iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ

Nares ไทย ลุยทุ่งกุลาประสานักธรณีฯ 3 (ขยายความบทที่ 2)

 

รูปที่ 1 ภาพแสดงทิศทางการวางตัวของแอ่งสะสมตะกอนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ประกอบด้วย แอ่งสะสมตะกอนในทะเลยุคคาร์บอนิเฟอรัส-เพอร์เมียน (ภาพบนด้านซ้าย) แอ่งสะสมตะกอนในทะเลสาบและแม่น้ำยุคไทรแอสสิกตอนปลาย (ภาพบนด้านขวา) และแอ่งสะสมตะกอนโคราช (ภาพล่าง) ซึ่งทั้งหมดจะมีแนวการวางตัวในทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้โดยประมาณ

 

ลุยทุ่งกุลาประสานักธรณีฯ 3 (ขยายความบทที่ 2 )

ถึงแม้ว่าที่ราบสูงโคราชจะมีลักษณะคล้ายกับรูปห้าเหลี่ยมลบมุม ทว่าการวางตัวของชั้นหินและหมวดหินส่วนใหญ่จะเป็นแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ และบ้างก็เกือบจะเป็นแนวตะวันตก-ตะวันออก (รูปที่ 1) แตกต่างจากภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศ ซึ่งจะเป็นแนวเกือบจะเหนือ-ใต้ นั่นก็เป็นเพราะว่า อีสานบ้านเฮารวมทั้ง ลาว กัมพูชา และเวียดนาม เมื่อก่อน 200 ล้านปีนั้น จะอยู่คนละแผ่นทวีปกับพวกที่ที่ปัจจุบันเป็นด้านตะวันตกของประเทศ

ข้อมูลจากใต้ผิวดินทำให้ทราบว่า ในยุคคาร์บอนิเฟอรัสถึงเพอร์เมียนนั้น ได้เกิดแอ่งสะสมตะกอนหลังแนวมุดตัวของแผ่นทวีปจีนใต้ ลงใต้แผ่นทวีปอินโดจีนโบราณ ทำให้เกิดการสะสมตัวของตะกอนในทะเลทั้งตึ้นและลึกในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ (ภาพบนด้านซ้ายของรูปที่ 1) หลังจากนั้น เมื่อเปลือกทวีปจีนใต้และอินโดจีนโบราณได้เชื่อมตัวกันแล้ว บริเวณทั้งหมดถูกยกตัวเป็นแผ่นดิน หินที่เกิดก่อนหน้านี้ถูกบีบอัดคดโค้งและเลื่อนขาดออกจากกัน เกิดการกัดเซาะผุพังทำลายโดยทั่ว จากนั้นจึงเกิดการปริแตกของเปลือกโลก เกิดเป็นแอ่งสะสมตะกอนรูปกึ่งกราเบน มีแนวการวางตัวในทิศทางคล้ายคลึงกับแอ่งของมหายุคชีวิตเก่า (ภาพบนด้านขวาของรูปที่ 1) ต่อมา เมื่อแผ่นทวีปอินโดจีน (Indochina Continental Plate) ได้เชื่อมตัวกับแผ่นทวีปซีบูมาสุ (Sibumasu Continental Plate) (ก่อนหน้านั้นเรียกว่าแผ่นทวีปฉาน-ไทย) พื้นที่ที่ปัจจุบันเป็นอีสานทั้งหมด ก็ค่อยๆ กลายเป็นที่ราบลุ่มที่กว้างใหญ่มหาศาล มีแม่น้ำหลายสายไหลมาจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันออก ไปลงทะเลที่อยู่ทางด้านตะวันตก นักธรณีวิทยาไทยเรียกแอ่งสะสมตะกอนนี้ว่า แอ่งสะสมตะกอนโคราช มีลักษณะเป็นแอ่งยาวในทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความหนาเกือบ 4 กิโลเมตรในแนวกลางแอ่ง และบางลงไม่ถึง 2 กิโลเมตร ในบริเวณด้านเตะวันออกเฉียงเหนือ และตะวันออกเฉียงใต้ของแอ่ง (ภาพล่างของรูปที่ 1) หินตะกอนทั้งหมดเหล่านี้ เรียกรวมกันว่า กลุ่มหินโคราช ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 6 หมวดหิน เรียงลำดับจากล่างขึ้นบน ดังนี้ หมวดหินน้ำพอง ภูกระดึง พระวิหาร เสาขัว ภูพาน และโคกกรวด

หมวดหินที่มีความคงทนต่อการกัดเซาะผุพังทำลายมากกว่าหมวดหินอื่น ได้แก่ หมวดหินน้ำพองตอนล่าง หมวดหินพระวิหาร และหมวดหินภูพาน ฉะนั้น จึงมักพบหมวดหินดังกล่าวปรากฏให้เห็นในรูปของภูเขาที่มีผาชัน

ข้อมูลจากการวัดคลื่นไหวสะเทือนในชั้นหิน (รูปที่2) แสดงให้เห็นว่าโครงสร้างชั้นหินรูปประทุนของกลุ่มหินโคราชนั้น เกิดจากการเลื่อนย้อนกลับของรอยเลื่อนเก่าที่เกิดขึ้นตั้งแต่ยุคคาร์ยอนิเฟอรัส และไทรแอสสิกตอนปลาย อันได้รับอิทธิพลของการชนกันของทวีปอินเดียกับยูเรเซีย มิได้เกิดจากแรงบีบที่มาจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้

ข้อมูลจากการวัดคลื่นไหวสะเทือนในชั้นหิน (รูปที่ 2 และ 3) บอกให้เราทราบว่า ความราบเรียบของบริเวณที่สูงบึงกาฬ กับที่สูงบุรีรัมย์นั้น เป็นเพราะว่า ในทั้งสองบริเวณนี้ ไม่มีหินตะกอนยุคคาร์บอนิเฟอรัส-เพอร์เมียน และหมวดหินน้ำพองอยู่เลย กลุ่มหินโคราชจะวางตัวบนหินแปรชั้นสูงหรือหินอัคนีโดยตรง

การที่ไม่นับพื้นที่สูงบึงกาฬให้อยู่ในแอ่งสกลนครในอดีตนั้น เพราะไม่พบคราบเกลือบนผิวดิน ซึ่งจากรูปที่ 3 เราอาจอธิบายได้ว่า เนื่องจากชั้นหินทั้งของกลุ่มหินโคราช และหมวดหินมหาสารคามนั้น ล้วนแต่วางตัวในแนวระนาบ จึงไม่มีการปูดตัวของโดมเกลือ อีกทั้งยังมีหมวดหินภูทอกปิดทับไว้ค่อนข้างหนา 

นอกจากนี้ ข้อมูลจากการวัดคลื่นไหวสะเทือนในชั้นหินทำให้เราทราบว่า โดมเกลือในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยนั้น น่าจะเกิดจากน้ำหนักและแรงดันจากด้านข้างที่อัดลงมาตามการเอียงเทของขั้นเกลือหิน ไม่ใช่จากการที่น้ำหนักหินที่กดทับอยู่ข้างบนถูกกัดเซาะหายไป

ได้เวลาจิบยาแก้ไออีกแล้วครับท่านสารวัตร (ป.ล. ยาแก้ไอปรุงพิเศษสูตรลับของประเทศเถิน มิใช่ยาแก้ไอของสามัญชนทั่วไป เอฟซีไม่ต้องห่วงครับ)

 

-------------------------------------------------

ที่มา

-  https://www.facebook.com/nares.sattayarak

รวบรวมข้อมูลและภาพ

-  www.iok2u.com

-------------------------------------------------

บทความ ดร. นเรศ สัตยารักษ์ (Nares Sattayarak)

รวมบทความที่น่าสนใจจากนักธรณีวิทยาของไทย

-------------------------------------------------

 

 

 

  

ภาพที่ 2 ภาพตัดขวางในแนวเกือบเหนือใต้จากเขายายเที่ยง ไปเทือกเขาภูพาน จากข้อมูลการวัดความไหวสะเทือนในชั้นหิน แสดงตำแหน่ง ลักษณะการวางตัว และชนิดหินใต้ผิวดินของที่ราบสูงโคราช

ภาพที่ 3 ภาพตัดขวางจากข้อมูลการวัดความไหวสะเทือนในชั้นหิน แสดงรายละเอียดของการวางตัว และชนิดหินในระดับตื้นใต้ผิวดินของที่ราบสูงโคราช โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทุ่งกุลาร้องให้ (TKR)

 

ภาพที่ 4 แผนที่แสดงความแตกต่างระหว่างอีสานบ้านเฮากับภูมิภาคอื่นของประเทศ ทั้งในด้านความสูงต่ำ และชนิดของหิน

 

ภาพที่ 5 แผนที่แสดงการแบ่งพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยออกตามหลักของธรณีสันฐานวิทยา

 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward