iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป

นเรศ ไทย ขอนแก่น ลูกนิมิตพระร่วงที่ภูเวียง (1)

 

รูปประกอบที่ 1 มวลสารพอก พบที่หน้าผาของหมวดหินพระวิหาร ของเทือกเขาภูเวียง บริเวณด้านเหนือของบ้านไชยสอ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ถ่ายภาพเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2527

 

เมื่อปี พ.ศ. 2527 ข้าพเจ้ายังเป็นนักธรณีวิทยา 5 กองเชื้อเพลิงธรรมชาติ กรมทรัพยากรธรณี ได้รับการขอร้องจาก เทอร์รา มารีน บริษัทน้ำมันสัญชาติอเมริกัน ให้ไปช่วยสำรวจธรณีวิทยาพื้นผิว รวมทั้งการวัดแรงโน้มถ่วง และสนามแม่เหล็กโลก ในพื้นที่แปลงสัมปทานสำรวจและผลิตปิโตรเลียมของบริษัท ซึ่งครอบคลุมเขต อำเภอชุมแพ คอนสาร สีชมพู ศรีบุญเรือง และหนองบัวลำภู แม้ว่าในพื้นที่สัมปทานของเขาจะไม่มีโอกาสพบหมวดหินพระวิหารอยู่ใต้พื้นดิน แต่บริษัทก็ให้ความสนใจอยากรู้จักลักษณะหินของหมวดหินพระวิหาร เพราะว่า บริษัทเอสโช่โคราช เคยพบร่องรอยน้ำมันดิบในหินหมวดนี้จากกลุมเจาะ “Chinnabot-1X” จึงได้ขอร้องให้ข้าพเจ้าพาไปดูหินที่ซำแฮก ตามทางเดินขึ้นยอดภูกระดึง และทำให้รู้ว่า หากต้องการเห็นหน้าผางามๆ ของหมวดหินนี้ จะต้องเดินลัดเลาะไปทางตะวันตกของร้านค้า เพราะตามทางเดินขึ้นนั้น จะไม่เห็นหน้าผาหินทราย เนื่องจากเป็นการเดินไปตามหินที่ถล่มลงมา อีกแห่งหนึ่งที่บริษัทให้ความสนใจคือ หน้าผาของภูเขาภูเวียง ด้านบ้านไชยสอ อำเภอชุมแพ

ข้าพเจ้ากับนักธรณีฯ อเมริกัน พิจารณาเส้นทางจากแผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1:50,000 แล้ว เลือกเส้นทางที่คิดว่าน่าจะง่ายและใช้เวลาน้อยที่สุด เพื่อไปดูหินของหน้าผาล่างสุด เราขับรถไปจอดที่ตีนเขาภูเวียง จากนั้นก็ปีนไปสู่เป้าหมายที่เล็งไว้แล้ว คงจะเป็นเพราะว่าในช่วงเวลานั้น ข้าพเจ้ายังฟิตเปรี๊ยะ เราเดินขึ้นไปศึกษาหินที่หน้าผา และลงมาถึงตีนเขาภายในเวลาไม่ถึงสองชั่วโมงเท่านั้นเอง

บริเวณตีนเขาภูเวียงนั้น เต็มไปด้วยกองหินระเกะระกะที่ถล่มตกลงมาจากข้างบน แต่หากพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ก็จะพบหินตะกอนสีน้ำตาลแกมแดงของหมวดหินภูกระดึง และหน้าผาที่ประกอบด้วยหินทรายสีออกขาว ชั้นหนาวางซ้อนกันนั้น จึงถือได้ว่าเป็นชั้นล่างสุดของหมวดหินพระวิหาร ซึ่งณ บริเวณตะพักราบนั้น คือที่ที่ข้าพเจ้าพบหินที่มีลักษณะกลมมน โผล่ออกมาจากหน้าผา (รูปประกอบที่ 1) มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.20 เมตร ทั้งในลูกกลมและหินทรายรอบด้าน มีเส้นสายลายหินต่อทะลุผ่านในรูปแบบเดียวกัน ลวดลายเหล่านี้เกิดจากการวางตัวของเนินทรายใต้ท้องน้ำ จากการตรวจสอบระบุได้ว่า ชั้นหินทรายเหล่านี้ เดิดจากแม่น้ำที่ไหลไปสู่ทิศตะวันตก และมีอายุเหมือนหมวดหินพระวิหารทั่วไป เพียงแต่ว่า ในสมัยที่ข้าพเจ้าไปสำรวจเมื่อ 40 ปีมาแล้วนั้น เชื่อว่ามีอายุอยู่ในยุคจูแรสสิกตอนปลาย (190ล้านปี) แต่ในปัจจุบันนี้ มีผู้เสนอว่าควรจะอยู่ในยุคครีเตเชียสตอนต้นหรือ 140 ล้านปีเท่านั้นเอง

หินที่มีลักษณะกลมนี้ ข้าพเจ้าให้ชื่อเล่นๆ ว่า “ลูกนิมิตพระร่วง” แต่พจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ฉบับปีพ.ศ. 2530 เรียกว่า “มวลสารพอก” และอธิบายว่า คือมวลวัตถุ หรือแร่ที่จับตัวกันแน่นและแข็ง เป็นรูปทรงกลม แต่ที่พบทั่วไปมักเป็นรูปกลมรี รูปกลมแบน หรือรูปร่างไม่แน่นอน เกิดจากการจับตัวกันของสารเหลว หรือการตกผลึกของสารละลายรอบๆจุด หรืออนุภาค เช่น ใบไม้ กระดูก เปลือกหอย หรือซากดึกดำบรรพ์ จนเกิดเป็นก้อนแข็งๆ ภายในรูหรือโพรงของชั้นหิน (รูปประกอบที่ 2) โดยทั่วไปแล้วมีส่วนประกอบของซิลิกา แคลไซต์ โดโลไมต์ เหล็กออกไซด์ ไพไรต์ หรือยิปซัม มีขนาดตั้งแต่ เม็ดกรวดเล็กๆ ไปจนถึงรูปทรงกลมที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 เมตร ส่วนมากเกิดในช่วงที่หินมีการก่อตัวใหม่ (Diagenesis) แต่ที่เกิดทันทีหลังจากตกตะกอนก็มีมาก

มันคักบ่หล่ะ อ้ายสารวัตร

  

-------------------------------------------------

ที่มา

-  https://www.facebook.com/nares.sattayarak

รวบรวมข้อมูลและภาพ

-  www.iok2u.com

-------------------------------------------------

บทความ ดร. นเรศ สัตยารักษ์ (Nares Sattayarak)

รวมบทความที่น่าสนใจจากนักธรณีวิทยาของไทย

-------------------------------------------------

 

รูปประกอบที่ 2 การเกิดมวลสารพอก

 

 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward