iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป

E-Book คู่มือการปฏิบัติราชการนอกสถานที่ (Manual Offsite Government Practice)

 

ที่มาข้อมูล สานักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

จากการที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของโลกในยุคปัจจุบัน ทำให้ประชากรในโลกทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลได้มากขึ้น ทั้งในการทำงานและการดำเนินชีวิตที่สามารถนำมาใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลา ส่งผลให้รูปแบบและวัฒนธรรมการทำงานในองค์กร เริ่มมีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ที่พนักงานผู้ปฏิบัติงานจะต้องเข้ามาปฏิบัติงานประจำทุกวันที่สำนักงาน ไปสู่รูปแบบใหม่ที่มีความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงานมากขึ้น พนักงานสามารถปฏิบัติงานได้ทุกที่ทุกเวลา โดยมีการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยในการปฏิบัติงานจากภายนอกสำนักงาน เช่น บ้านที่พักอาศัย หรือจากสถานที่สาธารณะต่าง ๆ เช่น ร้านกาแฟ ห้องสมุด สวนสาธารณะ เป็นต้น โดยพนักงานในยุคใหม่ไม่จำเป็นต้องเข้ามานั่งทำงานเพียงแค่ในสำนักงานเป็นประจำทุกวันเหมือนเดิม

การทำงานนอกสถานที่ (Telecommute) หรืออาจพบเรียกในชื่อที่หลากหลายเช่น ทำงานทางไกล (Telework), การทำงานที่บ้าน (Work from Home), การทำงานแบบเคลื่อนที่ (Mobile work) หรือการทำงานจากรระยะไกล (Remote work) เป็นแนวคิดที่องค์กรชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศในปัจจุบันได้พยายามนำมาใช้อย่างกว้างขวางเพิ่มมากขึ้นต่อเนื่อง 

ประเทศไทยในส่วนของหน่วยงานภาครัฐ ก็สามารถนำแนวคิดดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้ ซึ่งจะเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของข้าราชการและบุคลากรที่เกี่ยวข้องในงานภาครัฐ ให้สามารถปรับปรุงคุณภาพชีวิตโดยการสร้างสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวให้ดีขึ้นได้ และแนวคิดการทำงานนอกสถานที่ของรัฐจะเป็นส่วนสนับสนุนการลดปัญหาการจราจรติดขัด ปัญหามลภาวะทางอากาศ รวมทั้งสามารถนำมาใช้ในกรณีที่มีเหตุให้ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐไม่สามารถเข้ามาปฏิบัติงานประจำที่สำนักงานได้ ในระยะยาวจะช่วยประหยัดงบประมาณจากการลดค่าใช้จ่ายที่มีของสำนักงานลง เป็นการสร้างวัฒนธรรมการทำงานของรัฐรูปแบบใหม่สู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล

รูปแบบและแนวทางการปฏิบัติงานนอกสถานที่ การปฏิบัติราชการนอกสถานที่มีรูปแบบและแนวทางปฏิบัติงาน ดังนี้

1. รูปแบบการปฏิบัติงานนอกสถานที่

- การปฏิบัติงานนอกสถานที่อย่างสม่ำเสมอ โดยกำหนดให้ข้าราชการหรือบุคลากรภาครัฐปฏิบัติราชการนอกสถานที่ ให้ไม่ต้องเข้ามาที่สำนักงาน โดยกำหนดเป็นกรอบระยะเวลาสม่ำเสมอ เช่น 2 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 6 เดือน หรือ 4 วันต่อเดือน เป็น ระยะเวลา 12 เดือน เป็นต้น

- การปฏิบัติงานนอกสถานที่เป็นครั้งคราว โดยกำหนดให้ข้าราชการ หรือบุคลากรภาครัฐ ปฏิบัติราชการนอกสถานที่ โดยไม่ต้องเข้ามาปฏิบัติงาน ณ สำนักงาน โดยกำหนดเป็นช่วง ระยะเวลาที่แน่นอน เช่น 5 วันทำการ หรือ 10 วันทำการ เป็นต้น

- สำหรับเวลาการปฏิบัติราชการนอกเหนือจากรูปแบบข้างต้น ให้ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ ปฏิบัติงานในสำนักงานตามปกติ

2. แนวทางการปฏิบัติงานนอกสถานที่ แนวทางการปฏิบัติราชการนอกสถานที่ เป็นไปได้ทั้งในลักษณะของการทำงานเดี่ยว หรือการทำงาน ร่วมกันเป็นทีม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของงาน และการวางแผนการทำงานร่วมกัน โดยในช่วงที่ไม่ได้มาปฏิบัติงาน ณ สำนักงาน ผู้ปฏิบัติงานสามารถทำงานผ่านระบบหรือช่องทางดิจิทัล เพื่อการประชุม การหารือ การประสานงาน กับผู้บังคับบัญชา และผู้ร่วมปฏิบัติงาน โดยมีแนวทางการทำงานผ่านระบบและช่องทางดิจิทัลต่าง ๆ อาทิ

- การประชุมแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน เช่น CISCO Webex Meeting , Microsoft Team, LINE Group Call เป็นต้น

- การประสานงานผ่านแอปพลิเคชันสนับสนุนการทำงานร่วมกันเป็นทีม เช่น CISCO Webex Team, Microsoft Team เป็นต้น

- การปฏิบัติงานร่วมกันผ่านแอปพลิชันการทำงานสำนักงานออนไลน์ เช่น Microsoft Office 365, Google G Suite เป็นต้น

- การปฏิบัติงานผ่านอินเทอร์เน็ตเพื่อทำงานผ่านระบบหรือช่องทางดิจิทัลที่สำนักงานกำหนด

ลักษณะงานในการปฏิบัติราชการนอกสถานที่ สามารถจำแนกลักษณะงานได้ ดังนี้

1. ลักษณะงานที่สามารถปฏิบัติราชการนอกสถานที่ได้ทั้งหมดหรือบางส่วน

- งานวิชาการในลักษณะของการศึกษาค้นคว้า คิดวิเคราะห์ การจัดทำรายงานการศึกษา การวิเคราะห์วิจัย รายงานทางวิชาการ การจัดทำข้อเสนอแนะ การออกแบบหรือพัฒนา ระบบคอมพิวเตอร์ การออกแบบด้านสถาปัตยกรรม การพิจารณาวินิจฉัยข้อกฎหมาย หรือ งานรูปแบบอื่นที่หน่วยงานต้นสังกัดเห็นว่าสามารถปฏิบัติงานได้ โดยไม่จำเป็นต้องเข้ามา ปฏิบัติงาน ณ สำนักงาน

- งานบริหาร และงานอำนวยการ ที่สามารถสื่อสาร กำกับและติดตามการดำเนินงาน กับ ผู้ปฏิบัติงานโดยผ่านระบบหรือช่องทางดิจิทัลได้

- งานลักษณะอื่นที่สามารถเข้าถึงผ่านระบบหรือช่องทางดิจิทัล และสามารถปฏิบัติงานได้ เช่นเดียวกับการปฏิบัติงาน ณ สำนักงาน

- งานที่สามารถกำหนดเป้าหมาย และประเมินผลสำเร็จของงาน ได้อย่างเป็นรูปธรรม

2. ลักษณะงานที่ไม่สามารถปฏิบัติราชการนอกสถานที่ได้

- งานที่เกี่ยวข้องกับการใช้เอกสาร หรือข้อมูลสำคัญที่จำเป็นต้องเก็บเป็นความลับ ในสำนักงานที่มีมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างรัดกุม

- งานที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการให้บริการประชาชน เช่น งานทะเบียนราษฎร์ งาน บริการทางการแพทย์ และสาธารณสุข งานด้านการรักษาความปลอดภัย เป็นต้น

- งานที่จำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือทางเทคนิคในการปฏิบัติงาน เช่น งานด้านเทคนิคการแพทย์ งานควบคุมการจราจรทางอากาศ งานด้านการตรวจสอบวัตถุอันตราย เป็นต้น

คุณลักษณะของข้าราชการหรือบุคลากรภาครัฐที่ปฏิบัติราชการนอกสถานที่

ข้าราชการหรือบุคลากรภาครัฐที่ได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติราชการนอกสถานที่ควรมีคุณลักษณะ ดังนี้

- เป็นผู้มีความรับผิดชอบสูง มีวินัย และมีศักยภาพในการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย

- เป็นผู้ที่สามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยต้องการการกำกับดูแลน้อย

- เป็นผู้ที่มีความพร้อมสามารถเข้าถึงและใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างสม่ำเสมอ และมีทักษะในการ ปฏิบัติราชการผ่านระบบหรือช่องทางดิจิทัล

ผู้มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการหรือบุคลากรภาครัฐปฏิบัติราชการนอกสถานที่

อำนาจในการสั่งให้ข้าราชการ หรือบุคลากรภาครัฐ ปฏิบัติราชการนอกสถานที่ เป็นอำนาจของหัวหน้า ส่วนราชการ ระดับกระทรวง หรือระดับกรม ตามนัยของระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555 ข้อ 11 ที่ระบุว่า “ในกรณีจำเป็น หัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงหรือหัวหน้าส่วนราชการจะกำหนดวิธีลงเวลาการ ปฏิบัติราชการ หรือวิธีควบคุมการปฏิบัติราชการของข้าราชการที่มีการปฏิบัติราชการในลักษณะพิเศษเป็น อย่างอื่นตามที่เห็นสมควรก็ได้ แต่จะต้องมีหลักฐานให้สามารถตรวจสอบวันเวลาการปฏิบัติราชการได้ด้วย” ทั้งนี้ให้ผู้บังคับบัญชาชั้นต้น หรือผู้บังคับบัญชาลำดับสูงขึ้นไปของข้าราชการ หรือบุคลากรภาครัฐที่จะ ปฏิบัติงานนอกสถานที่ เป็นผู้เสนอหัวหน้าส่วนราชการเพื่อพิจารณาสั่งให้ข้าราชการ หรือบุคลากรภาครัฐ ปฏิบัติราชการนอกสถานที่ พร้อมทั้งระบุเป้าหมายของงานที่จะปฏิบัติงานในช่วงเวลาที่ไม่ได้เข้ามาปฏิบัติ ราชการ ณ สำนักงาน 6. แนวทางการกำกับและติดตามการปฏิบัติงาน ก่อนเริ่มการปฏิบัติราชการนอกสถานที่ ผู้ปฏิบัติงานควรมีการตกลงเป้าหมายการปฏิบัติงานในช่วงเวลา ที่ไม่ได้เข้ามาปฏิบัติราชการ ณ สำนักงาน ร่วมกับผู้บังคับบัญชาชั้นต้น โดยระบุเป็นผลสำเร็จของงานที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม ทั้งนี้อาจเป็นเป้าหมายที่ตัดทอนมาจากข้อตกลงการปฏิบัติราชการของข้าราชการ ในแต่ละรอบ การประเมิน

ในการกำกับและติดตามการปฏิบัติงานของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ ในการปฏิบัติราชการนอกสถานที่ เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชาชั้นต้นของผู้ปฏิบัติงาน ในการกำกับและติดตามการ ดำเนินงานในช่วงที่ไม่ได้เข้ามาปฏิบัติราชการที่สำนักงานอย่างสม่ำเสมอ และผู้ปฏิบัติงานจะต้องรายงาน ความก้าวหน้าการดำเนินงานให้ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นทราบเป็นระยะ โดยการกำกับและติดตามการปฏิบัติงาน อาจดำเนินการโดยผ่านระบบหรือช่องทางดิจิทัล เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการปฏิบัติราชการนอกสถานที่ ผู้ปฏิบัติงานจะต้องรายงานผลการปฏิบัติงานต่อ ผู้บังคับบัญชาชั้นต้น โดยผู้บังคับบัญชาชั้นต้นจะเป็นผู้ประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการ และบุคลากร ภาครัฐ พร้อมทั้งรายงานผลสำเร็จของงานต่อหัวหน้าส่วนราชการ

ข้อมูลเพิ่มเติม

คู่มือการปฏิบัติราชการนอกสถานที่ (Manual Offsite Government Practice)

การเตรียมความพร้อมด้านเทคโนโลยีสนับสนุนการปฏิบัติงาน (ICT Preparation for Operational Support)

แนวทางการดำเนินงานสำหรับหน่วยงานของรัฐ (Implementation guidelines for government agencies)

รวมแหล่งลิงค์ความรู้ ที่อาจจะต้องใช้ในกรณีหากต้องทำงานที่บ้าน หรือกรณ๊ปิดประเทศห้ามเดินทาง

การทำงานนอกสถานที่อาจมีส่วนสำคัญในการสร้างแรงจูงใจ ผ่านรูปแบบการทำงานแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ในบรรยากาศที่ผ่อนคลาย มีความสนุกสนาน และผู้ปฏิบัติงาน สามารถมีสมาธิในการปฏิบัติงาน อันเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และสามารถกระตุ้นให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนานวัตกรรม

ที่มา https://www.onde.go.th

สนใจดาวน์โหลดเอกสาร ด้านล่าง

---------------------------------------------------------

สนใจข้อมูลเพิ่มเติมคลิก

คู่มือการปฏิบัติราชการนอกสถานที่ (Manual Offsite Government Practice)

 ---------------------------------------------------------

 

ที่มา 
ภาพและรวบรวมข้อมูลโดย www.iok2u.com 

---------------------------------------------

ดูเพิ่มเติมเรื่องราวเกี่ยวข้องกับ โควิด-19 ได้ที่ 

COVID-19 รวมความรู้ที่เกี่ยวกับโรคโควิด-19 (COVID-19)

---------------------------------------------

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward