iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป

Lertsin 036 ธรณีวิทยาไร้พรมแดน (2) 

Lertsin 036 ธรณีวิทยาไร้พรมแดน (2)

Batu Melingtang - Sungai Kolok transect ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดนราธิวาสและบางส่วนของจังหวัดยะลา ซึ่งในอดีตเป็นพื้นที่สีแดง แม้ในเวลาที่ไปสำรวจระหว่างปี 2544-2545 สถานการณ์ก็ยังไม่สงบนิ่ง มีการปะทะกันประปราย พี่อัศนี มีความสามารถพิเศษสามารถพูดภาษายาวีสำเนียงกระเหรี่ยงได้ จึงพอสื่อสารกับชาวบ้านรู้เรื่องบ้าง ที่สำคัญแกมีคนที่คอยส่งข่าวความเคลื่อนไหว ของกองกำลังแบ่งแยกดินแดนตลอด โดยการไปหาเขาที่นัดพบทุกเช้า เมื่อรู้ความเคลื่อนไหวจะมาบอกผม เพื่อกำหนดเส้นทางสำรวจ ข่าวแบบนี้จะไม่บอกให้ทีมงานคนอื่นรับรู้ กลัวจะขวัญเสียจนไม่มีสมาธิในการทำงาน

เส้นทางหลวงจากสุไหงโกลกไปอำเภอแว้ง อยู่ในสภาพดี ผ่านโรงพยาบาลแว้ง แล้วคิดถึงเพื่อนเรียนวิดยารุ่นเดียวกัน อยู่ในก๊วนและก๊งเดียวกัน หมอศักดิ์ชัย เขาสมัครมาเป็น ผู้อำนวยการคนแรกของโรงพยาบาล ในปี 2522 อยู่ที่แว้งเสียหลายปี กว่าที่จะโดนย้ายออกนอกพื้นที่และไปเกษียณในฐานะ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์ ต้องยอมรับนับถืออุดมการณ์อันสูงส่งที่ยอมทิ้งความสะดวกสบาย มารับใช้พื่น้องที่ปลายสุดด้ามขวานไทย

เลยจากตัว อำเภอแว้ง ไม่ไกลถึง บ้านบูเก๊ะต้า ติด แม่น้ำโกลก เป็นชุมชนติดชายแดน มีของหนีภาษีราคาถูกขายอยู่กลาดเกลี่ยน แต่เราสนใจหินโผล่ใกล้แม่น้ำโกลกมากกว่า เลยแวะไปดู เป็นหินแปรสัมผัสที่ผมมีความรู้น้อยมากเลยเก็บตัวอย่างไปให้ พี่สิโรฒน์ ศึกษารายละเอียดภายใต้กล้องจุลทรรศน์ นึกย้อนไปเมื่อปี 2534 ที่เคยไปทำเวอร์คช้อปฝั่งมาเลเซียและมีการออกพื้นที่จาก เกาะปีนังไปโกตาบารู เมื่อมาถึง บ้านบูเก๊ะต้า คนขับรถชาวมาเลเซีย ขอจอดและข้ามมาฝั่งไทยซื้อขัาวสาร 2 ถุง ราคาคงต่างกันมาก ปัจจุบันมีการสร้างสะพานมิตรภาพไทย-มาเลเซึย มีการตั้งด่านศุลกากรถาวร เป็นจุดท่องเที่ยวได้อีกที่หนึ่ง

เส้นทางเริ่มไต่ขึ้นเขาแต่ไม่ชันมาก เห็นป้ายบอก น้ำตกสิรินธร แวะเข้าไปดู ไม่ผิดหวังเลย หินแกรนิตสวยมาก มีหลายแบบตัดกันไปมา เข้าทาง ดร.ต๋อง ผู้เชี่ยวชาญหินแกรนิต อธิบายไม่หยุด ต้องบอกให้ดูสภาพภูมิประเทศบ้างสวยงามไม่แพ้หินแกรนิตหรอก ขับรถลงจากเขามาถึงสามแยก มีป้ายบอกซ้ายไปชายแดน ขวาไป อำเภอสุคิริน ความจริงถ้าเลี้ยวซ้ายไปจะผ่าน เหมืองทองโต๊ะโมะ ในตำนาน แต่ท้องประะท้วงเลยให้เลี้ยวขวา ทันใดนั้นเจอสิ่งที่คาดไม่ถึง หมาวิ่งตัดหน้ารถ หันไปบอกทีมงาน เดี๋ยวไปกินก๋วยเตี๋ยวหมูกัน เพียงอึดใจเดียวก็เจอจริงๆ ทีมงานถามว่าเคยมาหรือ บอกว่าไม่เคย แต่เห็นหมา แสดงว่าเป็นหมู่บ้านพุทธ เท่าที่รู้ มุสลิมไม่เลี้ยงหมา

กินก๋วยเตี๋ยวไปคุยกับชาวบ้านไป จึงได้รู้ว่า ที่นี่คือ หมู่บ้านภูเขาทอง ชาวบ้าน 90 % เป็นคนไทยพุทธ พูดภาษาอีสาน บรรพบุรุษของเขาเป็นชาวอีสานใต้ ที่ยากจน ไม่มีที่ทำกิน ได้รับการคัดเลือกให้อพยพมาอยู่ใน นิคมสร้างตนเอง เมื่อหลายสิบปีก่อน โดยให้ที่ดินครอบครัวละ 20 ไร่เพื่อทำกิน ความจริงไม่ใช่มีเฉพาะ คนอีสาน แต่มาจากทั่วประเทศ มาปักหลักกระจัดกระจายอยู่ใน อำเภอสุคิริน แต่คนอีสานเป็นคนรักพวกพ้อง ยึดมั่นในประเพณีของตนเอง จึงขออยู่รวมกันที่ บ้านภูเขาทอง ทุกคนยังยึดมั่นวัฒนธรรมอีสาน มีงานบุญบั้งไฟด้วย แต่พิธีแห่นางแมวคงหายไป เพราะที่นี่ไม่เคยขาดฝน ดินดี อาหารอุดมสมบูรณ์ ไม่เคยคิดกลับอีสานอีกเลย พอมาถึงรุ่นลูก หลาน เหลน ทุกคนยังพูดภาษาอีสาน มีวัฒนธรรมอีสาน แต่ไม่เคยไปอีสาน แม้แต่คนขายก๋วยเตี๋ยว อายุ 30 กว่าแล้ว ก็ไม่เคยไปอีสาน จาก 500 คน ในรุ่นแรก ตอนนี้มีคนอีสานหลายพัน ทำมาหากินด้านการเกษตร ส่วนใหญ่ปลูกผลไม้ และเริ่มมีการจัดการท่องเที่ยว ใครอยากชมงานบุญบั้งไฟ ล่องแพต้นน้ำสายบุรี ร่อนแร่ทอง ที่ บ้านภูเขาทอง และ บ้านกะลูบี อำเภอสุคิริน รับรองว่าเป็นแบบอันซีนจริงๆ พอท้องอิ่มคุยนานเกิน เริ่มเดินทางย้อนกลับไปทางชายแดน มีเพียงด่านเล็กๆ ย้อนกลับมา เดินเข้าเหมืองทองโต๊ะโม๊ะ ใช้เวลาเป็นชั่วโมง ปัจจุบันเป็นเหมืองร้าง ยังมีซากเครื่องมือหลงเหลืออยู่ ผู้ที่สนใจประวัติของเหมืองทองโต๊ะโมะ ตลอดจนวิธีทำเหมืองทองในสมัยรัชกาลที่ 5 เชิญอ่านเพิ่มเติมในลิงค์นี้ได้เลย

https://www.matichon.co.th/columnists/news_836641

เหมืองทองโต๊ะโมะ อยู่ห่างจากชายแดนน้อยกว่า 3 กิโลเมตร เคยมีคนบอกว่า สายแร่ทองทิ่มลงมาทางไทย ทำให้ไม่พบในฝั่งมาเลเซีย เพราะไม่เคยได้ยินข่าวเรื่องการทำเหมืองทองเลย เมื่อครั้งที่ออกตรวจพื้นที่ร่วมกันในฝั่งมาเลเซียเลยขอให้เขาพามาในพื้นที่นี้ ภาพที่เห็นพบกองทรายสูงเกิน 40 เมตรหลายกอง ลักษณะเป็นทรายท้ายรางแร่แน่ๆ และคงมีการทำเหมืองมานานหลายสิบปี ถึงได้กองทรายสูงขนาดนั้น ถาม สมชายและมีชัย (นักธรณีวิทยามาเลเซีย) เขาบอกว่าไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ผมคิดว่าเป็นทรายที่เกิดจากการทำเหมืองทองแน่นอน แหล่งแร่ทองฝั่งมาเลเซียคงเป็นแบยทุติยภูมิ สะสมตัวร่วมกับตะกอนทรายแม่น้ำ เหมือนกับแหล่งทองนพคุณที่ บางสะพาน ผิดกับ แหล่งทองโต๊ะโมะ ที่เป็นแบบปฐมภูมิ ต้องตามสายแร่ให้เจอจึงจะได้ทองคำ เพียงแค่ทองคำ ความยาวก็เกินกำหนดแล้ว ยังมีทรัพยากรแร่อีกหลายชนิดที่น่าสนใจ ถ้ายังไม่เบื่อ รอตามตอนต่อไปได้เลย

เลิศสิน รักษาสกุลวงศ์

10 ตุลาคม 2564

 
.

ที่มา

https://www.facebook.com/เลิศสิน รักษาสกุลวงศ์

รวบรวมข้อมูลและภาพ

www.iok2u.com

-------------------------------------------------

Lertsin บทความ เลิศสิน รักษาสกุลวงศ์ (Lertsin Raksaskulwong) รวมข้อมูล

-------------------------------------------------


 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward