iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา

Nares อินโดนีเซีย ตะลุยแดนอิเหนากับสมาคมธรณี (5) เยือนวัดเจ้าหญิงอรชร (พรามนัน)

 

ภาพที่ 1 แผนที่แสดงที่ตั้งของวัดพรามนัน และบริวาร การวางผังปรางค์ของเทพต่างๆ รวมทั้งแม่น้ำ Opak ที่ถูกขุดเปลี่ยนแนวลำน้ำ

 

ตะลุยแดนอิเหนากับสมาคมธรณีวิทยาแห่งประเทศไทย (5) เยือนวัดเจ้าหญิงอรชร (พรามนัน)
 
วัดพรามนัน ถูกสร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 1390 ประมาณ 17 กิโลเมตรทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองยอกยาการ์ตา นับว่าเป็นวัดฮินดูที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย สร้างขึ้นมาเพื่ออุทิศให้กับพระตรีมูรติ (พระพรหม พระนารายณ์ และพระศิวะ) ดูเหมือนว่า หลังจากที่วัดนี้ถูกก่อสร้างแล้วเสร็จ พุทธศาสนาที่เคยเคารพบูชาที่วัดบรมพุทโธ ก็เสื่อมความนิยมลงไปจากชาวอินโดนีเซียโบราณ
มีบันทึกในศิลาจารึกเมื่อกว่าพันปีก่อนว่า ระหว่างการก่อสร้างวัดพรามนันนั้น มีผู้สังเกตเห็นว่า แนวคดโค้งของแม่น้ำ Opak ที่ไหลมาจากทิศเหนือ น่าจะโค้งและกัดเซาะมาทางทิศตะวันออก ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาในการก่อสร้างเจดีย์พระศิวะที่เป็นองค์ใหญ่สุดที่อยู่ตรงกลาง จึงได้ตัดสินใจขุดลอกร่องน้ำขึ้นมาใหม่ ให้เป็นแนวเหนือใต้ จากนั้นก็ถมร่องน้ำเก่าให้แข็งแรงมั่นคง แล้วดำเนินการก่อสร้างต่อจนแล้วเสร็จ ข้อความที่ว่านี้ น่าจะถูกต้อง เพราะเมื่อพิจารณาจากแผ่นที่แสดงการหักเป็นเส้นตรงในแนวเหนือใต้ของ Opak River (ภาพที่ 1) แล้ว เชื่อได้ว่าการตรงแหนวเช่นนี้ต้องเกิดจากฝีมือมนุษย์แน่นอน
วัดพรามนันนั้น ชาวชวาเรียกว่า “วัดราจา จงกรัง : แปลว่า slender lady” นักธรณีฯ ไทยเรียกว่า “วัดเจ้าหญิงอรชร” ตามตำนานที่เล่าขานกันว่า กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ยังมีมหานครสองแห่ง เจ้าชายของเจ้าผู้ครองอาณาจักรแรก ชื่อ “บันดุง บอนโดโวโซ” ซึ่งเก่งกาจและใช้เวทมนตร์ได้ อีกอาณาจักรหนึ่งมีเจ้าหญิงชื่อ “รารา จงกรัง” ชาวบ้านเรียกว่า “เจ้าหญิงอรชร” เพราะสวยงามและรูปร่างอรชรอ้อนแอ้น (ภาพที่ 2)
ต่อมาเกิดสงครามขึ้นระหว่างอาณาจักรทั้งสอง เจ้าผู้ครองฝ่ายเจ้าหญิงได้สังหารเจ้าผู้ครองอีกฝ่ายหนึ่ง เจ้าชายบันดุงจึงได้สังหารเจ้าผู้ครองคู่อริเป็นการตอบแทน จากนั้นก็กรีฑาทัพเข้าไปในอาณาจักรของผู้แพ้ และเพียงแรกพบประสบพักตร์ของเจ้าหญิงอรชร ก็เกิดการหลงไหลและขอเธอแต่งงาน เจ้าหญิงปฏิเสธ เพราะทราบดีว่า คนขอคือผู้ที่ฆ่าบิดาของตนเอง เมื่อถูกเจ้าชายข่มขู่มากขึ้น เธอก็ออกอุบายบ่ายเบี่ยงว่า “ฉันจะแต่งงานกับท่าน หากท่านสามารถสร้างรูปปั้นขึ้นมาได้ 1,000 รูปภายในเวลาคืนเดียว”
เจ้าชายบันดุงรับคำท้า และได้ใช้เวทย์มนต์เรียกปีศาจมาช่วยสร้างรูปปั้น จนได้ 999 องค์ เจ้าหญิงอรชรจึงใช้เล่ห์ ให้บริวารที่มีอยู่มาตำข้าวและจุดไฟทางทิศตะวันออกให้ลุกโชติช่วงเหมือนพระอาทิตย์ขึ้น เหล่าปีศาจหลงกลก็เกิดความหวาดกล้ว ต่างก็หลบหนีไปไม่ยอมสร้างเทวรูปองค์สุดท้าย เจ้าหญิงอรชรได้เข้ามาเยาะเย้ยและพูดว่าเจ้าชายแพ้พนันแล้ว ทว่า เจ้าชายบันดุงจับได้ว่านางใช้วิธีโกง ก็เลยสาปนางด้วยความแค้นให้กลายเป็นเทวรูปองค์สุดท้าย ว่ากันว่า ร่างของเจ้าหญิงได้กลายเป็นรูปปั้นของเจ้าแม่ทุรคานั่นเอง เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้
 
นักธรณีวิทยาขาวอินโดนีเซียหลายคนได้ศึกษาด้านศิลาวรรณาและธรณีเคมีของหินที่พบในบริเวณวัดเจ้าหญิงอรชรและบริวารแล้ว สรุปว่า หินที่ใช้ในการก่อสร้างประกอบด้วยหินลาวาบะซอลต์ หินลาวาแอนดีไซต์ (basaltic and sndesitic lava) และหินพัมมิซเหลี่ยม (unicellular breccia) (ภาพที่ 3) หินลาวาเหล่านี้มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับหินภูเขาไฟอายุควอเทอร์นารีที่พบที่ภูเขาไฟเมราปิ ส่วนหินพัมมิซเหลี่ยมนั้น น่าจะถูกนำมาจากหมวดหิน Semilir Fm. ที่มีอายุอยู่ในอนุยุคไมโอซีนตอนต้นถึงตอนกลาง ที่พบที่พื้นที่ Piyungan ประมาณ 10 กิโลเมตรทางด้านใต้ของที่ตั้งวัด (ภาพที่ 4)
 
จากการตรวจสอบแผ่นหินบางผ่านกล้องจุลทรรศน์ และเครื่องเอ็กซเรย์ฟลูออเรสเซนซ์ กล่าวได้ว่า หินที่ใช้สร้างวัดพรามนันเป็นหิน hornblende-pyroxene andesite และ pyroxene basalts ผลึกขนาดใหญ่ในเนื้อหินมีขนาด 1-3 มม. ประกอบด้วยแร่ plagioclase, hornblende, pyroxene, และ opaque minerals วางตัวอยู่ในแร่เม็ดขนาดละเอียดของแร่ plagioclase และแก้วภูเขาไฟ ส่วนหินพัมมิซเหลี่ยมนั้นประกอบด้วย เศษแอนดีไซต์และหินพัมมิซเอง ขนาด 2-6 ซม. ฝังตัวอยู่ในหินเนื้อละเอียดขนาดเม็ดทรายและโคลน หินเกือบทั้งหมดมีสภาพที่เก่ากร่อนผุพังและเกิดสนิม สันนิษฐานว่าเนื่องจากหินเกล่านี้มีรูพรุนมาก และตัววัดเองตั้งอยู่ในเขตภูมิภาคที่ร้อนชื้น
 
มาถึงตอนนี้ก็ขอเตือนเพื่อนร่วมทริปหลายท่านว่า อย่าลืมเอาแฮนด์เลนส์ไปนำเด้อ
 

-------------------------------------------------

ที่มา

-  https://www.facebook.com/nares.sattayarak

รวบรวมข้อมูลและภาพ

-  www.iok2u.com

-------------------------------------------------

บทความ ดร. นเรศ สัตยารักษ์ (Nares Sattayarak)

รวมบทความที่น่าสนใจจากนักธรณีวิทยาของไทย

-------------------------------------------------

 

 
 
รูปที่ 2 ตำนานเรื่องเจ้าหญิงรารา จงกรัง กับวัดพรามนัน ในภาพนี้ เจ้าชายบันดุงกำลังขอเจ้าหญิงอรชรแต่งงาน
 
รูปที่ 3 ภาพถ่ายเจ้าแม่ทุรคาในปรางค์พระศิวะ ที่ชาวชวาบางคนเชื่อว่านี้ คือ เจ้าหญิงอรชรที่ถูกเจ้าชายบันดุงสาปให้กลายเป็นหิน

 
รูปที่ 4 แผนที่ธรณีวิทยาแสดงที่ตั้งของภูเขาไฟเมราปิ และวัดพรามนัน
 
 
 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward