ฝานระบบและกฎหมายสวัสดีการแรงงาน การเข้าถึง กลไกความคุ้มครองทางสังคมของกาครัฐ ระบบสวัสดีการชุมชน และการเข้ากึงเทคโนโลยี
ในทางปฏิบัติแม้จะมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองทางสังคมของคนกลุ่มต่าง ๆ แต่ยังไม่ถูกนำไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิผล ปัญหาของการตกสำรวจ (exclusion error) ที่คนจนจริงมิได้รับสวัสดิการโดยที่ภาครัฐยังขาดสถิติเหล่านี้ เพื่อติดตามสถานการณ์ แรงงานนอกระบบหรือผู้ประกอบอาชีพอิสระยังมีจำนวนน้อยที่เป็นผู้ประกันตน ทั้งจากสาเหตุที่ไม่ทราบเกี่ยวกับหลักประกันทางสังคม ไม่ตระหนักว่ามีความสำคัญไม่จูงใจเพียงพอ และเข้าไม่ถึงด้วยสาเหตุอื่น ๆ
กลไกคุ้มครองทางสังคม โดยเฉพาะในมิติของสวัสดิการขุมชนยังเกี่ยวพันโดยตรงกับสถานะทางเศรษฐกิจของชุมชน หากสถานะของเศรษฐกิจขุมชนดำเนินไปได้ดี ย่อมสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาระบบสวัสดิการชุมชนที่ดีด้วย การเข้าถึงเทคโนโลยีจะเป็นเงื่อนไขสนับสนุนที่สำคัญในการเพิ่มพูนสถานะทางเศรษฐกิจของขุมชน ที่แม้ว่าสัดส่วนของประชากรที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ตจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ทักษะของความอ่านออกเขียนได้ด้านดิจิทัล (digital literacy) ยังคงเป็นความท้าทายที่สำคัญ
ความท้าทายเชิงระบบที่สำคัญ
1) ปัญหาเชิงระบบภายในภาครัฐ ความล่าช้าในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่ ๆ และขาดการสรุปบทเรียนของกระบวนการบังคับใช้กฎหมายเพื่อทบทวนและปรับปรุง ขาดการบูรพาการข้ามหน่วยงานและข้ามพื้นที่
2) ปัญหาเชิงระบบนอกภาครัฐ มีทั้งปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการปฏิสัมพันธ์กับภาครัฐ ขาดการมีส่วนร่วมในการตีความ กำหนดความหมาย และวางภาพอนาคตที่ยั่งยืน และขาดกระบวนการปรึกษาหารือข้ามภาคส่วน เพื่อทำให้การเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืนไม่ทั้งใครไว้ข้างหลัง จาดการเข้าถึงข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ในการกำหนดนโยบายและแก้ไขปัญหาระดับชาติและท้องถิ่น และในส่วนของคนกลุ่มเปราะบางจำนวนหนึ่งเข้าไม่ถึงสวัสดิการและสิทธิ ส่วนที่สองคือปัญหาความเข้มแข็งขององค์กรในภาคบอกภาครัฐ คือ การที่องค์กรบอกภาครัฐที่ร่วมขับเคลื่อนนั้นขาดคนรุ่นใหม่เข้ามาเสริมกำลังและสานต่องาน และขาดทรัพยากรทางการเงินเพื่อการขับเคลื่อน
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
1 ปรับปรุงให้ข้อมูลและระบบข้อมูลที่เกี่ยวกับสถานการถ!สังคมและ ระบบการคุ้มครองทางสังคมมีความแม่นยำ ทันการถ! เข้าถึงได้ เข้าใจได้และใช้ประโยซน่ได้โดยคนทุกกลุ่ม
2 การขับเคลื่อนขับเคลื่อนความคุ้มครองทางลังคมสำหรับคนฐานราก ต้องการกลไกข้ามกระทรวง และข้ามภาคส่วนที,มีประสิทธิภาพ
ภาครัฐต้องให้ความสำคัญกับการเสริมพลังให้ภาคส่วนอื่น ๆ
3 นอกภาครัฐให้มีทรัพยากรทางการเงิน ทรัพยากรบุคคล และเข้าถึง ข้อมูลไต้เพื่อมีส่วนในการดูแลและสนับสนุนกลุ่มเปราะบางและร่วม ขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
4 รัฐควรให้ความสำคัญกับการเพิ่มการเข้าถึงและใช้ประโยซน่จาก เทคโนโลยีดิจิทัล และนวัตกรรมโดยเฉพาะในกลุ่มคนเปราะบาง เพื่อเพิ่มโอกาสในการทำกินและการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิและ ความคุ้มครองทางลังคมต่าง ๆ
5 ควรจัดให้มีการทบทวนผลการดำเนินงาน กระบวนการทำงานและ การบังคับใช้กฎหมาย แบบข้ามภาคส่วนอย่างสมํ่าเสมอ
ข้อมูลเพิ่มเติม
- รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2565