iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ

Nares อินโดนีเซีย ตะลุยแดนอิเหนากับสมาคมธรณี (4) เบิ่งบรมพุทโธตามประสานักธรณี​ 

 

ภาพที่ 1 ผังการวางตัวของวัดบรมพุทโธ ทั้งในแนวราบและแนวตั้ง โดยแบ่งออกเป็นสามส่วน คือ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ ส่วนยอดฉัตรบนเจดีย์ใหญ่นั้น สูญหายไปนานแล้ว

 

เบิ่งบรมพุทโธ ตามประสานักธรณีฯ (Borobudur, geologist style)
 
วัดโบโรบูดูร์ หรือชื่อเรียกด้วยสำเนียงไทยว่า บรมพุทโธ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1293 จากจุดนี้สามารถมองเห็นภูเขาไฟที่สวยงามรอบข้างอีก 6 ลูก ได้แก่ ภูเขาไฟ Merapi, Merbabu, Sindoro, Sumbing และ Menoreh ว่ากันว่า Borobudur กร่อนมาจากคำภาษาสันสกฤต ดังนี้ Bara แปลว่า “วิหาร” หรือวัด Budur แปลว่า “ที่สูง” รวมความแล้วหมายความถึง “วัดที่ตั้งอยู่ที่สูง” ได้รับการยอมรับว่า เป็นวัดของพุทธศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ฐานของวัดถูกออกแบบให้เป็นรูปหลายเหลี่ยม 6 ชั้น ด้านบนเป็นวงกลม 3 ชั้น ส่วนบนสุดเป็นเจดีย์ใหญ่ ตัววัดแบ่งออกเป็น 19 ชั้น ชั้นที่ 1-4 เรียกว่า “กามภูมิ” (ดินแดนแห่งปราถนาและราคะ) ชั้นที่ 5-11 เรียก “รูปภูมิ” (ดินแดนของการแสวงหาความหลุดพ้น) จากนั้นขึ้นไปเรียก อรูปภูมิ” (ดินแดนแห่งการหลุดพ้น) และเจดีย์ใหญ่บนสุดเป็นตัวแทนของนิพพาน (ภาพที่ 1) หินที่ใช้ในการก่อสร้างเป็นหินแอนดีไซต์ทั้งหมด ซึ่งประมาณว่าต้องใช้หินถึง 55,000 ลูกบาศก์เมตร
ตัววัดตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟขนาดเล็กที่ชื่อว่า Gandul-Sipodang hills จากการศึกษาจากหลุมเจาะสำรวจพบว่า ชั้นหินดั้งเดิมแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม (C-A ในภาพที่ 2) ประกอบด้วยหินทัฟฟ์ หินหินแอนดีไซต์พรุน และหินแอนดีไซต์ จากล่างไปบน) จากนั้นเป็นชั้นที่ถมขึ้นมา ประกอบด้วยดินและเศษหินแอนดีไซต์ (D ในภาพที่ 2)
ว่ากันว่า ผู้ก่อสร้างวัดนี้ จงใจออกแบบให้ผู้คนมองเห็นโครงร่างทั้งหมดเป็นรูปดอกบัวกำลังบานอยู่ในบึงน้ำ สมดั่งความเชื่อตากหลักการของพุทธศาสนาที่ว่า สรรพสิ่งมาจากโคลนตม จากนั้นโผล่ขึ้นเหนือน้ำ แล้วเบ่งบานด้วยหลักธรรมะของพระพุทธเจ้า ทำให้มีคำเล่าขานที่ว่า วัดแห่งนี้ตั้งอยู่บนทะเลสาบขนาดใหญ่ บ้างก็ว่าพื้นที่รอบๆวัด จะเป็นบึงน้ำ บ้างก็ว่าล้อมรอบโดยตลอด บ้างก็ว่าแอ่งน้ำนั้นมีเพียงด้านเดียวเท่านั้น
นักธรณีวิทยาชาวอินโดนีเซียหลายคน กลายกลุ่ม จึงพยายามที่จะสำรวจค้นหาหลักฐานมาพิสูจน์ความเชื่อข้อนี้ โดยใช้ข้อมูลทั้งในด้านธรณีฟิสิกส์ และธรณีวิทยา วันนี้ขอสรุปผลการศึกษามาเล่าสู่กันฟังคร่าวๆ ดังนี้ครับ พ่อแม่พี่น้อง
การมุดตัวของแผ่นมหาสมุทรอินเดีย-ออสเตรเลีย ลงใต้แผ่นดินซุนดานั้น นอกจากจะทำให้เกิดภูเขาไฟและแผ่นดินไหวแล้ว ยังก่อให้เกิดแอ่งยุบตัวหลังแนวภูเขาไฟมากมาย รวมทั้ง Yogyakarta Basin (ภาพที่ 3) ซึ่งมีความกว้างในแนวตะวันออก-ตะวันตก ประมาณ 30 กิโลเมตร มีความหนาเกือบ 4 กิโลเมตร ชั้นหินที่อยู่ล่างสุดคือหินตะกอนที่สะสมตัวในทะเลตื้นอายุประมาณ 40 ล้านปีมาแล้ว จากนั้นก็เป็นชั้นหินภูเขาไฟสลับกับหินตะกอนทะเลตื้น ผลการศึกษาด้านศักยภาพของทรัพยากรปิโตรเลียม ระบุว่า อินทรีย์สารที่พบในหินตะกอนเป็นพวกที่มาจากพืชชั้นสูง มีทั้งปริมาณและคุณภาพสูง อยู่ในสภาวะที่เริ่มจะแตกตัวเป็นปิโตรเลียม แต่ยังไม่มีการเจาะสำรวจแต่อย่างใด
นักธรณีวิทยาอินโดนีเซียยังพบว่า ที่บริเวณวัดบรมพุทโธนั้น ที่จริงคยเป็นส่วนหนึ่งของแอ่งยอกยาการ์ตามาก่อน (ภาพที่ 5 รูปล่างขวา) แต่ว่ามีการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาขึ้นมากมายในบริเวณนี้ในช่วงเริ่มต้นของยุคควอเทอร์นารี คือเกิดการเลื่อนขาดออกจากกันของชั้นหินภูเขาไฟแอนดีไซน์อายุแก่ (Tmoa) จากนั้นจึงมีเศษหินภูเขาไฟ (Qbr) ถูกพัดพาหรือถล่มจากภูเขาไฟลงมาปิดทับแอ่งเก่า จากนั้นจึงมีสภาพเป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ (ภาพที่ 5 รูปซ้ายบนสุด) เมื่อประมาณ 20,000 ปีมาแล้วจากอายุที่ได้จากการศึกษาเรณูวิทยา ต่อมาเมื่อ 4,310 ปีก่อน ทะเลสาบได้ถูกลดขนาดลง และกลายเป็นหนองน้ำชื้นแฉะ (ภาพที่ 5 รูปซ้ายกลาง) จนเมื่อ 600 ปีมานี้เอง ก็กลายสภาพเป็นหนองน้ำเล็กๆ 2 แอ่ง (ภาพที่ 5 รูปซ้ายล่าง) จนถึงปัจจุบันนี้ ก็สามารถพบเห็นร่องรอยของทะเลสาบโบราณนี้ได้จากแผนที่กูเกิ้ล (พื้นที่สีเขียวในภาพที่ 5 รูปขวาบน)
ท่านสารวัตรจะไปดูด้วยกันไหมครับ
 

-------------------------------------------------

ที่มา

-  https://www.facebook.com/nares.sattayarak

รวบรวมข้อมูลและภาพ

-  www.iok2u.com

-------------------------------------------------

บทความ ดร. นเรศ สัตยารักษ์ (Nares Sattayarak)

รวมบทความที่น่าสนใจจากนักธรณีวิทยาของไทย

-------------------------------------------------

 

 
ภาพที่ 2 ภาพวาดแสดงชั้นหินธรรมชาติที่หลงเหลืออยู่ (A-C) และหินถม(D) บนเนินภูเขาไฟที่เป็นที่ตั้งของวัดบรมพุทโธ
 
 
ภาพที่ 3 แผนที่แสดงความสูงต่ำของแผ่นดินบริเวณและความสมบูรณ์เมืองยอกยาร์กาต้า (รูปล่าง) แสดงตำแหน่งของเมืองยอกยา วัดโบโรพุทโธ วัดพรามนัน ภูเขาไฟเมอราปิ รวมทั้งตำแหน่งของเส้น A-A’ ที่เป็นเส้นจินตนาการตัดขวางของชั้นหินที่วางตัวข้างล่าง ที่แสดงในภาพที่ 3 รูปบน และบริเวณที่เป็นแอ่งสะสมตะกอนยอกยาร์กาตา (Yogyakarta Basin)
 
 
ภาพที่ 4 แผนที่แสดงตำแหน่งการศึกษาทะเลสาบโบราณยอกยาการ์ตา และแผนที่ธรณีวิทยาในบริเวณดังกล่าว พื้นที่สีเหลืองด้านซ้ายมือคือกลุ่มเศษหินที่ถูกพัดพามาจากภูเขาไฟ Sumbing สีเหลืองด้านขวาคือกลุ่มเศษหินจากภูเขาไฟ Merapi พื้นที่สีชมพูคือกลุ่มเศษหินจากภูเขาไฟ Tidar ส่วนพื้นที่สีเขียวคือ ตะกอนที่สะสมตัวในทะเลสาบ
 
 
ภาพที่ 5 ภาพวาดแสดงลักษณะของแอ่งโบโนบูดูร์ ขณะที่เป็นทะเลสาบ ที่ชื้นแฉะ และหนองน้ำ เมื่อเวลา 20,000 ; 4,310 และ 600 ปีตามลำดับ (รูปซ้ายจากบนลงล่าง) ภาพตัดขวางแสดงชั้นหินใต้แอ่งโบโรบูดูร์ (รูปขวาล่าง) รวมทั้งรูปด้าขวาบน ซึ่งเป็นแผนที่กูเกิ้ล แสดงหนองน้ำ (สีเขียว) เศษหิน (สีชมพู) และหินภูเขาไฟต้นกำเนิดของเศษหิน (สีแดง)
 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward