E-Book คู่มือการประเมินประสิทธิภาพโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรม (ILPI) และการประเมินประสิทธิภาพซัพพลายเชน (SCPI) ปี 2559
- ชื่อหนังสือ คู่มือการประเมินประสิทธิภาพโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรม (ILPI) และการประเมินประสิทธิภาพซัพพลายเชน (SCPI) ปี 2559
- ผู้จัดทำ สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
- ข้อมูล
หนังสือ คู่มือการประเมินประสิทธิภาพโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรม (ILPI) และการประเมินประสิทธิภาพซัพพลายเชน (SCPI)ฉบับนี้ จัดทำโดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เพื่อให้ผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจ สามารถใช้ศึกษาเรียนรู้เพื่อให้เข้าใจหลักการ ในการประเมินประสิทธิภาพโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรม (ILPI) และการประเมินประสิทธิภาพซัพพลายเชน (SCPI) สามารถนําหลักการในการประเมินไปปรับใช้ในองค์กรได้จริง และสามารถนําผลที่ได้จากการประเมินประสิทธิภาพมาเทียบเคียงกับเกณฑเปรียบเทียบสมรรถนะ (Benchmark) ของกลุ่มอุตสาหกรรมในระดับประเทศ เพื่อให้ทราบถึงสถานะของตนเองว่าอยู่ในระดับใดควรปรับปรุงในเรื่องใด เพื่อให้สามารถนำมากำหนดแนวทางในการพัฒนาตนเอง ให้เข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานทั้งในระดับประเทศและระดับสากลตลอดไป
รายละเอียดในเล่มประกอบด้วย
- การประเมินค่าดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพในงานด้านโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรม (Industrial Logistics Performance Index: ILPI) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการประเมินประสิทธิภาพขององค์กรในงานภาคอุตสาหกรรม ให้สามารถรู้แนวคิดและหลักวิธีการประเมินตัวเอง เพื่อใช้ในการบริหารจัดการภายในองค์กร โดยนำเอากิจกรรมที่สำคัญในด้านโลจิสติกส์ทั้ง 9 กิจกรรมภายในองค์กรมาประเมินใน 3 มิติ ซึ่งจะช่วยให้สามารถวิเคราะห์และประเมินองค์กรได้ในระดับเมทริกซ์
- การประเมินประสิทธิภาพซัพพลายเชน (SCPI) อีกจำนวน 10 ตัวชี้วัด จาก 5 สมรรถนะคือ ความน่าเชื่อถือ การตอบสนอง การปรับตัวหรือความยืดหยุ่น ด้านต้นทุน และการจัดการสินทรัพย์
- การประเมินศักยภาพโลจิสติกส์ จาก 5 ด้านคือ การกำหนดกลยุทธ์สถานประกอบการ การวางแผนและความสามารถในการปฏิบัติงาน ประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้านโลจิสติกส์ ระบบการบริหารข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ และความร่วมมือระหว่างสถานประกอบการ
- สารบัญ
บทที่ 1 ความสำคัญของการประเมินประสิทธิภาพและศักยภาพโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
1.1 ที่มาและความสำคัญ
1.2 วัตถุประสงค์
1.3 ผลที่คาดว่าผู้เกี่ยวข้องจะได้รับ
1.4 ตัวชี้วัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรม
1.5 ตัวชี้วัดประสิทธิภาพด้านซัพพลายเซน
1.6 การประเมินศักยภาพการจัดการโลจิสติกส์
บทที่ 2 ตัวชี้วัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรม
2.1 กิจกรรมที่ 1 การพยากรณ์และการวางแผนความต้องการของลูกค้า
2.2 กิจกรรมที่ 2 การให้บริการแก่ลูกค้าและกิจกรรมสนับสนุน
2.3 กิจกรรมที่ 3 การสื่อสารด้านโลจิสติกส์และการจัดการคำสั่งซื้อ
2.4 กิจกรรมที่ 4 การจัดซื้อจัดหา
2.5 กิจกรรมที่ 5 การขนถ่ายวัสดุ และการบรรจุหีบห่อ
2.6 กิจกรรมที่ 6 การจัดการคลังสินค้า
2.7 กิจกรรมที่ 7 การบริหารสินค้าคงคลัง
2.8 กิจกรรมที่ 8 การขนส่ง
2.9 กิจกรรมที่ 9 โลจิสติกส์ย้อนกลับ
บทที่ 3 ตัวชี้วัดประสิทธิภาพซัพพลายเชน
3.1 สมรรถนะที่ 1 ด้านความน่าเชื่อถือ
3.2 สมรรถนะที่ 2 การตอบสนอง
3.3 สมรรถนะที่ 3 การปรับตัวหรือความยืดหยุ่น
3.4 สมรรถนะที่ 4 ด้านต้นทุน
3.5 สมรรถนะที่ 5 การจัดการสินทรัพย์
บทที่ 4 ตัวชี้วัดศักยภาพโลจิสติกส์
4.1 ดัชนีด้านที่ 1 การกำหนดกลยุทธ์สถานประกอบการ
4.2 ดัชนีด้านที่ 2 การวางแผนและความสามารถในการปฏิบัติงาน
4.3 ดัชนีด้านที่ 3 ประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้านโลจิสติกส์
4.4 ดัชนีด้านที่ 4 ระบบการบริหารข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ
4.5 ดัชนีด้านที่ 5 ความร่วมมือระหว่างสถานประกอบการ
บทที่ 5 การเตรียมความพร้อมและขั้นตอนการจัดการประเมินตัวชี้วัดของที่ปรึกษา และสถานประกอบการ
5.1 การเตรียมตัวของที่ปรึกษาก่อนเข้าแนะนำ ณ สถานประกอบการ
5.2 การเตรียมความพร้อมของสถานประกอบการในการขอใช้บริการที่ปรึกษาแนะนำ
5.3 การเข้าแนะนำเพื่อจัดทำตัวชี้วัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์
5.4 ขอบเขตในการดำเนินงานของที่ปรึกษา
5.5 การแนะนำสถานประกอบการเพื่อประเมินประสิทธิภาพซัพพลายเชน
5.6 การสอบถามหรือต้องการแจ้งข้อมูลต่างๆ
ที่มา www.logistics.go.th
-------------------------------------------------
LPI ดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์ (Logistics Performance Index: LPI) รวมข้อมูล
-------------------------------------------------