รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน 2565 ด้าน 4 การพัฒนาของพื้นที่เมืองและพื้นที่กึ่งเมือง (Urban and Peri-urban Development)
4. การพัฒนาของพื้นที่เมือง และพื้นที่กึ่งเมือง (Urban and Peri-urban Development) ด้านการพัฒนาของพื้นที่เมือง และพื้นที่กึ่งเมือง ต้องขจัดความยากจน ทางที่ดิน ที่อยู่อาศัย และการมีสิทธิในที่ดิน การเชื่อมโยงข้อมูล พื้นที่สีเขียว และการสนับสนุนงบประมาณ
“เมือง” มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนในหลายมิติทั้ง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม การแก้ปัญหาและความท้าทายของเมืองจึงต้องพิจารณาแยกเป็นรายประเด็นและแก้ไขให้ตรงจุด โดยเฉพาะการเร่งแก้ไขปัญหาของกลุ่มคนเปราะบางและผู้มีรายได้น้อย เพื่อลดความเหลื่อมลํ้า จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น ภาครัฐ ภาคประซาสังคม หรือแม้กระทั่งภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเมืองและยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่ชุมชน อันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรม
• การออกแบบเมืองและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับเมืองในช่วงเวลาที่ผ่านมา ได้สร้างความเหลื่อมลํ้าและความเปราะบางให้กับประชากรหลายกลุ่มในเมือง รวมถึงการสร้างอุปสรรคและข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการสาธารณะ ของประซากรในกลุ่มเปราะบางและกลุ่มคนยากจนในพื้นที่เขตเมือง
• การให้ความสำคัญในการส่งเสริมการเข้าถึงที่ดิน ที่อยู่อาศัย และการมีสิทธิในที่ดิน รวมถึงบริการต่าง ๆ ใน เมืองแก่ประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มคนเปราะบาง จะช่วยแก้ปัญหาและส่งเสริมคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของคนในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเท่าเทียม
• การจัดท่าผังเมืองรวม ผังเมืองเฉพาะ รวมถึงแผนพัฒนาในระดับห้องถิ่น ควรคำนึงถึงความสำคัญของ พื้นที่สีเขียว
• เพื่อให้เกิดการพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุม มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการรวบรวมข้อมูลและจัดทำฐานข้อมูลกลางของแต่ละหน่วยงาน รวมถึงการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบและเชื่อมโยงข้อมูลกันระหว่างหน่วยงาน นอกจากนี้ข้อมูลควรเปิดเผยและน่าข้อมูลดังกล่าวมาใช้ประโยชน์ให้เกิดการพัฒนาในชุมชนได้
• “การสนับสบุนงบประมาณ” ถือได้ว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการสร้างความยั่งยืน แก้ไขปัญหาและข้อจำกัดของเมืองระบบฐานข้อมูลด้านเมืองในระดับท้องถิ่น ความท้าทาย สำคัญใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่
1) ความกระจัดกระจาย และการขาดการบูรณาการของข้อมูล
2) ความต่อเนื่อง ของการเก็บข้อมูลเมือง
3) การน่าข้อมูลเมืองไป ใช้ประโยชน์
จึงควรมีการวางแผนด้านข้อมูลของเมือง ที่ส่วนห้องถิ่นควรวางแผนการเก็บข้อมูลเมืองร่วมกับส่วนภูมิภาค ภาคประชาสังคม และภาคส่วนต่าง ๆ ให้น่าไปใข้ประโยชน์ และการพัฒนาระบบข้อมูลเปิด (open data) เพื่อให้เกิดการน่าข้อมูลเมืองไปใช้ประโยชน์และต่อยอดทางนโยบาย และใช้ความรู้บบฐานของข้อมูล รวมถึง การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อข้อมูล ทั้งในเชิงการรับรู้และความรู้สึกเป็นเจ้าของข้อมูลร่วม ความเหลือมลํ้าในการเข้าถึงบริการสาธารณะของประชากรกลุ่มเปราะบางและประชากรที่อาศัยในพื้นที่เปราะบางของเมือง รวมถึงเป็นอุปสรรคของการขยับสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของกลุ่มเปราะบาง จึงต้องมีการสนับสนุนการกระจายทรัพยากรสู่ท้องถิ่นและการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในระดับเมือง
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความเลี่ยง ทั้งในเชิงสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจสังคมในอนาคต เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความเหลื่อมลํ้าทางเศรษฐกิจและสังคมของประชากรในเมือง ทั้งนี้ในการเพิ่มความสามารถและความยืดหยุ่นของเมืองในการรับมือกับสถานการณ์ในอนาคต จำเป็นที่จะต้องมีการบูรณาการความรู้ข้ามศาสตร์ ข้ามประเด็น และการบูรณาการทรัพยากรการดำเนินงานจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
ข้อมูลเพิ่มเติม
- รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2565